ศูนย์ข่าวภูเก็ต - อสังหาริมทรัพย์ภูเก็ตเฟื่อง ส่งเข้าพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นอีก 7 โครงการ
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม บริเวณจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2551 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดินจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด เป็นต้น
โดยในการประชุมนี้ได้มีการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โครงการด้านที่อยู่อาศัยและบริการชุมชน 7 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการอาคารพักอาศัยรวม 3 ชั้น 18 ห้อง บริเวณซอยตากแดด ต.กะทู้ อ.กะทู้ 2.โครงการอาคารสำนักงาน ขนาด 39 ห้อง (ขยาย) ส่วนเดิม 9 ห้อง และส่วนขยาย 30 ห้อง หมู่ 5 ถ.ศรีสุนทร ต.เชิงทะเล อ.ถลาง 3.โครงการภูแลเล คอนโดมิเนียม 45 ห้องชุด ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต 4.โครงการภูเก็ตอินเตอร์วิลล่า 3 จำนวน 39 แปลง หมู่ที่ 4 ถ.วิเศษ ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต
5.โครงการบ้านพักอาศัย Jumeirah Private Island Phuket 79 หลัง ตั้งอยู่เกาะแรด ต.ป่าคลอก อ.ถลาง 6.โครงการ Butterfly Condominium 79 ห้องชุด ถ.ปฎัก ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต และ 7.โครงการออกซิเจน คอนโดมิเนียม บางเทา 26 ห้องชุด ต.เชิงทะเล อ.ถลาง ส่วนใหญ่มีมติความเห็นชอบในหลักการโดยมีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม ยกเว้นโครงการภูแลเล ซึ่งต้องไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ใหม่ตามที่คณะกรรมการให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ตาม ได้มีการแจ้งวิธีการวัดความสูงของอาคารกรณีมีชั้นใต้ดิน ตามข้อบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ซึ่งสรุปว่า การวัดความสูงของอาคารที่มีชั้นใต้ดินไม่ว่าจะใช้ประโยชน์ใดก็ตาม (ข) กรณีห้องใต้ดินที่มีค่าเป็นลบ การวัดความสูงไม่นับรวมความสูงของห้องใต้ดิน โดยให้วัดความสูงของอาคารจากระดับพื้นที่ดินที่ก่อสร้าง
นอกจากนี้ จากการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2551 (ครั้งที่ 2) มีมติเห็นควรกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ชั้นใต้ดิน คือ ห้ามใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย, ให้คิดพื้นที่ใช้สอยบริเวณชั้นใต้ดินรวมกับพื้นที่ใช้สอยของอาคารนั้น, ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันแผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, การพิจารณาโครงการที่มีการก่อสร้างชั้นใต้ดินให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นกรณีไป
โดยจะต้องใช้ข้อมูลสภาพแวดล้อมและความเหมาะสม ประกอบด้วย รวมทั้งกำหนดห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างชั้นใต้ดินพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ในบริเวณที่ 1 และ 2 ตามพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตควบคุมอาคารตามพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม บริเวณจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2551 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดินจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด เป็นต้น
โดยในการประชุมนี้ได้มีการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โครงการด้านที่อยู่อาศัยและบริการชุมชน 7 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการอาคารพักอาศัยรวม 3 ชั้น 18 ห้อง บริเวณซอยตากแดด ต.กะทู้ อ.กะทู้ 2.โครงการอาคารสำนักงาน ขนาด 39 ห้อง (ขยาย) ส่วนเดิม 9 ห้อง และส่วนขยาย 30 ห้อง หมู่ 5 ถ.ศรีสุนทร ต.เชิงทะเล อ.ถลาง 3.โครงการภูแลเล คอนโดมิเนียม 45 ห้องชุด ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต 4.โครงการภูเก็ตอินเตอร์วิลล่า 3 จำนวน 39 แปลง หมู่ที่ 4 ถ.วิเศษ ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต
5.โครงการบ้านพักอาศัย Jumeirah Private Island Phuket 79 หลัง ตั้งอยู่เกาะแรด ต.ป่าคลอก อ.ถลาง 6.โครงการ Butterfly Condominium 79 ห้องชุด ถ.ปฎัก ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต และ 7.โครงการออกซิเจน คอนโดมิเนียม บางเทา 26 ห้องชุด ต.เชิงทะเล อ.ถลาง ส่วนใหญ่มีมติความเห็นชอบในหลักการโดยมีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม ยกเว้นโครงการภูแลเล ซึ่งต้องไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ใหม่ตามที่คณะกรรมการให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ตาม ได้มีการแจ้งวิธีการวัดความสูงของอาคารกรณีมีชั้นใต้ดิน ตามข้อบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ซึ่งสรุปว่า การวัดความสูงของอาคารที่มีชั้นใต้ดินไม่ว่าจะใช้ประโยชน์ใดก็ตาม (ข) กรณีห้องใต้ดินที่มีค่าเป็นลบ การวัดความสูงไม่นับรวมความสูงของห้องใต้ดิน โดยให้วัดความสูงของอาคารจากระดับพื้นที่ดินที่ก่อสร้าง
นอกจากนี้ จากการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2551 (ครั้งที่ 2) มีมติเห็นควรกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ชั้นใต้ดิน คือ ห้ามใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย, ให้คิดพื้นที่ใช้สอยบริเวณชั้นใต้ดินรวมกับพื้นที่ใช้สอยของอาคารนั้น, ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันแผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, การพิจารณาโครงการที่มีการก่อสร้างชั้นใต้ดินให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นกรณีไป
โดยจะต้องใช้ข้อมูลสภาพแวดล้อมและความเหมาะสม ประกอบด้วย รวมทั้งกำหนดห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างชั้นใต้ดินพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ในบริเวณที่ 1 และ 2 ตามพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตควบคุมอาคารตามพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม