“มีคนถามมันคุ้มเหรอ?คุ้มไม่คุ้มไม่ได้อยู่ที่ตัวเงินแต่อยู่ที่รอดไม่รอด! แล้วหลังจากนั้นก็เลยเริ่มเอาครกลองเอาครกเอาสากขึ้น เอาของขึ้นรถ มันได้ครับ เอาของขึ้นรถแล้วก็ไปขึงร้านขายอยู่หน้ารถทุกคนก็ตกใจ แล้วทุกคนก็แปลกใจว่าทำไมเอายัดเข้าไปได้”
ไพรทูล บุญศรี (คุณอ๊อด) เจ้าของแบรนด์ “ส้มตำอาวดี้” ย้อนเล่าถึงที่มาของธุรกิจร้านส้มตำซึ่งปัจจุบันมีสาขาเปิดอยู่ในห้างสรรพสินค้าชื่อดังในกรุงเทพฯ แล้วกว่า 10 ร้าน จากไวรัลส้มตำเปิดท้ายรถ Audi จากพัทยา“เราก็พยายามหาภาชนะที่มันลงล็อคช่องรถท้ายรถพอดี หลังจากนั้นก็คือไปแค่วันสองวันครับก็มีพี่ ๆ นักข่าวเขาก็มาเห็นผ่านสื่อโซเชียลฯ ของเราแล้วเขามาทำข่าวให้ และก็เป็นไวรัลและก็เป็นกระแส จากร้านชื่อส้มตำสถานีบางแสนก็จะกลายเป็น “ส้มตำอาวดี้” ลูกค้าเรียกส้มตำออดี้ก็เปลี่ยนชื่อเพจเปลี่ยนชื่อร้านเปลี่ยนเป็นคาแรคเตอร์ร้าน”ถามว่ามันก็เป็นที่มาของ “ส้มตำอาวดี้” ก็คือส้มตำที่เอาของขึ้นท้ายรถ Audi ไปหาลูกค้า คำถามคือแล้วทำไมต้องเป็นรถอาวดี้“พี่ครับ ณ ตอนนั้นคือผมมีอยู่คันเดียว (หัวเราะ)”จากที่เป็นผู้จัดการโรงแรมผมก็จะมีคันนี้ใช้งานวิ่งหาเอเจนซีนู่นนี่นั่น พอหลังสุดท้ายเข้ามานี่ ๆ ผมก็มีคันนี้ผมก็เลยรู้สึกว่า ก็ใช้มันให้คุ้มก็ใช้มันได้เพราะว่าท้ายรถมันกว้างมาก แล้วก็มีคนถามผ่านทางโซเชียลฯ มาว่าไม่ขายล่ะเปลี่ยนเป็นปิกอัพก็ได้นะ เปลี่ยนนู่นเปลี่ยนนี่ก็ได้ ใช่ครับ แต่ผมกลับมองว่าจริง ๆ ธุรกิจมันก็ไม่ต่างจากงานที่ผมทำคือโรงแรม มาร์เก็ตติ้งก็สำคัญ ภาพจำก็สำคัญ ลูกค้าบางทีไม่ได้อยากทานส้มตำของอ๊อดนะครับ แต่อยากได้แค่แบบ ครั้งหนึ่งฉันเคยกิน
ณ โมเม้นต์นั้นเราใช้สโลแกน “ไม่ต้องมาที่ร้าน เรายกร้านไปหาคุณ” และเราก็เพิ่มเรื่องความสะอาด ความสด ความน่าทานเข้าไป มันก็เลยเป็นไวรัลมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้วครับผม ก็ต้องขอบคุณสื่อโซเชียลฯ ขอบคุณลูกค้าที่ช่วยกันกระจายข่าวให้ จนมันติดกระแสมาและก็เราไม่คิดว่าวันหนึ่งเรา เราก็ต้องลงอยู่แล้วกระแสมันขึ้นก็ลงแต่พอเรากำลังจะลงครับส้มตำออดี้ก็จะมีกระจายไปภูมิภาคเราไประยอง จันทบุรี ไปตราด ไปแปดริ้ว เข้ากรุงเทพฯ ไปแบบ คือไปตามจุด คือก่อนที่จะไปเราบอกลูกค้าไปสองวันนะครับ ลูกค้าล็อคคิวให้แล้วมีคนไปรอ เพราะเรามีรถเราไปได้เลย มันก็เลยทำให้คนรู้จักเรามากขึ้นจากพัทยา
จากผู้จัดการโรงแรมหรู สู่ร้านส้มตำเปิดท้ายรถ Audi พาหนะคู่ใจ
ประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาทุกคนได้รับผลกระทบเดียวกันจากสถานการณ์ “โรคโควิด-19” ที่เกิดขึ้น อ๊อดก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ไม่แตกต่างจากคนอื่นแต่อ๊อดโดนกระทบหนักหน่อยเพราะอยู่ในวงของธุรกิจการท่องเที่ยว คืออ๊อดเป็นผู้จัดการโรงแรมที่พัทยาครับ“ต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะความต้องทำอะไรสักอย่างครับมันก็พ่อก็มีแม่ก็มีภาระเราก็มี เรียนเราก็ยังเรียนตอนนั้นครับผม มันไม่ได้อยู่ ๆ แล้วก็จับครกจับสากขึ้นรถเลยทันทีครับพี่” ก็เขยิบออกมาไปเปิด “คาเฟ่” เจอ 2, 3, 4 ก็พัง! เพราะว่าคนไม่เข้าแล้วคงไม่รอด งั้นเราก็ไปอีกสเต็ปหนึ่งก็แล้วกันตอนนั้นเงินทองที่มีอยู่ก็เริ่มหมดไปกับคาเฟ่ 4-5 แสน(หัวเราะ) อ๊อดเหลือเงินอยู่ไม่กี่หมื่น ไม่กี่หมื่นจริง ๆ เราก็เลยไปเปิดเพิงหมาแหงนข้างทางเป็น “ส้มตำ” ถามว่าทำไมเป็นส้มตำจากคาเฟ่? เพราะเรา1. เงินไม่พอ มันหมดแล้ว 2. หาอะไรที่เราไม่ต้องเพิ่ม skill อะไรมากมาย“ผมเริ่มต้น 6,000 บาทจากส้มตำเพิงหมาแหงนเล็ก ๆ โต๊ะ 4 ตัว แล้วก็ได้สูตรน้ำปลาร้าจากเพื่อนแล้วก็แม่มาอะแด๊ปสูตรให้ใหม่เพิ่มเติม 2 เดือน! ก็ถูกเรียกร้านกลับคืน เพราะว่าเทศกิจลง traffic บริเวณนั้นแย่!แล้วคนก็คอมเพลนไปที่เทศบาล เพราะว่าคนมาเยอะ ผมไม่เคยคิดว่าร้านผมส้มตำเพิงหมาแหงนของผมติดหน้าหาดอย่างเงี้ยมันจะมีคนมานั่งต่อคิวรอ ผมเปิดร้าน4 โมงเย็น บ่าย 2 โมงโทรจองคิวกันเยอะมาก! ครับพี่เราไม่เคยคิดว่าเราจะขายได้ 80-100 คิว/วัน”
เราก็ถูกขอร้านคืนผมก็เลยต้องย้ายร้านกลับมาที่ “พัทยา” เพราะบ้านอยู่พัทยาตอนนั้นไปเรียนที่ ม.บูรพา ครับเราก็ทำมาหากินตรงนั้น พอไปไม่รอดแล้วเราก็เลยกลับพัทยา กลับพัทยาก็มาเปิดร้านเหมือนเดิมร้านเล็ก ๆ เหมือนเดิม แต่พอในร้านเล็ก ๆ เนี่ยเราก็พยายามขายเหมือนเดิมแต่มันก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง สุดท้ายก็เจอวิกฤตหนักขึ้นก็คือ นั่งในร้านประมาณ 20%, 30% มาสุดท้ายเลยนี่คือจุดเปลี่ยน! เพราะว่าร้านเรามี 5-6 โต๊ะ (20% ก็ได้ 2 โต๊ะ) มันไม่ไหว! ก็เลยบอกถ้าเกิดอย่างนั้นเราทำยังไงให้เราได้รอดได้ช่วงนี้? “ก็เลยประกาศผ่านสื่อของเราที่มีอยู่ในมือ ช่องทางของเราครับบอกเพื่อนฝูง ใครจะกินบอกนะเดี๋ยวเอาไปส่ง เอารถที่เรามีเอาพาหนะที่เรามีแต่ขอให้สั่งเพิ่มขึ้นมานิดหนึ่ง ไม่มีขั้นต่ำนะครับ แต่ขอเยอะหน่อย 2-3 อย่างเนี่ยเราไปส่งให้ ด้วยการทำขนมจีนน้ำยาก่อนลองตลาด”ยกหม้อน้ำยาขนมจีนยกของทั้งหมดขึ้นรถเพื่อเอาไปตักเสิร์ฟให้ถึงที่เลย เพราะคิดไว้แล้วว่าจะต้องขายได้เพิ่มขึ้นจากที่สั่งตอนแรกแน่นอน เดี๋ยวคนนั้นเห็นคนนี้เห็นก็อยากจะกินบ้าง ทำไปประมาณไม่ถึงสัปดาห์ดีก็เริ่มคิดใหม่อีก “ถ้าเกิดเราเอาหม้อขนมจีนขึ้นได้ทำไมของในครัวฉันจะเอาขึ้นไม่ได้ ครกสากก็เอาขึ้นได้สิ! อะไรอย่างเงี้ยแล้วหลังจากนั้นก็เลยเริ่มเอาครก ลองเอาครกเอาสากขึ้นเอาของขึ้นรถ มันได้ครับ”
ตอนแรกแอบกังวลเจ้าของแบรนด์รถ จะฟ้องไหม?!! ที่ทำให้เสียอิมเมจสินค้า
ช่วงแรก ๆ ก็กลัวที่แบรนด์ Audi เขาจะฟ้องเราไหม? เพราะมันออกข่าวเยอะมากเลย“ถ้าผมจำไม่ผิด พี่เขาเป็น MD ของ Audi ประเทศไทย ที่อยู่ในพาร์ทของมาร์เก็ตติ้งครับส่ง message เข้ามาหา ขอแสดงความยินดีและเราชื่นชมคุณที่คุณสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสทาง Audi ประเทศไทย ยินดีสนับสนุน”เฮ้ยฉันไม่ถูกฟ้องแล้วล่ะ! ทำให้แบรนด์เขาแย่เราก็รู้สึกว่ามันน่าจะไปรอดได้ต่อ หนึ่งปลอดล็อค สองปลดล็อค ที่เหลือเราก็พยายามยืนให้ “คุณภาพ” มาตรฐานไว้
ช่วงแรก ๆ อ๊อดไปแค่รถอย่างเดียว เก้าอี้ต้องใช้พลาสติก ต้องเบา ต้องยัด ต้องอัดได้ของ“แรก ๆ เลยมีเก้าอี้แค่ 2 ตัว เก้าอี้ขาวพลาสติกครับเปิดท้ายรถเสร็จเอามาจากหลังเบาะ ที่คนนั่งได้ไม่ได้ข้างหลังนะเอามาวาง 2 ตัว หนึ่งวางครก สองวางถังน้ำปลาร้า มีแค่2 อย่างที่เหลือก็อยู่ท้ายรถหมดเลย” หันแบบวันละหลายรอบเลยครับแล้วก็ หลัง ๆ เริ่มที่จะไปต่างจังหวัดออก route ต่างจังหวัดมากขึ้น เราก็เลยรู้สึกว่าแค่เพียงแค่นี้มันไปจากนี้ไปที่ระยองที หรือไปจันทบุรีที ไปหาดแสงจันทร์ทีมันไกล การที่เราจะบรรทุกไปได้แค่นี้มันก็ขายได้แค่นี้ บางทีคนมาก็ยังไม่ได้ทาน เพราะฉะนั้นคือทำได้มากขึ้นก็คือการที่จะต้อง วางโต๊ะ เอาโต๊ะไปต่อเพิ่มแล้วของมันจะได้มาเพิ่ม และหลัง ๆ นี่ก็เริ่มเอาน้องสาวเอาน้องเขยเอาพ่อแม่มาช่วย ด้วยการเอาปิกอัพไปหนึ่งคันนะ(หัวเราะ) ขนอุปกรณ์แล้วรถเราก็เป็น “โลโก้แบรนด์” และก็ทำอย่างนี้เหมือนกันมีโต๊ะยาว ก็มีเริ่มจากส้มตำ ยำ แล้วก็จะมีแกงเห็ด แกงหน่อไม้ และก็ท้ายสุดที่ตัดสินใจทำ “น้ำปลาร้า” ด้วยเพราะว่า ลูกค้ามาที่ร้านแล้วทานไม่ทัน ของหมด เราก็เลยมาทำ“ขายน้ำปลาร้าก็ได้ ช่วงแรกไม่ได้ขายมัดใส่ถุง ให้เลยพี่ให้เลย(หัวเราะ) เอา 30 บาท 50 บาทเอาไปเลยพี่อะไรเงี้ยเพราะของมันหมดสุดท้ายก็ ต้องทำน้ำปลาร้าขวดแล้วล่ะ ก็เลยบรรจุน้ำปลาร้าขวดเพื่อจะซื้อกลับบ้านได้”
ไม่มีปัญหาเรื่องขายไม่ได้ มีแต่หมดไวจนเป็นที่มา “สินค้าใหม่”
ไม่ได้เป็นคนเลือกโลเกชันเองแต่ลูกค้าจะเป็นคนเลือกให้เรา เพราะว่าเราไม่รู้เลยว่าตรงข้างหน้าจะเป็นอะไร รู้แต่ว่า มั่นใจว่ามีคนไปแน่นะเราก็จะโยนหินถามทาง“พรุ่งนี้ผมจะไปตลาดรถไฟบางพระนะครับ มีใครจะสั่งไหมครับ โอ๋ยอินบ๊อกมาเลยรับ 20 คิวออนไลน์นะครับ ที่เหลือจะเอาหน้าร้าน มาหมดเลยครับแล้วก็จองโน่นจองนี่ คือเราไม่รู้ก็จริงแต่เราโยนหินถามทางแล้วเราก็ได้ฟีดแบ็กดีมาก!”มันเป็นอะไรที่แบบ มันขนลุก! มันรู้สึกตื้นตัน“ผมมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไปจันทบุรี มากันแบบผมต้องวางของ ยำ 3 คนต้องวางของมีน้องเขย อ๊อด และก็น้องอีกคนหนึ่งที่ทำงานร่วมกัน ยำ 3 คนเลยนะครับต้องวางของแล้วยกมือไหว้ลูกค้า ต้องขอประทานโทษจริง ๆ ครับที่ทุกคนรอนานอ๊อดไม่คิดว่ามันจะเยอะขนาดนี้ ต้องขอประทานโทษจริง ๆ ลูกค้ายืนรอนานมาก”เราตื้นตัน เราขอบคุณ เราก็ทำเร็วแต่ว่าก็ยังไม่ทันกับลูกค้า “ผมไม่กินปลาร้าผมไม่กินส้มตำแต่เมียผมท้อง ผมมายืนรออ๊อด 2 ชั่วโมงแล้วเนี่ยสุดท้ายได้กินแล้วเนี่ย เมียผมได้กินแล้วอะไรเงี้ย พี่ขอบคุณมาก(ยกมือไหว้) ขอบคุณมาก คือแบบลูกค้าบางที่ที่เรายุ่ง ๆ ก็มาเป็นพนักงานให้ร้าน ยืนกางร่มให้ สับมะละกอ รันคิว ใส่ถุง คิดตังค์ให้แล้วแม่อ๊อดอายุเยอะแล้วเนาะ 60 กว่า แม่ก็มีหน้าที่ทอนตังค์ แล้วลูกค้าก็บอกมา ๆ เดี๋ยวพี่ช่วยมา อ้าวหยิบคิวตรงนั้นนะคะ เอาตรงนี้นะคะเอาตรงนี้นะ คืออยากกินช่วยกัน(หัวเราะ) คือเรารู้สึกว่าอยู่มาได้เพราะลูกค้าซัพพอร์ตจริง
ๆ”
แล้วมันเป็นอะไรที่แบบ อยู่ในโมเม้นต์นั้นเรารู้สึก เราจะไม่ทำร้ายเขาด้วยการที่เอาอะไรที่ไม่ดีให้เขา ครึ่งชั่วโมงต่อแถวหรือชั่วโมงครึ่งต่อแถว “ตำไทย 2 ครก พี่ครับ(ยกมือไหว้) อย่ากินตำไทยเลยเนาะตำไทยร้านอื่นอร่อยกว่าอ๊อดครับ อ๊อดตำปลาร้าพี่ลองกินดูเปิดใจปลาร้าอ๊อดนิดหนึ่ง พี่รอ 2 ชั่วโมงพี่ต้องได้ทานปลาร้า เอ้อ! เอาปลาร้าก็ได้ คือเราตำไทยเราไม่อร่อยเราบอกตรง ๆ คือเราเป็นคนอีสานเราไม่ถนัด แต่เราทำได้แต่พี่ ไหน ๆ มาแล้วรอกันมา 45 นาทีแล้วพี่เอาอันนี้เถอะ อย่างนี้เป็นต้น”
แล้วก็คนที่สอนอ๊อดดีที่สุดก็คือ “ลูกค้า” นะครับ จริงครับลูกค้าบอก ลูกค้าบอกจริง ๆ เราก็ทำไปเรียนรู้ไป ทำไปเรียนรู้ไป หนึ่งคือเราอยู่พัทยามาตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็โตมาในพัทยาแล้วก็ คนในพัทยาก็แคบ ๆ เรารู้จักกันหมด ผู้ใหญ่ก็รู้จักกันหมด เราถามตัวเองว่า once ถ้าเกิดวันหนึ่งเขาบอกอย่าไปกินร้านอ๊อดเลยนะกุ้งมันไม่ดี โห! มันเสียชื่อแบบ 10-20 ปี ที่เราทำมาเลยนะ อ๊อดอย่าเปลี่ยนนะ ได้ครับ ก็กำไรจาก 5 บาทก็เหลือ 3 บาทก็เอา เหลือ 2 บาทก็เอา! เพราะว่าลูกค้าแฮปปี้แล้วเขาจะทำให้เราอยู่ได้นาน ก็ไม่คิดว่า 3 ปีจากวันนั้นถึงวันนี้ครับที่มันโต มันอยู่รอดมาได้ แล้วมันก็โตขึ้น ก็เลยมีความรู้สึกว่าได้น้อยแต่ได้ ดีกว่าไม่ได้เลย
เมื่อ “โอกาส” ที่เข้ามาก็เปรียบเหมือน “อากาศ” ถ้าไม่รีบคว้าไว้มันก็จะหายไป
สำหรับการที่เข้ามาเปิดสาขา “ส้มตำอาวดี้” อยู่ในห้างดังที่กรุงเทพฯ คุณอ๊อดเล่าว่า มันเกินคาดมาก! ครับมันเกินคาด“เรายอมรับว่าส้มตำอาวดี้ช่วงเป็นกระแสแล้วมันกำลังจะลงแม้เราจะไปโรดโชว์ต่าง ๆ หนึ่งสองสามสี่ห้า ออกตามห้างฯ ฟู้ดเฟสติวัลต่าง ๆ ก็จริง แต่ยอดขายมันก็เพียงแค่ 1 สาขาคือ “เรา” เราไม่สามารถแตกย่อยเป็น 2 สาขาได้เพราะรถมันมี คันเดียว แต่วันหนึ่งที่มันมาอยู่ในห้างสรรพสินค้าในฟู้ดคอร์ท ฟู้ดเล้าจ์ ต่าง ๆ ครับมันทำให้ เรามีสาขามากขึ้นถามว่าได้เยอะไหม? มันก็ได้แต่ไม่ได้เยอะอย่างที่เราคาดการณ์ แต่มันอยู่ได้ และมันเป็นอะไรที่แบบมันกระจายได้ครับ”เหตุผลที่เลือกทำเลการขายอยู่ในห้างฯคือ เราไม่สามารถเปิดร้านได้เองทุกวันการที่เรามีพนักงานของเราเปิดร้านอยู่ในห้างฯ ในฟู้ดคอร์ทต่าง ๆ มันเป็นสิ่งที่ดีคือ เราไม่ต้องมีหน้าร้าน เราไม่ต้องมีเก็บจานเก็บแก้ว ฯลฯ เรามีแค่ cooking หรือ cooker 2 คนหรือ 4 คน หรือบางสาขา 7 คน ในการทำ แค่นั้นเองที่เหลือจะเป็นห้างฯ ที่ดูแลเราและ ฝนตกฟ้าร้องก็ขายได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการคอนโทรลเรื่องการบริหารจัดการเรื่อง “รายได้/ค่าใช้จ่าย” เพราะมันผ่านทางห้างสรรพสินค้า
“พี่ ๆ ห้างนั้นห้างนี้เขาก็บอก “ส้มตำอาวดี้” ลองไหม? มาคุยกันหน่อยมาลองขายดูไหม ใช่ครับ เพราะว่าถ้าเกิดอ๊อดเชื่อว่าถ้าเกิดเราไม่มีคุณภาพนะครับ เขาก็ไม่กล้าเอาเราเข้าไปเสี่ยง อ๊อดยังเคยบอกกับแม่ แม่ ๆ เราไม่ต่างจากร้านป้าเขาขายส้มตำข้างทางนะ เขาก็ขายเหมือนเราดีไม่ดีอร่อยกว่าอ๊อดอีก (หัวเราะ) แม่อ๊อดบอกเลยนะ แต่ทำไมเรามาอยู่ในห้างแม่รู้ไหม? อะไรเงี้ย มันเป็น “โอกาส” ที่เหลือมันเป็น มาร์เก็ตติ้งที่เราทำ แต่สำคัญสุดก็คือพอเมื่อมาเสพแล้วครับ “คุณภาพ” มันต้องมี อร่อยเนี่ยขึ้นอยู่กับคนจริง ๆ ครับบางคนชอบเผ็ด ชอบเปรี้ยว ไม่เหมือนกัน แต่คุณภาพเนี่ยเขาว่าเราไม่ได้”
แบ่งปันโอกาส “การทำกิน” ผ่านแฟรนไชส์ราคาเข้าถึงง่าย
ทั้งหมด 10 ร้านที่เรามีอยู่ตอนนี้ คือเราดูแลเองโดยตรงเป็นร้านของเราเองครับ เราดูของเราเองเพราะว่าแม่ พ่อ น้องเขย-น้องสาวทำ พวกเราทำกันเอง แฟรนไชส์มีคนถามตั้งแต่ปีแรก ๆ เราไม่กล้าทำ ช่วงแรกอ๊อดตั้งค่อนข้างจะสูง เจ็ดหมื่นห้าถึงแปดหมื่นบาท เพราะไม่กล้าทำหรือปล่อยแบบนี้ แต่พอตอนนี้อ๊อดเรียนว่าอ๊อดเพิ่งปล่อย “แฟรนไชส์” เดือนที่แล้ว มีคนมาซื้ออ๊อด4 เจ้า อ๊อดปล่อยเพียงแค่ 39,000 บาท“สามหมื่นเก้าวันแรกพี่มาเรียนกับอ๊อด มาดูเลยเลือกผัก หั่นของ หมักของ แป้งสูตรอะไร วันที่สองพี่ครับเดี๋ยวผมไปสอนให้ สอนถ้าเกิดพี่เป็นอยู่แล้วได้ ผมไปสอน cooking ให้ วันที่สามก่อนที่พี่จะเปิดร้านเดี๋ยวผมไปเปิดร้านให้ เอาแฟรนไชส์พี่ผมถ่ายโปรโมทให้ ถ่าย 1, 2, 3, 4 แล้วก็สอนพี่แล้วก็ลงทุนวัตถุดิบให้พี่วันแรก นี่ครับที่ทำให้” ด้วยกลุ่มลูกค้าของอ๊อดไม่ได้เป็นไฮเอนด์มาก เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเขาอยากจะมีรายได้เพิ่มเขาก็คงไม่มีเงินลงทุนเป็นแบรนด์ใหญ่ ๆ เพราะนั้นคือราคาเท่านี้เหมาะสม ในการที่จะไปเริ่มและก็skill แล้วหลักการตลาดเราให้ได้ ผมว่ามันคุ้มค่า
ต้องสู้! ถึงจะชนะจริง ๆ ความสำเร็จที่เหมือน “พลัง” ส่งต่อให้กันได้
“ถ้าเกิดเรามีรถขับมีตำแหน่งงานหน้าที่การงานอยู่กินอย่างนี้นะครับ สุดท้ายก็ต้องมาตากแดดตำส้มตำครกละ 20, 30, 40, 50 บาท อะไรเงี้ยผมทำได้! ผมไม่ได้ซีเรียส ผมไม่ได้ตอนแรกอายไหม? แค่แบบไม่เคยทำ ไม่ได้บอกว่าอายนะตอนนี้แต่ แต่พอทำแล้วมันสนุกแล้วลูกค้ามาถึงบางคนพี่พาครับ มาโดยที่ไม่กินปลาร้าไม่กินส้มตำ มาขอกอดหนึ่งกอด เพื่อจะเอา “พลัง” จากเรา น้องพี่ขอกอดน้องหน่อยพี่ พี่อยากได้พลังมากอะไรอย่างเงี้ย น้องเอาพลังมาจากไหนเยอะแยะมากมาย พี่แบบพี่ดีใจมากที่เจอน้องแล้วพี่ฟังเรื่องน้อง แล้วพี่มีแรงกำลังใจ”
ตอนนี้ก็กลับมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แล้วครับเดือนพฤศจิกาฯ กลับมาเป็น General manager ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่ก่อนที่จะมาอยู่ตรงกลับมาเป็นผู้จัดการโรงแรม ปีที่สองของการเปิดร้านอ๊อดกลับได้มี “โอกาส” เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สอนการท่องเที่ยวและโรงแรมอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพาครับตอนนั้นจบ ป.โท แล้วและก็เขาเปิดรับ ที่อีกสาขาหนึ่งคณะหนึ่งแล้วคุณสมบัติเราตรงเราก็เลยขอเสนอขึ้นไป ท่านคณบดีท่านก็ให้เกียรติให้โอกาสเรา“พอหนึ่งปีเสร็จแล้วเรารู้สึกว่า เราน่าจะไปต่อยอดทางโน้นง่ายกว่าก็มีโอกาส โรงแรม invite เราเข้ามาด้วยพอดีครับ”แต่มันก็สามารถทำควบคู่ไปด้วยกันได้ ทั้งงานประจำและก็ธุรกิจร้านส้มตำคือมันทำด้วยกันไปได้ทั้งหมดเลย เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถเอารถ Audi ไปออกร้านขายเองได้บ่อย ๆ เหมือนเมื่อก่อนแล้วเท่านั้น“ตอนนี้เนื่องจากว่าคนอย่างอ๊อดหรืออย่างน้องเนี่ยไม่สามารถที่จะ ไปเดินสายได้แล้วแต่ก็ยังมีงานอีเว้นต์ที่พัทยาบ้านเรา เราก็ไปทุกรอบ ททท. ยังบอกพี่อ๊อดมานะ มา โอเคหนึ่ง สองงานที่เป็นฟู้ดเฟสติวัลต่าง ๆ ที่แบบเราพอจะมีเวลานะครับแล้วก็ งานที่ลูกค้าขึ้นบ้านใหม่ งานปาร์ตี้งานสังสรรค์ ที่อยู่ไม่ไกลมากเราก็ยังไปอยู่น้องAudi ก็ยังไปได้อยู่เหมือนเดิมครับ”
คุณอ๊อด-ไพรทูล บุญศรี เจ้าของแบรนด์ “ส้มตำอาวดี้” ยังบอกกับเราพร้อมกับรอยยิ้มอย่างภาคภูมิด้วย ตอนนี้มันภูมิใจที่เรามาถึงตรงนี้ เราภูมิใจที่เราเลี้ยงครอบครัวเราได้ครับ เรียนจบ ป.โท- ป.เอก ตอนนี้กำลังเรียนใกล้จบแล้ว “อ๊อดมีความใฝ่ฝันคืออยากเป็นด็อกเตอร์ข้างครกที่ ส้มตำ-น้ำปลาร้ามันพาอ๊อดจาก ป.โท มา ป.เอก จบเป็นด็อกเตอร์แล้วเราก็สามารถสร้าง แรงบันดาลใจ ให้กับคนหลาย ๆ คนว่า พี่ครับถ้าเกิดพี่ท้อ พี่มองหารอบตัว คนที่ผมเคยบอกกับหลายรายการมาแล้วว่า คนที่กอดเราอุ่นที่สุดคือ ตัวเราเอง คนที่ให้กำลังเราดีที่สุดเลยครับพี่ คือตัวเราเอง เราจะไปหามา 108-1009 คน เพื่อจะมาซัพพอร์ตความรู้สึกเราแค่นั้นเอง ถ้าเกิดมันตัน! ครับขอแค่มีสติ สติมันก็คืออยู่ พอสมติมา มันก็ทำให้หลาย ๆ อย่างได้ มันก็เกิดขึ้น แต่เราไม่อยาก ไม่อยากเอาเราไปเปรียบกับคนที่เขาถึง 100 แล้วครับ เขาทำได้เราก็ต้องทำได้สิ! แต่วิธี how to เราค่อยหากับเราเอามาอะแด๊ปกับเราแล้วค่อย ๆ ขยับ”คุณภาพบวกกับมาร์เก็ตติ้ง บวกกับการบริการและ “ความจริงใจ” สุดท้ายแล้วอ๊อดว่ามันจะทำให้เราไปรอด! เพราะลูกค้าเสพไม่ได้เสพแค่รสชาติ เสพความจริงใจ บางคนเงินเขา10 บาทนะพี่เขาพร้อมที่จะจ่ายให้ทุกคน แต่เขาจะเลือกคนที่เขาจะจ่ายให้ใคร จ่ายให้คนที่ไปต่อ จ่ายให้คนที่มีกำลังใจ จ่ายให้คนที่จ่ายแล้วจบ! หรือเปล่าเท่านั้นเอง ผมว่ามันไม่ใช่แค่ส้มตำ(หัวเราะ) มันเป็นการ ผมว่าผมให้กำลังใจคนได้เยอะมาก
จากสองล้อสู่ 10 ร้านในห้างดัง “ส้มตำอาวดี้” พลิกวิกฤตเป็น “โอกาส” การทำกินใหม่! ขอบคุณเรื่องราวแห่งการสร้างแรงบันดาลใจดี ๆ สำหรับการเริ่มต้นที่จะกล้าก้าวเพื่อทำอะไรสักอย่างหนึ่งและในที่สุดวันหนึ่งเราก็จะได้ค้นพบ “โอกาส” ใหม่ ๆ ที่รอให้เราเป็นผู้พิชิตมันได้สำเร็จเฉกเช่นเดียวกับเรื่องราวของ “ส้มตำอาวดี้” ขอส่งพลังให้กับ SME ทุก ๆ สาขาอาชีพให้สามารถข้ามผ่านวิกฤตที่มีได้อย่างประสบความสำเร็จไปด้วยกันทุก ๆ ท่าน
สามารถติดตามหรือแวะไปชิมส้มตำอร่อย ๆ ได้ที่ร้าน “ส้มตำอาวดี้” ซึ่งมีกว่า 10 สาขาที่กระจายอยู่ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ได้หรือที่ร้านแฟรนไชส์ซึ่งคุณอ๊อดบอกว่ารับรองได้ทุกร้านอร่อยไม่แพ้กันจากร้านต้นรับของ “ส้มตำอาวดี้” แน่นอน หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร.082-542-5545 ขอบคุณสถานที่ถ่ายทำรายการในครั้งนี้ Phenix Food Wholesale Hub Bangkok (หรือตึกพันธุ์ทิพย์ประตูน้ำเดิม)
คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด