ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ทุ่ม 500 ล้านพัฒนา “หัวเขาแดง” เมืองประวัติศาสตร์ สงขลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้าชมไม่ต่ำกว่าวันละ 4,000 คน
นายพิชัย ศรีใส ที่ปรึกษาพิเศษโครงการวางผังพัฒนาอุทยานเมืองเก่าหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เปิดเผยว่า อุทยานเมืองเก่าเขาแดง ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้รับการถ่ายโอนภารกิจการดูแลโบราณสถานจากกรมศิลปากร เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมือง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ขณะนี้ได้ว่าจ้าง บริษัท พิสุทธิ์เทคโนโลยี จำกัด จัดทำโครงการศึกษาและจัดทำผังแม่บทอุทยาน ครอบคลุมพื้นที่เมืองสงขลา คาดว่าในต้นปี 2551 จะเสร็จสมบูรณ์
ขั้นตอนของการออกแบบ จะมีโครงการต่อเนื่อง 18 โครงการ มีโครงการพัฒนาคูเมืองโบราณ ป้อมปราการ กำแพงเมือง วัดบ่อทรัพย์ วัดสุวรรณคีรี วัดภูผาเบิก รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์หาดหัวเขาแดง พร้อมกับสร้างพิพิธภัณฑ์การเดินเรือสำเภาจีน เป็นการแสดงความมั่งคั่งในอดีต ยังมีการสร้างป้อมปืนใหญ่ที่ใช้ป้องกันข้าศึกอีก 3 ป้อม ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพัน
“คาดว่า จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ที่เข้าเยี่ยมชน ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเก่า ที่เขาแดง ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 คน/วัน เกิดประโยชน์กับท้องถิ่นและภาพรวมของจังหวัดมาก ดีกว่าปล่อยให้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาโดยหาค่าไม่ได้”
นายพิชัย ศรีใส ที่ปรึกษาพิเศษโครงการวางผังพัฒนาอุทยานเมืองเก่าหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เปิดเผยว่า อุทยานเมืองเก่าเขาแดง ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้รับการถ่ายโอนภารกิจการดูแลโบราณสถานจากกรมศิลปากร เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมือง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ขณะนี้ได้ว่าจ้าง บริษัท พิสุทธิ์เทคโนโลยี จำกัด จัดทำโครงการศึกษาและจัดทำผังแม่บทอุทยาน ครอบคลุมพื้นที่เมืองสงขลา คาดว่าในต้นปี 2551 จะเสร็จสมบูรณ์
ขั้นตอนของการออกแบบ จะมีโครงการต่อเนื่อง 18 โครงการ มีโครงการพัฒนาคูเมืองโบราณ ป้อมปราการ กำแพงเมือง วัดบ่อทรัพย์ วัดสุวรรณคีรี วัดภูผาเบิก รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์หาดหัวเขาแดง พร้อมกับสร้างพิพิธภัณฑ์การเดินเรือสำเภาจีน เป็นการแสดงความมั่งคั่งในอดีต ยังมีการสร้างป้อมปืนใหญ่ที่ใช้ป้องกันข้าศึกอีก 3 ป้อม ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพัน
“คาดว่า จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ที่เข้าเยี่ยมชน ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเก่า ที่เขาแดง ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 คน/วัน เกิดประโยชน์กับท้องถิ่นและภาพรวมของจังหวัดมาก ดีกว่าปล่อยให้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาโดยหาค่าไม่ได้”