xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) เรื่องที่ร้านแก๊สไม่เคยบอก แต่ Gas Bot ช่วยได้! ผู้ช่วยอัจฉริยะแก้ปัญหาเรื่องการใช้แก๊ส LPG

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการซึ่งต้องใช้แก๊ส LPG คุณเคยทราบไหมว่าเวลาที่คุณส่งถังคืนไปมันยังมี “แก๊สค้างถัง” เหลืออยู่!!! คุณทราบไหมว่าเดือน ๆ หนึ่งคุณเสียเงินไปกับตัวค่าแก๊สที่คุณไม่ได้ใช้จริง เดือนหนึ่งประมาณเท่าไร!!!?

การใช้ไฟแรง ๆ หรือเร่งอุณหภูมิให้สูงในระหว่างการใช้แกีสแอลพีจีซึ่งจะทำให้หมดถังไวแต่ว่าในขณะเดียวกันก็จะเกิดแก๊สค้างก้นถังเยอะด้วย
เทคโนโลยีที่อยากส่งต่อจากทีมวิศวกรด้านพลังงาน นำโดย คุณโกวิทย์ คันธาภัสระ (คุณเล็ก) Co-Founder บริษัท TooCool จำกัด เจ้าของเทคโนโลยี Gas Bot สมาร์ทแอลพีจี บอกด้วยว่า จากประสบการณ์ทำงานของทีมTooCool ในธุรกิจแอลพีจี (LPG) และทำงานกับลูกค้า เคยเจอแก๊สค้างถังตั้งแต่ 40% ลงไปถึง 5%, 10% มีบางรายเหลือเยอะมาก “ท่านอาจจะเคยเห็นนะครับ สำหรับลูกค้าที่ใช้ LPG แล้วรู้ว่ามันเหลือเนี่ยเขาก็จะมีวิธีการ อาจจะต้องไปกลิ้งถังหรือบางทีเอาน้ำร้อนเนี่ยมาราดตัวถัง เพื่อที่จะเอาแก๊สค้างถังออกมา วิธีการเหล่านี้ถ้าใช้เทคโนโลยีของเราเนี่ย เราไม่ต้องทำอีกแล้ว” พวกเอสเอ็มอีต่าง ๆ พวกที่ใช้แก๊สอย่างเช่น ร้านอาหาร มันก็เป็นความสูญเปล่าซึ่งถ้าเราช่วยเขาได้มันก็เป็นสิ่งที่ดี

ปริมาณของแก๊สที่ยังอาจมีเหลือค้างก้นถัง (ถังขนาด 48 กก.) :ซึ่งผู้ประกอบการก่อนนี้ต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
โดยทีมTooCool ซึ่งประกอบด้วยผู้ร่วมก่อตั้ง 3 คน คือ คุณ Kovit Kantapasra คุณ Sakdakhom Laojavachakul (Inventor) และคุณ Sulomrit Laojavachakul เรียกว่าเป็นศิษย์เก่า(เคยทำงานอยู่ใน) บริษัท GE ซึ่งเป็นบริษัทของอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานมาด้วยกัน “ผมก็อยู่จีอีมา 26 ปีก็อยู่ในธุรกิจพลังงานตลอด ก็ทำมาหลายตำแหน่งมาก ก็ตำแหน่งสุดท้ายผมก็เป็น CEO ของจีอีนะดูแลประเทศไทยแล้วก็ประเทศอาเซียนที่อยู่ทางด้านบนทั้งหมดนะครับ ส่วนอีก 2 ท่านเนี่ยท่านนึงคนที่คิดประดิษฐ์ตัว Gas Bot เนี่ยเขาเป็นวิศวกรเก่งทางด้านเรียกว่าเป็น มีความเก่งทางด้านซอฟท์แวร์ด้วยและก็เก่งในเรื่องของวิศวกรรม คือจริง ๆ เขาทำงานที่จีอีเนี่ยเขาทำเรื่องของระบบการจ่ายไฟฟ้ากับระบบการดูแลทั้ง Supply และ Demand ของไฟฟ้าในระบบใหญ่ ๆ ของประเทศเลยนะเขาเป็นคนซึ่งไปติดตั้งระบบพวกนี้ให้กับพวกบริษัทไฟฟ้าใหญ่ ๆ ของโลกทั่วโลกเลย” จริง ๆ ปัญหาตรงนี้มันก็เป็นปัญหาซึ่งมันมีมานานแล้ว คนก็แก้ด้วยการใช้หม้อต้ม (LPG Vaporizer) แต่ไม่ได้คิดว่ามันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น วิธีที่ประหยัดกว่านั้น ก็เป็นความโชคดีที่คนไทยคนหนึ่งซึ่งมีความเก่งตรงนี้ลุกขึ้นมาแล้วก็คิดตรงนี้แล้วก็อยากเอาสิ่งดี ๆ ตรงนี้มามอบให้กับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่ต้องใช้แก๊สLPG ซึ่งมันก็เป็นต้นทุน เราก็ยังต้องนำเข้าเชื้อเพลิง“ก็สามคนอีกท่านหนึ่งก็มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Supply Chain อยู่ในธุรกิจหลายธุรกิจของจีอีและก็เก่งในเรื่องของค้า ๆ ขาย ๆ เรื่องของคอมเมอร์เชียล ก็มาสุมหัวรวมกันแล้วก็คิดธุรกิจนี้ขึ้นมา”

เข็มขัดความร้อนหรือ Smart Belt จะช่วยรีดเอาแก๊สที่ค้างก้นถังขึ้นมาให้ใช้ต่อเนื่องไปได้อีกจนกว่าจะหมดถังจริง ๆ
ธุรกิจนี้เกิดขึ้นมาก่อน “Covid-19” นิดหนึ่งแล้วทีมก็หยุดไปช่วงโควิดฯ แต่ว่าในช่วงโควิดฯ ก็คือเป็นช่วงการพัฒนาโปรดักส์ของTooCool ตัวนี้ด้วย แล้วก็ตัวเองก็ไปทำงานที่ครัวกลางซึ่งทำให้มีโอกาสได้ไปลองใช้งานเทคโนโลยีตัวนี้เป็นครั้งแรก “ช่วงแรกก็การที่จะไปทำให้ลูกค้าเชื่อถือเรา มันก็เป็นเรื่องยากนิดหนึ่งนะเพราะเราเป็นบริษัทไม่ใหญ่ แต่ถึงวันนี้เราก็มีลูกค้าแบบรายใหญ่ ๆ เราติดตั้งไปมากกว่า 200 ระบบแล้ว แล้วลูกค้าของเราก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ถ้าบอกชื่อส่วนใหญ่คนก็รู้จักหมด และก็หลากหลายอุตสาหกรรมมา เพราะฉะนั้นเราก็ถึงจุดที่ว่าเรามั่นใจในเทคโนโลยี เราก็มั่นใจในสิ่งที่เราไปมอบให้ลูกค้าแล้วลูกค้าก็ให้ฟีดแบ็กที่ดีกับเรา ว่าเอ้อมันใช้แล้วได้ผลเขาก็อยากจะไปใช้กับสาขาต่อไปที่อื่น แนะนำปากต่อปากอะไรเงี้ย”

สมองกลควบคุมระบบการทำงานของ Gas Bot
Gas Bot : ผู้ช่วยอัจฉริยะ แก้ปัญหาเรื่องการใช้แก๊ส LPG
หรือว่าถ้าเป็นในระดับของการใช้แก๊สปริมาณมาก ๆ อาจจะมี “หม้อต้ม” ที่ช่วยในการทำให้แก๊สจากของเหลวกลายเป็นแก๊สแล้วก็ “รีด” ตัวแก๊สออกจากถังแต่ว่า หม้อต้มมันก็มีเงินลงทุนที่สูงมีการใช้ไฟฟ้าที่เยอะมาก และค่าไฟฟ้าก็แพงขึ้นทุกวัน ผมเองมีประสบการณ์ทำครัวกลางมาเคยจับค่าไฟฟ้าที่จะต้มเนื้อแก๊ส 1 ถังจ่ายค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 110 บาท ค่าไฟฟ้าอย่างเดียวในการที่จะต้มเนื้อแก๊ส 1 ถัง (48 กก.) เพื่อให้เปลี่ยนจากของเหลวเป็นแก๊ส ซึ่ง 110 บาทมันเท่ากับเนื้อแก๊สตอนนั้นประมาณ 4.5-5 กก. ซึ่งเป็นการลงทุนที่แพงมาก

Smart Control Box สมองกลควบคุมการทำงานของ Gas Bot
“คือ Gas Bot ของเรามันเป็นเทคโนโลยีซึ่งแก้ปัญหาการใช้แก๊ส LPG ของลูกค้าในหลาย ๆ ธุรกิจและในภาคอุตสาหกรรมด้วย ธุรกิจร้านอาหาร บริการซักอบรีด ฯลฯ เทคโนโลยีของเรามันเป็นเทคโนโลยีซึ่งง่ายแต่ว่า ไม่เคยมีคนทำมาก่อน เพราะฉะนั้นเราก็เน้นในเรื่องของการประหยัดแล้วก็การใช้ในเรื่องของนวัตกรรมทั้งทางด้านซอฟต์แวร์ด้าน IOT ต่าง ๆ มาจัดกระบวนการแล้วก็เอาแก๊สค้างถังเนี่ยมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ”

การติดตั้ง Smart Belt หรือเข็มขัดความร้อนที่ถังแก๊ส LPG
ระบบของเราข้อดีก็คือว่า การลงทุนต่ำ แล้วเป็นระบบซึ่งเรามี “สิทธิบัตร” ด้วย ไม่เคยมีใครคิดทำการรีดแก๊สแบบเรา เราสามารถที่จะพูดได้ว่าเราเป็นเจ้าแรก นอกเหนือจากหม้อต้มน้ำซึ่งใช้ในการรีดแก๊สซึ่งก็ใช้มา 40-50 ปีแล้ว ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือว่าวิวัฒนาการมันก็ยังเป็น “อะนาล็อก” มันไม่ได้มีการส่งข้อมูลในเรื่องของ แก๊สรั่ว หรือว่าแจ้งเตือน แก๊สหมด หรือว่าบอกว่าระบบของเราทำงานดีอยู่ไหม ขณะที่ Gas Bot เราทุกอย่างเลย


Gas Bot มีรูปแบบการทำงาน เป็นอย่างไร?
นอกจากรีดแก๊สแล้วเราแจ้งเตือน แก๊สหมด แจ้งเตือนให้สั่งแก๊ส แจ้งเตือนเวลาระบบของคุณมีปัญหา แล้วข้อแตกต่างที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือว่า ตัวหม้อต้มจะมีจุดหนึ่งที่สามารถที่จะล้มเหลวของทั้งระบบจุดเดียวเลย คือถ้าหม้อต้มคุณพังขึ้นมาหรือเสียขึ้นมาสมมุติว่า ตัวหม้อต้มมันต้องเติมน้ำบางทีมันก็มีการรั่วซึมหรืออะไรต่าง ๆ น้ำอยู่ในระบบมันหมดแล้วเราลืมเติม ระบบน็อคเลย เพราะฉะนั้นธุรกิจต่าง ๆ ที่เราต้องพึ่งพิงแก๊ส LPG เพื่อที่จะให้ธุรกิจเราเดินต่อไปได้ แล้วการจ่าย LPG มันไม่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น ศูนย์อาหาร ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเรื่องใหญ่มาก “แต่ว่าระบบของเราเนี่ยเนื่องจากว่าเรามีตัว เข็มขัดความร้อน (Smart Belt) ซึ่งมันจะมีอยู่หลายตัว เพราะฉะนั้นการที่ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียไปตัวอื่นก็ยังทำงาน เราไม่ได้มีจุดเดียวว่าถ้าเสียจุดเดียวปั๊บระบบใช้งานไม่ได้ เพราะฉะนั้นอันนี้คือความได้เปรียบหรือว่าข้อดี”


Gas Bot ก็จะมีองค์ประกอบอยู่ไม่กี่ตัว คือ จะมี Smart Belt ซึ่งเป็นตัวให้ความร้อนกับถังแก๊ส แล้วสิ่งที่ยืนยันเรื่องความปลอดภัยคือระบบของเราก็ได้มาตรฐานเรื่องความปลอดภัย เรื่องของการป้องกันระเบิด ป้องกันการติดไฟ และก็ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมพัฒนาธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีตัวเซ็นเซอร์หรือที่เรียกว่า Smart Control Box ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ที่จะสั่งให้ Smart Belt ทำงานคือระบบของเราเนี่ยมันจะควบคุมด้วยความดัน คือความดันเนี่ยเราต้องกำหนดก่อนที่เราจะเข้าไปทำเราต้องรู้แล้วว่า ระบบของลูกค้าแต่ละคนเนี่ยต้องการความดันเพื่อที่จะให้ความร้อนไปที่หัวเตาหรือไปที่อุปกรณ์ที่ต้องใช้ความร้อนทั้งหมดประมาณกี่กิโลกรัมต่อชั่วโมง แล้วตัวความดันจะเป็นตัวกำหนดว่าการระเหยของแก๊สเนี่ยมันจะเป็นกี่กิโลกรัมต่อชั่วโมง สมมุติว่า100 PSI ก็คือความดันที่อยู่ในท่อ ถ้ามันตกลงมาต่ำกว่า/เกือบถึง 100 เนี่ยเราค่อยส่งสัญญาณไปให้ แต่ว่าในช่วงแรกมันยังได้อยู่ตอนที่เรามีแก๊สอยู่ทุกถังมีเต็ม การระเหยมันก็ยังเพียงพอ ก็ส่งแก๊สไปจำนวนที่พอเพียงกับการใช้ แต่พอมันเริ่มลงมาที่ก้น ๆ ถังปั๊บพอความดันมันเริ่มตกเมื่อไหร่เนี่ย ต่ำกว่าค่า ๆ หนึ่งที่เราตั้งไว้มันก็จะเริ่มส่งสัญญาณมาที่ตัวเข็มขัดความร้อน เข็มขัดความร้อนก็จะเริ่มให้ความร้อนแล้วก็ทำให้การระเหยของแก๊สคงที่มากขึ้น แล้วก็ควบคุมความดันเพื่อให้สามารถที่จะมีจำนวนแก๊สเพียงพอกับการใช้งาน เมื่อความดันต่ำลงเมื่อไหร่ เพราะว่าการระเหยมันไม่เพียงพอเราค่อยสั่ง ให้ตัว Smart Belt ทำงาน”เพราะฉะนั้นถ้าเทียบค่าใช้ไฟฟ้าของเรา เราน้อยกว่าหม้อต้มประมาณ 90% เลย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเด่นมาก ๆ ของเทคโนโลยี Gas Bot


แล้วของเรานี่เรียกว่าเป็น Full IOT แล้วกันหรือว่าเป็นเรียกว่า DIGITAL แล้วกันเพราะในยุคนี้ทุกอย่างมันต้องเป็นดิจิทัลหมด
เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะดูการทำงานของระบบถึงแม้ว่าเราจะมีหลายสาขา เราสามารถดูได้จากมือถือ(สมาร์ทโฟน) ของเราแล้วก็ให้ทีมงานของ TooCool ช่วยดูได้ด้วยเพราะว่าเราสามารถที่จะมีตัวผู้ใช้งานในระบบเราได้มากถึง 5 คน“เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะลิงก์ตัวคนที่เป็นแอลพีจีซัพพลายของเราด้วย เวลาที่แก๊สเราหมดปั๊บเนี่ยหรือว่าก่อนจะหมดเราสามารถที่จะ บอกไปที่แก๊สซัพพลายของเราคนที่ส่งแก๊สให้เรา บอกว่าอ้าวเตรียมมาส่งแก๊สได้แล้วนะแก๊สเราหมดแล้ว ข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเริ่มใช้แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะไม่เจอปัญหาเรื่องการสะดุดของการไม่มีแก๊สหรือแก๊สหมดแล้วก็ทำให้ธุรกิจเราสะดุดไปด้วยเลย”


พฤติกรรมการใช้แก๊สแบบไหน? หรือใครบ้างที่ต้องมี Gas Bot
ก็จะมีหัวเตาหลาย ๆ ประเภท ถ้าเป็นเตาผัดพวก KB5 หรือ KB6 ที่ความดันต้องแรง ๆ เพราะมันต้องลีนเอาแก๊สเข้ามาเยอะ ๆ
เพื่อให้ไฟมันแรง ๆ ผัดแบบเร็ว ๆ พวกนี้ใช่เลย แล้วถ้าจำนวนหัวเตาเปิดพร้อมกันใช้งานเยอะ ๆ ด้วยสมมุติเรามีหลาย ๆ ครัว เกิดมีออร์เดอเยอะ ๆ หรือพวกศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้าในช่วง Peak Hour หรือว่าในศูนย์ประชุมวันที่มีการจัดงานแล้วก็คนลงมาทานอาหารพร้อม ๆ กันอย่างเงี้ย ทุกร้านอาหารขายดีอันนี้มันก็จะต้องมีการเร่งให้มันปริมาณมากขึ้น“มันก็เร่งได้ 2-3 อย่างคือการมีจำนวนถังมากก็ช่วยได้ เพราะมันก็จะระเหยไปพร้อม ๆ กัน หรือการที่เพิ่มความร้อนไปที่ตัวถังเพื่อให้มันระเหยได้เร็วขึ้น คือธรรมชาติของ LPG เนี่ยมันก็เริ่มต้นที่จะระเหยตั้งแต่อุณหภูมิ 15 องศาแล้ว คือต่ำ ๆ มันก็เริ่มระเหยโดยธรรมชาติ ถ้าเราเร่งปั๊บไปที่ประมาณ 60 องศามันก็จะระเหยเร็วขึ้น” ของเราข้อดีอย่างหนึ่งคือ พอมันถึงอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ สมมุติว่าเราตั้งไว้ที่ 50 องศานะมันก็หยุดแล้วเพราะว่ามัน heat ที่ตัวถังที่ 50 แล้วก็หยุดไป หรือว่าสมมุติว่าระบบบอกว่าตอนนี้หัวเตาส่วนใหญ่ปิดแล้วไม่ได้มีการใช้งาน มันก็สั่งให้หยุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมันก็จะหยุดอัตโนมัติเราก็จะไม่มีการเปลืองเรื่องค่าไฟฟ้าโดยที่เราไม่ได้ใช้งาน


ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้แก๊ส LPG ยกตัวอย่างเช่น โรงแรม โรงพยาบาล บริการซักอบรีด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม โรงอาหารทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงอาหารในโรงเรียน เป็นต้น “แล้วก็อีกอันหนึ่งที่แปลก ๆ ที่เราทำก็ พวกอบชิ้นส่วนรถยนต์เวลาซ่อมพาร์ทแล้วต้องพ่นสีอบแห้งอะไรพวกนี้ เขาก็ใช้แก๊ส LPG เหมือนกัน การที่ใช้เทคโนโลยีของเราทำให้ความร้อนของเขาเนี่ยคงที่มากขึ้น การอบชิ้นงานอบได้ดีขึ้นด้วย”


การลงทุนค่าระบบ & ระยะเวลาคืนทุน
ผมว่าที่เราเจอเคสต่าง ๆ นะลูกค้าพอใจแล้วกัน คือมันมีตั้งแต่ 0 หรือ 0.1 ในบางกรณีมันก็ถ้าสมมุติว่าความดันสูงมาก ๆ หมายถึงว่าลูกค้าต้องการดีไซน์ในระบบสูงมาก ๆ อาจจะเหลือค้างถังประมาณ 0.5 กก. หรือ 1 กก. ก็มีเหมือนกัน แต่ถ้าสมมุติไม่มีระบบนี้เลย (กรณีไม่ได้ใช้แก๊สบอทเลย) อยู่ที่ 15 กก. หรือ 20 กก. ซึ่งเราเคยเจอเยอะสุด 28 กก.! “คุ้มค่าเร็วครับ คุ้มค่าเร็วมาก ยิ่งคุณใช้แก๊สเยอะยิ่งคุ้มเร็ว เพราะเราบอก 10 ถัง (ถังละ48 กก.) ต่อเดือนนี่ก็ ถ้ามีค้างในถัง 5% คุณก็ได้ผลตอบแทนประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์แล้ว สมมุติลงทุน 1 หมื่นคุณก็ได้คืนเนื้อแก๊สที่คุณจ่ายน้อยลงไป 2,200-2,500 บาท” เราเคยทำมาหลาย ๆ รายบางราย เอาเงินจากการประหยัดแก๊สที่ได้มาเช่าระบบของเราเลย ยังเหลือเงินใส่กระเป๋าเลย อย่างกรณีของกลุ่มที่เป็นครัวกลางเหมือนกันเขาทำ Food Delivery ส่งอาหารตอนไปทำครั้งแรกเราก็บอกว่า ถังที่คุณหมดแล้วคุณอย่าเพิ่งคืนนะ เดี๋ยวมาชั่งดู ถัง 48 กก. มีแก๊สที่เหลือค้างในถังอยู่ถึง 17 กก.เลย! แล้วตอนนั้นเขาก็บอกงั้นเดี๋ยวเขาไม่อยากลงทุนนะ ก็เดี๋ยวเอาเงินตรงนี้เงินที่ว่าประหยัดค่าแก๊สนี่แหละ เดี๋ยวเอามาจ่ายเป็นค่าเช่าระบบของ Gas Bot แทน ซึ่งบริษัทเองก็เป็นระบบเช่าให้กับผู้ใช้สามารถเช่าใช้ระบบของ Gas Bot ได้อีกด้วย และก็มีอีกเจ้าหนึ่งก็เป็นคล้าย ๆ กับห้างสรรพสินค้าแล้วมีศูนย์อาหารเหมือนกัน แต่เขามีหม้อต้มด้วย เราก็ไปวัดค่าไฟฟ้าให้เขาก่อนก็ออกมาของเขาแพงมากเลย อยู่ที่ 150 บาทต่อการต้มแก๊ส1 ถัง (48 กก.) แล้วก็เราก็เอา Gas Bot เข้าไปติดตั้งให้เขาทำให้เขาดู ของเราไม่ถึง 10 บาท(ต่อ1 Smart Belt) เขาก็บอกงั้นเขาเช่าระบบของ Gas Bot เลย เอาเงินที่ประหยัดค่าไฟฟ้ามาจ่ายเป็นค่าเช่าระบบ


“เรามีความยืดหยุ่นด้วยระบบ เรามีทั้งหมด 4 ระบบนะครับ สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นถังแบบเบาท์(ถังขนาดใหญ่) ซึ่งขนาดเล็กเราเริ่มต้นตั้งแต่ ประมาณ 4 หมื่นบาทต่อ 1 ระบบ ขนาดเล็กเราไปถึงประมาณ สัก 50 ถัง/เดือนได้ ส่วนขนาดกลางเนี่ยประมาณ 120 ถัง/เดือน ก็คือต้องมีถังแก๊สที่ไซต์เนี่ยเริ่มต้นตั้งแต่ 3x2 หรือไม่ก็ 5x5 ก็คือสามบวกสองหรือไม่ก็สิบถังก็ได้ หรือห้าถังก็ได้ ถ้าเป็นขนาดใหญ่เลยใช้ถึง 300 ถัง/เดือนนะ เราก็เป็นฝั่งละ 10 : 10 คือ 300 ถังต้องเปลี่ยนทุกวัน ถังละสิบเนี่ยคือต้องเปลี่ยนทุกวัน เพราะฉะนั้นอันนั้นก็เป็นระบบใหญ่ ก็จะมีตั้งแต่ 4 หมื่นไปจนถึงกลาง ๆ ก็ประมาณ 8 หมื่นถึงแสนนึง แล้วก็ไปตั้งแต่ 150,000-250,000” ถ้าเป็นระบบของภาคอุตสาหกรรมเราไม่ได้เน้นเรื่องความประหยัด เพราะโรงงานอุตสาหกรรมต้องใช้หม้อต้มน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเราทำไม่ได้ เพราะว่าเขาใช้ปริมาณเนื้อแก๊สที่เยอะมาก เพราะฉะนั้นเราจะเป็นการช่วยในเรื่องของความมีประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงาน หรือว่าช่วยทางฝั่งโลจิสติกส์ให้บริหารจัดการเรื่องการส่งแก๊สที่ดีขึ้น การที่เอาระบบจัดซื้อหรือว่าการระบบบิลลิ่ง หรือว่าระบบควบคุมว่าเราใช้ปริมาณแก๊สประมาณเท่าไร สั่งจากซัพพลายแก๊สประมาณเท่าไหร่ เรามีระบบที่สามารถผนวกกับระบบบัญชีของคุณได้ อันนั้นก็เป็นเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานแล้วก็ระบบแจ้งเตือนที่ดีกว่า




ลดต้นทุนแถม “ความปลอดภัย” ตอบโจทย์เทคโนโลยี “รักษ์โลก”
“หนึ่งแจ้งเตือนเวลาแก๊สรั่ว อันนี้ผมว่าเรื่อง ความปลอดภัยนะสำคัญมาก ๆ เพราะว่า LPG มันก็อย่างที่เราก็ทราบกันดีเรื่องการใช้แก๊ส ความปลอดภัยสำคัญมาก การแจ้งเตือนเวลามีแก๊สรั่ว และก็สองเนี่ยเวลาที่ระบบมีปัญหา เช่น สมมุติว่าความดันในระบบเราก็ใช้งานปกติมันเกิดตกขึ้นมา ก็ต้องมีการบอกว่าเอ้อตอนนี้มันเกิดมีความดันตกนะ จะตกด้วยแก๊สหมดหรือตกด้วยแก๊สรั่วไม่รู้ คุณต้องไปดูแล้วนะใช่มั้ย! หรือแจ้งเตือนว่าอ้าวตอนนี้รัน A หมดแล้วเตรียมสั่งแก๊สได้แล้วนะ แล้วก็สามารถสิ้นเดือนนี้คุณสามารถที่จะดูว่าแต่ละสาขาคุณใช้ LPG ไปเท่าไหร่ อันนี้ก็สามารถที่จะออกมาเป็นรายงานได้” ก็ครบทุกอย่างที่คนใช้งานต้องการ ถ้าเป็นระบบอุตสาหกรรมเราสามารถดูได้ถึงระดับของแก๊สที่เหลืออยู่ในถัง



“เราดูพวก stakeholder นะที่อยู่ในระบบนะ ผมว่าคนส่งแก๊สเนี่ยชอบนะเพราะระบบเราถ้าเขามาอยู่ใน ECO System ของเราเนี่ยเขาจะรู้เลย ลูกค้าเขาอันนี้นะแก๊สจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้าเขาจะมีเวลาแพลนอยู่หลายวัน เพราะฉะนั้นเขาสามารถที่จะจัด route ของเขาในการที่จะจัดส่งให้กับลูกค้า ว่า route นี้นะเราไปอย่างน้อย ๆ มีถังแก๊สอยู่ 40 ถังที่จะไปส่งรูทนี้วิ่งไปยาว ๆ อันนี้ลดเรื่องค่าเชื้อเพลิงแล้วของรถที่เขาเอาไปส่งแก๊ส แต่ถ้าคุณต้องตีรถแบบเอาไปแค่ 4 ถังไปส่งที่เดียว กับการที่คุณมี 20 ถังแน่นอนมันประหยัดกว่ากันเยอะเลย ค่าส่งแก๊สสำหรับคนที่ทำอยู่ในธุรกิจแก๊สนี่คือค่าใช้จ่ายที่สูงมากของพวกเขาเลย เพราะฉะนั้นถ้าเขาสามารถที่จะวางแผนล่วงหน้าได้มันช่วยเขาได้เยอะ ก็ลดตรงนี้”


คุณโกวิทย์ คันธาภัสระ Co-Founder บริษัท TooCool จำกัด เจ้าของเทคโนโลยี Gas Bot สมาร์ทแอลพีจี ยังบอกด้วย อีกอันหนึ่งก็คือระบบ “หม้อต้ม” ซึ่งใช้ไฟฟ้าเยอะมากแต่ในขณะที่ Gas Bot เองก็จะมี use case อยู่แล้วหรือมี proof อยู่แล้วที่เราไปพิสูจน์ให้ลูกค้าเห็นแล้วว่า เราประหยัดค่าไฟฟ้าคุณได้ถึง 90%“เราจะเริ่มใช้ไฟในระบบก็ต่อเมื่อมันมีความต้องการให้ต้มหรือของเราไม่เรียกว่าต้ม เรียกว่าเรา heat เพื่อให้มันโฟลว์ของแอลพีจีมันเยอะพอในการใช้งานของลูกค้า นะให้มันพอเพียง แล้วก็หยุดในเมื่อคุณไม่ต้องใช้หรือว่าคุณไม่มีความต้องการแล้ว ขณะที่หม้อต้มน้ำก็ต้มไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราถึงบอกว่า 90% นี่เราเซฟได้สบายเลย เพราะฉะนั้นอันนี้ถามว่าถ้าเป็น Carbonfootprint เนี่ยคุณลดไฟฟ้าไป 90% เนี่ยยังไงคุณก็ลดคาร์บอนฟรุตปริ้นอยู่แล้ว 90% เยอะมากนะ” โดยเทคโนโลยีนี้จะตอบโจทย์ของธุรกิจในยุคนี้ที่ต้องการให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมหรือว่าเทรนด์เรื่องของเทคโนโลยีที่ช่วย “รักษ์โลก” ได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน(การใช้ไฟฟ้า) จากเดิมที่เคยใช้ 100 หน่วยไฟฟ้าก็ลดลงมาเหลือแค่ 10 หน่วยได้


เรื่องที่ร้านแก๊สไม่เคยบอก แต่ Gas Bot ช่วยได้! เทคโนโลยีที่อยากส่งต่อจากทีมวิศวกรด้านพลังงาน ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยประหยัดค่าแก๊ส(ลดต้นทุน) และยังเพิ่มความปลอดภัยในการใช้แก๊ส LPG ได้อีกด้วย ขอบคุณเทคโนโลยีดี ๆ ที่มีประโยชน์อย่างมาก ๆ สำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการใช้แก๊ส LPG โดยทีมวิศวกรของ TooCool เจ้าของเทคโนโลยี Gas Bot สมาร์ทแอลพีจี ที่กรุณามาร่วมแชร์ข้อมูลดี ๆ ประสบการณ์ตรงที่ผู้ประกอบการสามารถได้รับความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นในการใช้แก๊ส LPG อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยที่มากขึ้นด้วย

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี Gas Bot สมาร์ทแอลพีจี โดยทีมสตาร์ทอัพคนไทยเป็นผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการจดสิทธิบัตรคุ้มครองเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยด้วย ติดต่อไปได้ที่บริษัทTooCooL โทร.081-826-6349, 081-870-2880 ขอบคุณ #TorPenguin

คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น