xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) จากผู้ป่วยมะเร็งสู่เจ้าของฟาร์มเลี้ยงผึ้งชันโรง ผลิต “น้ำผึ้งบ่มข้ามปี” อาหารเป็นยารักษาโรคและแบ่งปัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“นัยของการกินน้ำผึ้งคือ การกินกรดจากกระเพาะของผึ้งหรือว่ากรดจากชันโรง เหตุผลเพราะว่าความหวานที่เราได้มาหรือความอร่อยมันคือของแถม เวลาไปเก็บน้ำตาลลงในกระเพาะเวลาเขามาคายใส่ถ้วยหรือรวงผึ้งก็ดีเขาจะมีจากกระเพาะปนออกมาด้วยนั่นคือสิ่งที่เราต้องการ กรดอะมิโนจากผึ้งต่างหาก”


จากการที่เราจะมาใช้ในการบ่มก็ดีหรือว่ายีสต์ตามธรรมชาติมันมาบูม เมื่อไม่ได้อยู่ในสภาพปกติในรังเขาอันนั้นคือของแถม นัยของการกินน้ำผึ้งหรือน้ำผึ้งชันโรงก็คือการกินกรดในกระเพาะผึ้ง มันเป็นอาหารเสริมชนิดหนึ่งเหมือนกับอาหารที่ดีจากผักบางชนิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ ผักบางอย่าง มันก็คืออาหารประเภทแบบนี้เหมือนกัน มันเป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่ไม่ได้ปรุงแต่ง

คุณแมน-กฤตภาส พรามพิทักษ์ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงผึ้งชันโรงชื่อ “Lullaafarm” บนพื้นที่ 40 ไร่อยู่ในเขต ต.หนองตากยา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เล่าให้ฟังว่า ตนเองเลี้ยงผึ้งชันโรง (stingless bee) มาได้ประมาณย่างเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว หลังจากที่มีการตรวจพบ “มะเร็งตับ” เป็นครั้งที่ 2 และแพทย์ที่รักษาอยู่ก็ให้มีการ follow เซลล์มะเร็งที่เป็นอย่างใกล้ชิด เตรียมการเพื่อเข้าสู่การรักษาโดยวิธีผ่าตัดและเคมีบำบัดต่อไป แต่ด้วยความโชคดีค้นพบวิธีการใหม่ที่ทำให้เซลล์มะเร็งเป็นอยู่หายไปได้! ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องคีโมอีก ในรอบที่ 2 ที่ผ่านมา กลายเป็นจุดประกายทำให้หันมาศึกษาเรื่อง “น้ำผึ้งชันโรง” และรูปแบบการเลี้ยงผึ้งชันโรงอย่างจริงจังเรื่อยมาจากนั้น

น้ำผึ้งชันโรงแบบสด จะเห็นว่ามีฟอง ๆ อยู่นั้นก็คือบ่งบอกถึงสิ่งมีชีวิตที่ยัง Active อยู่เป็นจำนวนมากในน้ำผึ้ง
รู้ไว้ใช่ว่า.. “น้ำผึ้งชันโรง” มีอยู่ 3 แบบ
น้ำผึ้งชันโรง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหลัก ๆ เลยก็คือ “แบบสด” การเก็บจากรังที่สะอาดพร้อมบริโภค การเก็บจากรังเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะว่า รังจะต้องเป็นรังที่เขาเรียกว่าเป็น รังเลี้ยงเทียม มีความสะอาดมีการมุงกันแดดกันฝนอย่างมาตรฐานจนมั่นใจว่ารังนี้ไม่มีความชื้นจนเป็นเชื้อรา สามารถดูดเก็บสดมาใช้บริโภคแบบสดได้ สำคัญเพราะถ้าจะดื่มแบบสดแล้วรังไม่สะอาดคุณจะได้เชื้อโรคบางตัวที่มันแฝงปนเปื้อนเข้า บางคนเป็นโรคที่ภูมิต้านทานอ่อนแออยู่หรือว่าติดเชื้อในกระแสเลือด ก็เลยต้องมีการตรวจเช็กรังหรือว่าต้องรู้แหล่งน้ำผึ้งดิบมาจากรังที่สะอาดไว้ใจได้ อย่างที่ 2 คือ “น้ำผึ้งหมักบ่ม” เก็บได้จากรังมาตรฐานแล้วยังไงงานวิจัยเขาก็จะบอกว่า มันมีกลุ่มเชื้อราพวกสารอัลฟาท็อกซินต่าง ๆ เชื้อราบางตัวถ้าบ่มด้วยระยะเวลา 365 วันขึ้นไป เชื้อเหล่านี้ก็จะไม่เป็นอันตรายหรือว่าหมดไป อีกอย่างหนึ่งเวลาบ่มเราสามารถได้สารต่าง ๆ สารจากธรรมชาติ จากจุลินทรีย์หรือว่ายีสต์ที่อยู่ในน้ำผึ้งชันโรงอยู่แล้ว พอเวลาเราบ่มอย่างถูกวิธีถ้าอากาศไม่เข้า มีการระบายแก๊สออกอย่างถูกต้องแบบลักษณะของการบ่มไวน์ มันจะได้แอซิดถ้าเกิดว่าเราลึกลงไปในเรื่องจุลินทรีย์หรือว่าอะมิโนต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถกระตุ้นจุลินทรีย์ในร่างกายในภาวะที่เราเสื่อมสภาพ เพราะว่าออกซิเจนจะน้อยสำหรับคนที่เสื่อมสภาพแล้ว จุลินทรีย์ในร่างกายเราก็จะทำงานได้ดีขึ้น ต่างกับวัยหนุ่มสาวเขาจะแข็งแรงเพราะว่าเขาออกกำลังกาย ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้สูง ความมีภูมิต้านทานเป็นโรคก็จะน้อย แต่พอเราเป็นเด็กหรือว่าเป็นคนแก่ภูมิต้านทานเราต่ำเพราะว่าออกซิเจนในเลือดในร่างกายเราน้อย


อันนี้เป็นผลโดยตรงในการสร้างกรดอะมิโน เพราะว่าร่างกายเราประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเยอะมากเพราะร่างกายเรามี “น้ำ” เยอะ
เป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องรู้ลึกลงไป การหมักบ่มก็จะทำให้น้ำตาลในน้ำผึ้งชันโรงมันมีปริมาณน้อยลงหรือเรียกว่า “ฟรุกโตส”มันมีน้ำตาลหลายตัวที่มีประโยชน์แต่มีน้ำตาลบางตัวที่รับมากเกินไปก็ไม่ดี หรือบางครั้งอาจจะเป็นการสร้างความกังวลด้วยซ้ำเพราะความหวาน เพราะฉะนั้นเวลาหมักบ่มสิ่งที่เราได้ก็คือความเปรี้ยวที่เพิ่มขึ้นจากพวกอะมิโนต่าง ๆ จุลินทรีย์ผลิตแล้วตายก็ต้องมีการกรองออกไปทิ้ง ตามขั้นตอนของกระบวนการบ่ม สุดท้ายคนที่จะเอาไปกินมันก็จะตรงประเด็นสำหรับการรักษาสุขภาพคนที่มีความกังวลเรื่องเบาหวานก็จะได้ฟรุกโตสต่ำ เพราะว่าเราได้อะมิโนเพียว ๆ แล้วไม่มีกิจกรรมอะไรเพิ่มในร่างกาย

น้ำผึ้งที่จะต้องขึ้น Shelf ขึ้นห้างฯ ก็ดีพวกนี้จะมีมาตรฐาน เรื่องของความชื้น ความเข้มข้น ความหนืด อะไรต่าง ๆ ถ้าสังเกตดูเขาจะต้อง “อบลมร้อน” แล้วก็ต้องขายเป็นกรัม เพราะว่าเวลามันโดนระเหยความชื้นออกความชื้นมันต่ำลงทำให้มันมีความหนืดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นข้อควบคุมทาง พ.ร.บ.ของน้ำผึ้ง ซึ่งก็จะไม่ขอลงในรายละเอียดเพราะว่าตัวเองไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ อีกอย่างคือมันยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนยังมีการปรับอยู่เรื่อย ๆ เพราะว่ากำลังรอให้มันลงตัวอยู่ ก็มีความจำเป็นว่าอย่างถ้าเป็นระบบอุตสาหกรรมเขาเริ่มทำในปริมาณมาก แต่อย่างที่ฟาร์มเองก็ถือว่าเป็นแบบ “โฮมเมด” แต่ถ้าเป็นระบบอุตสาหกรรมคือจะมาจากต่างที่ มันจึงต้องมีการทำความสะอาดการอบลมร้อนมันก็เป็นตัวเลือกหนึ่งเพราะว่า ใช้ความร้อนระดับหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำลายอะไรทั้งหมด อาจจะอยู่ที่สัก45 หรือ50-55 องศา ใช้เวลาประมาณ48 ชม. เพื่อจะผ่านมาตรฐานการฆ่าเชื้ออย่างเช่น สารอัลฟาท็อกซิน เชื้อราบางตัวหรือว่าแบคทีเรียบางตัวที่มันอยู่ในมูลสัตว์ แต่เราก็ต้องยอมรับเรื่องความหวาน แต่ในกลุ่มสุดท้ายจะมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม เข้มข้นกว่าเพราะว่าจะมีความหวานแล้วความเปรี้ยวจะน้อย คนที่ชอบอร่อยต้องทานกลุ่มนี้

นำ้ผึ้งเก่าค้างขอนมาอย่างยาวนาน แต่มีความเป็นยาสูงมากสีแดงคือ แอนโธไซยานินซึ่งเป็นสารสำคัญที่เป็นยา
“น้ำผึ้งชันโรง” แบบไหน ที่เหมาะกับใครบ้าง?
น้ำผึ้งแบบสด คนที่อยากจะอ้วนเพราะจุลินทรีย์/หรือยีสต์มันจะเป็นตัวเปลี่ยนสารอาหาร เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลทำให้ร่างกายได้รับ(เปลี่ยนเป็นไขมัน) มากขึ้น แต่ร่างกายเวลาเราบกพร่องมันก็เลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกนี้ได้ น้ำผึ้งชันโรงสดมี “ยีสต์”สูงมาก เวลาเรากินอาหารเข้าไปแล้วกินก่อนหรือว่าหลังอาหารก็ดี มันจะช่วยเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลได้สูงขึ้น มันต่างกับแบบบ่มที่เหลือแต่ “เอนไซม์” จุลินทรีย์มันน้อยแล้วเพราะว่ามันหมักบ่มไป 365 วัน ไม่มีอากาศ จะเหลือแต่ “กรดอะมิโน” ซึ่งให้มอง 2 แบบนี้ก่อนว่าเวลาจะกิน ควรกินแบบไหน ถ้าคนที่ต้องการจะออกกำลังกายแล้วปรากฏว่าน้ำหนักค้าง อย่างตนเองเคย ออกกำลังกายโดยปั่นจักรยานหรือจ๊อกกิ้งก็ดีเพื่อคาดหวังว่าให้น้ำหนักมันลงตามที่เรากำหนดเอาไว้ สุดท้ายมันค้างอยู่เท่านั้นมันไม่ยอมลง แต่ออกกำลังกายเท่าเดิม ก็เลยลองกินน้ำผึ้งชันโรงบ่มอยู่ระยะหนึ่ง สองเดือนผ่านไปน้ำหนักลดลงไป 4 กก. มันช่วยให้น้ำหนักที่ค้างอยู่ลดลงได้ “ผมก็เลยแบ่งปันให้ฟังว่าถ้าเจตนา เพื่อความอร่อยให้ทานกลุ่มที่ 3 ปลอดภัยแน่นอนหรือว่าใครจะรับจากกลุ่มไหนเอาไปจำหน่ายต่อกลุ่มนี้ปลอดภัยไม่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทาง สำหรับคนที่รักสุขภาพมีความเจาะจงจริง ๆ ไม่ต้องการน้ำตาลมุ่งประเด็นไปเรื่องสุขภาพจริง ๆ เลยก็คือมากลุ่มที่2 คือแบบหมักบ่ม อย่างกลุ่มที่ 1 เลยก็กินอร่อยวิตามินสูง ผมถือว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสำหรับคนที่ต้องการความฟิต ผมว่าดีที่สุดนะ แต่จะเหมาะมากกับคนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักเวลาทำน้ำหนักเพิ่ม ครับ 3 อย่างนี้”

ขวดนี้หมักบ่มในที่มืดจะได้สารสีเหลืองหรือมีฟลาโวนอยด์อยู่สูง
จริง/เท็จ เป็นอย่างไร น้ำผึ้งชันโรงใช้รักษาโรค “มะเร็ง”?
คุณแมนเล่าให้ฟังว่า ตนเองเคยเป็น “มะเร็ง” ขนาด 15 ซม.x 19 ซม. ที่ตับด้านขวา เป็นผู้ป่วยมะเร็งมาก่อนแล้วและก็ผ่าตัดออกไปแล้ว แต่ต้องเจอหมอทุกปี(เจอหมอทุก ๆ 6 เดือน 8 เดือน)“จนมาเมื่อ 5 ปีก่อนเกือบ 6 ปีที่แล้วผมเป็นมะเร็งรอบที่ 2เป็นที่ตับเหมือนเดิมในขนาดแค่ follow up ติดตามหมอนัดตรวจสุขภาพหลังเจอก้อนที่ผิดสงสัยแล้วเนี่ย แค่ 1 เดือนมันโตขึ้นมาเป็น100% หลังจากนั้นผมก็มีอะไรในบ้านบ้าง ปกติแล้วผมไม่กลัวนะเพราะว่าเรารักษามะเร็งเนี่ยเรายอมรับว่ามันหนักมาก แต่มันจะกลายเป็นเบาเนื่องจากความคิด สิ่งแรกเลยคนเป็นมะเร็งจะตายเพราะความคิดตัวเองก่อนนะครับ และก็ตายเพราะผู้หวังดีรอบข้าง เพราะคนเป็นมะเร็งปุ๊บน่ะคนโน้นก็หวังดีคนนี้ก็หวังดีมีสารพัดประเคนมาให้เรานะ ทั้งคนฉวยโอกาสบ้างอะไรบ้างผมก็โดน เราเข้าใจตรงนั้น แต่สุดท้ายแล้วเราต้องปรับความคิดก่อน พอเราปรับความคิดได้ รู้ว่าจะอยู่ไปเพื่ออะไร มันคุ้มค่ามั้ยกับการมีชีวิตอยู่ พอเราพลิกความคิดเราได้นะเราก็จะเริ่มหาวิธี เราก็เริ่มสกรีนเอาวิธีที่เราแบบเหมาะกับเราแล้วกัน คือทุกวิธีผมว่ามันน่าสนใจหมดแหละมันดีหมดแหละ แต่เราเอาที่เราทำได้และเหมาะกับอาชีพหรือว่าการใช้ชีวิต ณ ตอนนั้น”พอเริ่มเป็นปุ๊บในรอบ 2 ก็ไม่ค่อยมีความเครียดอะไรมาก ก็เริ่มเอา “น้ำผึ้งชันโรง” ที่ตัวเองมีอยู่ เลี้ยงแต่ไม่ได้กิน ต้องบอกตรง ๆ เลยว่าไม่ศรัทธา เพราะเคยซื้อมากินแล้วมันไม่อร่อย เราเคยกินแต่น้ำผึ้งที่มันอร่อย เราไม่มีเจตนาที่จะเอามารักษาตัวเรา กิเลสเราคือความอร่อย พอเรากินโอ้โหน้ำผึ้งอะไรมันห่วย! เปรี้ยวชิบเลยนึกในใจ ก็ไม่กินตั้งไว้อย่างนั้นมา จนมีตั้งหลายขวดเพราะว่าเริ่มเลี้ยงชันโรงพันธุ์ที่มีขนาดตัวใหญ่ “แต่พอสุดท้ายพอเราป่วยเฮ้ยมันเป็นทางเลือกหนึ่งนะ เราก็หายมาจากการกินอาหารนึกในใจ เพราะว่าผมเองไม่ปฏิเสธการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ผมก็รักษาตัวด้วยให้คีโม แล้วพอมาเป็นรอบสองเนี่ย ผมก็หยิบน้ำผึ้งที่ตัวเองกินแล้วมันห่วยแตกมันไม่อร่อยเลยเนี่ยนะครับ ปรากฏว่ามันต้องจำใจกินแล้วเพราะเราไม่อยากจะไปเข้าแผน เราขอเป็นสิ่งแรกที่เราช่วยตัวเองก่อน”

ผึ้งชันโรง
เพราะไม่อย่างนั้นเราต้องกลับไปแบบเดิม ไปนอนให้คีโม กินส้ม ออกกำลังกาย กินผัก กินปลานึ่ง ไม่เอา! ขอสตาร์ทด้วยสิ่งนี้ลองดูก่อน ก่อนที่จะไปเข้าแผนหมอ “ปรากฏว่าพอไปสตาร์ทเดือนแรก ก็มีความทรงตัว พอ4 เดือนมันหายไป!!!” ในตอนแรก ๆ
ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการกินน้ำผึ้งตัวนี้เลย ก็จะกิน “ก่อนนอน” กับ “ตอนเช้า” แต่กินตอนแรกเลยไม่มีตำรากินจนเสียวฟันไปหมดเลยเพราะมันเปรี้ยว กินในปริมาณที่เยอะไปก็ท้องเสีย เลยปรับปริมาณมาที่เหมาะสมก็คือ กินประมาณสัก 5 ml ไม่เกิน 10 ml ต่อ 1 ครั้ง ปรากฏว่ามันเป็นปริมาณที่ดีที่สุดเพราะตอนนั้นมันไม่มีตำราเลยในการกิน มันมั่วตั้วไปหมด ปรากฏว่าพอเรากินมากเราถ่ายเหลว ไม่ได้! ต้องปรับปริมาณสุดท้ายพอในครอบครัวกินที่เหมาะสมก็คือ ประมาณสัก 5 ml เหมาะสมที่สุด ตอนเช้ากับตอนก่อนนอน เพราะตอนก่อนนอนร่างกายเราจะพักผ่อนแล้วก็ได้กินพวกนี้เข้าไป แล้วก็ใช้วิธีการดื่มน้ำเปล่ากลั้วปากแล้วก็นอน พอถึงตอนเช้าสิ่งแรกที่จะลงท้องก่อนเลย ก็คือน้ำผึ้งชันโรงแล้วก็ตามด้วยน้ำเปล่า แล้วก็เข้าห้องน้ำอาบน้ำทำกิจกรรมอย่างนี้ทุกวัน ไม่ได้กินมากอะไรไปกว่าปกติไม่ได้กินมากอะไรไปกว่านี้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันวินัยการกินน้ำผึ้งชันโรงก็คือ กินวันละ 2 ครั้งแค่นั้น “หลังจากนั้น 4 เดือนไปพบหมอเรื่อย ๆ ปรากฏว่าเฮ้ย! หมอสนิทกันนะครับ มันหายไปแล้ว! เพราะว่าเราเจอกันมานานหมอก็เลยพูดแบบกันเอง เรา follow up กับหมอมานาน มันหายไปแล้ว! แทนที่ว่าจะต้องเข้าสู่ระบบการรักษาแบบเดิม ผมก็ว่าเฮ้ยมัน Wow ว่ะ! พอหมอบอกมันหายไปแล้ว”อันนี้เป็น “จุดประกาย” ที่ทำให้เริ่มกลับมาศึกษาอย่างจริงจัง เริ่มท่องเที่ยวภาคใต้เริ่มไปดู เริ่มจะหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ แล้วมาทำเป็นฟาร์มจริงจังถึงในปัจจุบัน

การทำงานผลิตน้ำหวานภายในรังเลี้ยงผึ้งชันโรง

รังเลี้ยงชันโรง
กรรมวิธีการกว่าจะได้มา “น้ำผึ้งชันโรงบ่ม” สู่อาหารเป็นยา
คุณแมนเล่าให้ฟังด้วย ในหลาย ๆ โหลที่เห็นวางตั้งเรียงรายกันอยู่ จะหมักบ่มไว้แล้ว สำเร็จแล้ว และก็หลาย ๆ โหลก็ยังอยู่ในขั้นตอนอยู่ บางโหลที่เห็นว่ามันยุบไปคืออายุเขาจะเกินอายุบ่มไปแล้ว เกิน 365 วันไปแล้ว แต่บางโหลที่ยังไม่ได้เปิดก็ยังไม่ครบ 365 วัน ก็เลยยังไม่เปิด“จริง ๆ แล้วมันไม่ได้มีอยู่แค่นี้นะครับ ในห้องและก็ในหีบไม้เนี่ยที่เราเห็นเนี่ย หีบเนี่ยจะมีเป็นร้อยๆ ลิตรในแต่ละหีบ ผมก็จะทำปีหนึ่งเนี่ยอยู่ประมาณ 400 ลิตร” อย่างในโหลนี้ก็จะเป็นพันธุ์ชวอซ (Tetragonula paqdeni Schwarz) บ่มตั้งแต่วันที่ 30 เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 อันนี้คือผ่านมาแล้ว 1 ปี พร้อมจำหน่ายแล้ว อย่างสายพันธุ์นี้แบ่งปันกันถ้าเป็นเด็ก ๆ จะชอบทานสายพันธุ์นี้มากกว่า เพราะจะมีความหวานอันนี้จะเหมาะกับเด็ก เพราะเด็กไม่ชอบรสเปรี้ยว แต่ถ้าคนที่ชอบรสเปรี้ยวอมหวานก็จะเป็นพันธุ์อิตามาซึ่งก็จะมีการระบุเอาไว้ถึงแหล่งที่มาของน้ำผึ้งด้วย เพราะว่าตนเองจะมีพาร์ทเนอร์หรือว่ามีแหล่งที่ไปหุ้นเลี้ยงกับเขาด้วยในที่ต่าง ๆ“อย่างอันนี้เป็นของส่วนตัว ก็คือเป็นรากโคลงเคลงเพราะว่าโคลงเคลงเนี่ยเป็นสมุนไพรที่กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเขาเขียนระบุไว้เลยว่ามันเป็นยารักษามะเร็ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่มีใครกล้าการันตีแบบนี้เลยนะ แต่นี้พอเขากล้าเขียนไว้ผมก็มีความมั่นใจว่าถ้าอย่างนั้นมันก็ถ้ากรมเขากล้าเขียนในนี้ เราก็น่าจะใช้ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาหารหลายอย่างมันก็จะเป็นอาหารเขาเรียกว่า ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ก็คือสารต่อต้านมะเร็งทางอ้อมอยู่แล้ว กรดอะมิโนพวกนี้ก็เหมือนกัน อันนี้ผมก็บ่มไว้ปนกับกล้วยไม้สีดำ อันนี้เอาไว้ทานเอง”


อันนี้ก็จะเป็นน้ำผึ้งชันโรงที่บ่มมาของพันธุ์พาลาติก้า “ปากหมู” อันนี้มีงานวิจัยรองรับอยู่ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ถ้าส่วนตัวเองถ้าหมักบ่มแล้วจะแนะนำให้คนที่เป็นโรคมะเร็งดื่ม“เพราะว่าผมเองตอนที่ผมเป็นโรคมะเร็งรอบ 2 ผมก็ทานตัวนี้นะ โดยส่วนตัวเลยนะเพราะตอนนั้นเป็น 3 มิล 6 มิล ภายในแค่เดือนเดียว แล้วหมอต้อง follow หลังจากที่หายไปแล้ว 11 ปี ผมก็กินตัวนี้อยู่ 4 เดือน แล้วมันก็หายไป ผมก็กินตัวนี้โดยส่วนตัวนะ” หรืออย่างอันนี้ที่เขียนไว้ AA คือจะเป็นน้ำผึ้งที่ค้างรังไว้นานเพราะฉะนั้นเวลาที่ค้างรังนาน ๆ หลายคนจะบอกว่าดี แต่จะบอกเลยว่าน่าห่วง! เพราะว่ากลัวว่ามันจะมีเชื้อโรคจากรังผุ ๆ มีเยอะมาก จะต้องมาลงกรองเพื่อกรองเอาพวกเศษวัสดุต่าง ๆ กรองเอาฟองต่าง ๆ ออกไปให้ได้มากที่สุดก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนของการบ่ม แล้วต้องบ่มอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป อย่างอันนี้ก็คือตั้งแต่ปี 2564“เพราะว่าส่วนตัวแล้วเราไม่ได้ทำเพื่อจำหน่ายโดยตรง เราทำเพื่อบริโภคแล้วก็แบ่งกับคนใกล้เคียงเท่านั้นเองนะครับ”

บางตัวมันต้องใช้น้ำหวานเก่าที่บ่มค้างปีมาแล้วมาบ่ม เพราะใช้น้ำหวานใหม่ไม่ได้เพราะว่าสมุนไพรบางอย่างมีความเป็นยาอยู่สูง อย่างเช่น รากโคลงเคลงถ้าเราเอาน้ำหวานสดไปใส่จุลินทรีย์ตายหมดยีสต์ตายหมดอยู่แล้ว มันไม่เกิดฟองแต่ถ้าเป็นพวกนี้เขาจะเกิดฟองของสดต้องการยีสต์ให้มันทำงาน แต่พอเป็นรากโคลงเคลงมีความเป็นสมุนไพร/เป็นยาสูง เชื้อจุลินทรีย์เชื้อยีสต์ตายหมด “ผมเองจะเน้นวิธีการหมักบ่มเป็นหลัก ใช้ทานสดเป็นบางช่วงเวลาเราทำหรือเราไปเก็บมาจากในฟาร์มของเราเองหรือว่าของเพื่อน ๆ เราเองอย่างเงี้ยถ้าพันธุ์ที่เราชอบเราก็จะเอามาใช้ทานสดเพราะว่าการทานสดมันจะได้รส กลิ่น ที่แบบแตกต่างเหมือนเรากินกาแฟ ในแต่ละพันธุ์ ในแต่ละรสชาติ ในแต่ละกลิ่น น้ำผึ้งมันมีเสน่ห์แบบนั้น เวลาเรากินเนี่ยเราจะได้รส กลิ่น ที่แตกต่างออกไปในแต่ละเขตไม่เหมือนกันนะครับ”ถ้าหมักบ่มคือต้อง 1 ปีขึ้นไป ด้วยความที่เราเองยังไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติมก็เลยยึดเอาจากงานวิจัยที่มีอ้างอิงไว้เป็นหลักก่อน ในอนาคตถ้ามีเวลามากกว่านี้วางมือจากธุรกิจหลักที่ทำอยู่ลงได้แล้ว ก็คิดว่าจะศึกษาเพิ่มเติมอีกว่าจริง ๆ แล้วแต่ละช่วงเวลามันมีความปลอดภัยมากขึ้นหรือไม่อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นน้ำผึ้งชันโรงแบบค้างขอนเก่า ๆ มาถ้าเราแบ่งเป็นหลาย ๆ เซคชันแล้วเราเอาไปตรวจสอบต่างระยะเวลากัน มันมีความปลอดภัยมากน้อยอย่างไรบ้าง หรือเชื้ออะไรมันหายไปบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่สนใจมาก แต่ยิ่งนาน ยิ่งดี เพราะว่ายิ่งนานมันจะได้ให้ “สารสำคัญ”สูงมาก

ดอกไม้ที่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้านของหมู่บ้านจัดสรรสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารให้กับชันโรงที่เลี้ยงได้อย่างดี
“ก่อนที่จะลงโหลเนี่ยเราไม่พูดถึงการนึ่งโหลการอะไรแล้วนะ เราหมายถึงเราเตรียมตรงนั้นเสร็จหมดแล้ว พอน้ำผึ้งมาเนี่ยพอเราคัดน้ำผึ้งเสร็จแล้ว เราต้องมาเทน้ำผึ้งสูง ๆ เพื่อที่จะไล่ฟองก่อน ในการเทน้ำผึ้งสูง ๆ เนี่ยมันจะเพิ่มออกซิเจนพอมันเพิ่มออกซิเจนมันจะเกิดการปล่อยฟอง คายอากาศออกมาเยอะเลย การแลกเปลี่ยน C02 กับออกซิเจน มันก็จะกำจัดสิ่งสกปรกพวกฝุ่นขนาดเล็กต่าง ๆ ให้มันติดอยู่กับฮันนี่บอล หรือว่าฟองของน้ำผึ้งชันโรง แล้วก็พักมันไว้สักระยะหนึ่ง อาจจะเป็นสัก 2-3 สัปดาห์หรือถ้าเราใจเย็น ๆ ได้อาจจะเป็นสักหนึ่งเดือนเลยก็ดี แล้วเราก็เอาฟองพวกนี้ออก กรองออกมาครั้งหนึ่งแล้วเราก็มาเข้าโหลบ่มในรอบที่สอง” รอบแรกไม่ได้ปิดฝาสนิทเพราะต้องการให้อากาศมีการแลกเปลี่ยนก่อน มันก็จะเกิดฟองในการคายแก๊สทำปฏิกิริยากันเยอะ ๆ ก่อน พอฟองมันออกมาเยอะเรากำจัดฟองเสร็จแล้วกรองรอบใหม่แล้วก็จะไปหมักบ่ม โดยกำหนดเอาว่าเราจะหมักบ่มใน เราจะเอาชนิดสีแบบไหน เราจะเอาสีสวย ๆ ใส ๆ ก็เอาไปวางไว้ในที่มืดหน่อย ถ้าต้องการได้สารธรรมชาติแสงธรรมชาติ “แอนโธไซยานิน” ดี ๆ เราก็ไว้ตามธรรมชาติได้ ใช้แสงในห้องตามปกติ จากนั้นก็จะใช้วิธีการไม่ให้อากาศเข้าแต่ให้คายแก๊สออกโดยใช้ระบบของการบ่มไวน์เข้ามาช่วย ซึ่งการบ่มไวน์จะทำให้ได้กรดเยอะเพราะว่ามันปล่อยแก๊สออกจุลินทรีย์ที่มันไม่ต้องการอากาศ มันก็จะทำงานพอมันทำงานมันก็จะกินน้ำตาล แต่เราก็ต้องดูระยะเวลาด้วยว่าเวลาเราบ่มไปมันจะมีบางโหล ที่บ่ม1 ปีได้เพราะว่าจุลินทรีย์หรือยีสต์มันตาย แต่บางโหลยีสต์มันแข็งแรงมากพอเหมือนกับมันจะหยุดแล้วแต่พออากาศชื้นหน่อย มันบูมขึ้นมาอีกเพราะฉะนั้นระยะเวลา 1 ปีเราเอามันไม่อยู่ คือถ้ายีสต์มันยังอยู่เมื่อไหร่เราก็ถือว่าคนกินก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ เราจะต้องให้มันหยุดจริง ๆ ต้องมีเวลาอย่างบางโหลเคยทำถึง1 ปี 6 เดือนหรือ 1 ปี 7 เดือนก็มี แต่พอยีสต์สยบเสร็จเราก็มากำจัดฟองเพราะว่ามันจะมีซากของยีสต์ตาย ต้องเอามากรองอีกครั้งหนึ่ง พักไว้ปิดสุญญากาศอยู่ แล้วกรองอีกเป็นครั้งสุดท้าย(เท่ากับว่ากรอง4 ครั้ง) เพื่อที่ว่าเราจะเอาขยะของยีสต์ออกไปโดยจะใช้ตระแกรงกรองที่มีความถี่ เสร็จแล้วถึงจะบรรจุลงขวดเพื่อแบ่งปันหรือจำหน่ายต่อไป


ราคาซื้อขายพุ่งถึงหลักแสน! แต่ไม่เน้น อยากแชร์สุขภาพดีมากกว่า
“ถ้าเราไปต่างประเทศ เราจะเห็นว่าประเทศที่มีความชอบทาง Herb ทางสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นเกาหลี จีน ญี่ปุ่น พวกนี้ น้ำผึ้งชันโรงค้างปีหรือน้ำผึ้งของเขาแพงมาก ยิ่งเก่าเก็บนานแพงมาก! คุณค่าต่าง ๆ ก็พีคขึ้นไปแล้วเวลาเขาไปเข้ายาแล้วยิ่งนานมาก
“สี” จะเปลี่ยนไปมากอย่างบางประเทศ ที่ผมเคยพูดบ่อย ๆ ว่าชั้นล่างเนี่ยราคาหลักร้อยของใหม่ ๆ พอสูงขึ้นมาราคาหลักพัน สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหลักหมื่น หลักแสน มันมีหลายราคามากเลย เพราะฉะนั้นกำลังซื้อน้ำผึ้งที่จะไปเข้ายาแต่ละคนก็บ่งบอกฐานะ อย่างประเทศจีนหรือว่าเกาหลีอย่างเงี้ยเป็นแบบนั้นจริง ๆ”
แล้วก็มีตัวอย่างว่าเก่าแล้วมันจะเป็นยังไง ตัวนี้เป็นน้ำผึ้งเก่ามากที่ตัวเองยังไม่กล้ากินได้มาจากชาวบ้าน เขากินอยู่ ก็เลยขอเขามาเพราะว่าเขาบอกมันกินเหมือนยาเลย คือถ้ากินเหมือนยาบอกได้เลยว่าน้ำผึ้งค้างขอนมันต้องอยู่แบบนานมาก! หลักแบบ 40-50 ปี 60 ปีขึ้นไปแบบนั้นเลย“จะเห็นว่าจากขวดใส ๆ กลายเป็นสีแดงอันนี้คือ สารแอนโธไซยานิน สารสีม่วง สีแดง สูงมากเวลาเราเจ็บป่วย มีการบอบช้ำภายใน มีการอักเสบภายใน เป็นนักกีฬาหรือว่าช้ำใน(นักมวย) อะไรพวกนี้ ทานของพวกนี้มันจะช่วยยับยั้งเรื่องการอักเสบได้ดีมาก”แล้วสีของการหมักบ่มก็จะเปลี่ยนไปตามระยะเวลาแบบที่เห็นอันไหนอายุมากสีก็จะเปลี่ยนไป“ส่วนบ่มในที่มืดก็จะมีความต่างออกไป อันนั้นเป็นการเขาเรียกว่าเล่นสีเพื่อจะสร้างสารสำคัญออกมาคนละกลุ่ม อย่างอันนี้พอเราบ่มออกมาจะได้อีกสีหนึ่ง บ่มในที่มืด ถ้าเราหมักบ่มด้วยวิธีการเดียวกันเราจะได้กรดอะมิโนเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันตรงในเรื่องของชนิดของกรดว่า พวกจุลินทรีย์ที่ได้แสงกับที่ไม่ได้แสงมันก็จะมีการให้สาระสำคัญที่ต่างกันไป อย่างอันนี้ฟลาโวนอยด์(สารสีเหลือง) กับสีแดงเมื่อกี้ แอนโธไซยานินมันก็คนละตัวกัน”

อีกบทบาทที่สำคัญของชันโรงคือ การช่วยผสมเกสรทำให้ไม้ผลเพิ่มอัตราการติดลูกดกอย่างเห็นได้ชัดเจน
บางคนที่บอกว่าทำไมเราต้องมีการพูดคุย เหตุผลเพราะว่าบางคนป่วย ทานโพแทสเซียมสูงทานมะละกอไม่ได้ ทานส้มไม่ได้เพราะเป็นผลไม้มีโพแทสเซียมสูง คลอไรด์สูงก็มีความเค็ม เพราะฉะนั้นน้ำผึ้งบางโซนที่มามันมีความเค็ม มันเค็ม ถ้าเกิดว่าเราไปเจอกับคนที่เป็นโรคไตบางทีเราก็ ยังไม่กล้านะที่จะให้เพราะว่า ความเค็มมันก็ฟ้องใช่มั้ย คือคลอไรด์กลุ่มหนึ่ง ถึงมีผลงานวิจัยเขาทำไว้ถึงระดับความเค็มมันเกิดจากอะไร เราไม่ใช่เกลืออันนี้เราก็จะปลอดภัย แต่ทุกวันนี้เรายังไม่รู้ก็เลยไม่กล้าที่จะให้เพราะฉะนั้นเหตุผลที่ต้องมีการพูดคุยก่อนมันจะมี ความเค็ม ความเปรี้ยว ความหวาน ความหอม ต่างกันเพราะฉะนั้นเวลาทานต้องมีความรู้นิดหนึ่ง

“ผมจะมีการบ่มแบบให้เขาเรียกว่าเกิด การคายก๊าซน้อยที่สุดเพื่อที่จะตกผลึกของน้ำตาลฟรุกโตสผมมีอยู่1 โหลที่อยากจะอวด ก็คือโหลนี้ผมบ่มแบบว่าให้เกิดการคายก๊าซน้อยที่สุด ความหนาแน่นในโหลมันสูง จนมันเกิดเป็นตะกอนน้ำตาล แล้วกรดอะมิโนเนี่ยมันก็จะอยู่ด้านบนหมดเลย อันนี้ผมแยกไปแล้วนะแต่นี่มันกรดอะมิโนมันเกิดใหม่เรื่อย ๆ อันนี้เป็นน้ำตาลทั้งหมด(ชั้นล่าง) ฟรุกโตสที่มันตกลงมาด้านล่าง อันนี้ผมเคยทานแล้วเอาไว้ดีท็อกซ์ร่างกายเพราะว่า ทาน 1 ช้อนผสมกับน้ำอุ่นนะ ถ้าวันนั้นเราไม่ได้ไปไหนนะวันนั้น 2-3 รอบ สบาย ๆ หมดไส้หมดพุงดีมาก แต่มันไม่เรื้อรังไม่เหมือนกับอาการท้องเสีย อันนี้ผมก็ใช้ส่วนตัวใช้ในการดีท็อกซ์ร่างกายผมจะทำได้แค่ปีละครั้ง เพราะว่าทำจากลูกจันทน์”อันนี้คือประโยชน์ที่บอกว่าเวลาเราหมักบ่มแล้วสิ่งที่เราได้ก็คือ ความเปรี้ยวจากกรดโดยตรง

“จริง ๆ แล้วเนี่ยผมอยากจะให้คนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ อาจจะไม่ได้ป่วยก็ได้ แต่บางคนก็เป็นนักกีฬาอย่างเงี้ย หรือว่าเจ็บป่วยหรือว่ามีอาการอะไรที่มีความคาดหวังว่า “อาหารเสริม” จะช่วยได้ แล้วปรากฏว่ามี “น้ำผึ้งชันโรง” เป็นโจทย์ตัวหนึ่งในอาหารเสริมกลุ่มนั้น แต่ที่ต้องการที่ปรึกษาสักคนหนึ่งที่ให้มุมมองหลาย ๆ อย่างอันนั้นคือ Lullaafarm อยากจะให้มาคุยกันก่อนเพราะว่า ผมเองเนี่ยอยากจะสื่อถึงมุมมองที่มันเป็นจริง ว่าเวลาท่านทานท่านจะได้อะไร สิ่งที่ท่านจะได้มั้ยที่ท่านคุยกับผมเนี่ยต้องการสิ่งโน้น อันนี้มันไม่ใช่ อันนี้มันใช่ อันนี้มันทำได้หรืออันนี้ผมไม่รู้ อย่างเงี้ยผมก็จะตอบไปตามความจริง แล้วผมต้องการจะรู้สึกถึงรายละเอียดว่าเขามีโรคประจำตัวอะไรมั้ย ผมไม่อยากเป็นผู้ร้ายโดยที่ทำร้ายเขาโดยไม่เจตนา” อย่างเช่นบางคนเป็นโรคไตมาถ้าเราไม่รู้ข้อมูลเลย บางทีเราอาจเอาน้ำผึ้งชันโรงบางตัวที่มีความเค็มไปให้เขาก็ได้ หรือว่าน้ำผึ้งบางตัวโพแทสเซียมเขาสูงหน่อย อย่างเงี้ยมันก็เป็นอันตรายกับเขา“เจตนาของLullafarm ก็คืออย่างแรกเลยอยากจะ แบ่งปันให้กับคนที่รักสุขภาพคุยกันก่อนนะครับ เพราะว่าผมเองถ้าใครไม่ให้เบอร์โทรนะหรือใครไม่คุยกับผม ผมจะไม่ขายสินค้าให้เลย เพราะว่าผมกลัวผมกลัวคุณจะเสียเงินเปล่า ๆ แล้วผมก็ไม่ได้มีเจตนาเพื่อทำสิ่งนี้มาเพื่อจะตอบโจทย์เรื่องกิเลสเรื่องของการเงิน เพราะผมมีธุรกิจหลักของผมอยู่แล้วสิ่งที่ผมทำ ผมทำเพราะรัก หนึ่งมาตรฐานที่ผมทานเนี่ยผมจะพูดประจำเลยว่า มันเป็นสิ่งที่ผมทานมาตรฐานเดียวกับคุณ ลูกผม เมียผม พ่อแม่ และก็ยายของผม กินมาตรฐานเดียวกับคุณ ไม่ได้ต่างกันเพราะฉะนั้นคุณจะบอกผมสะอาดหรือไม่สะอาดผมไม่รู้ แต่ผมก็ทำเพื่อตัวผมและคนที่ผมรักทุกคนเหมือนกับที่คุณทานที่บ้านนั่นแหละ ผมไม่ได้ว่าทำของคุณอย่างหนึ่งทำของผมอย่างหนึ่ง ไม่เลยมันมาตรฐานเดียวกัน”

ทุกบ้านจะมีต้นไม้และมีดอกไม้ที่ปลูกไว้เป็นแหล่งอาหารให้กับผึ้งชันโรงได้อย่างดี
How-to การเลี้ยงผึ้งชันโรง คนเมืองก็ทำได้
คุณแมน-กฤตภาส พรามพิทักษ์ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงผึ้งชันโรง “Lullaafarm” จ.กาญจนบุรี ยังได้แนะนำสำหรับคนที่มีความสนใจเรื่อง “น้ำผึ้งชันโรง” อยากดูแลสุขภาพของตัวเองรวมทั้งยังสามารถเลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อผลิตน้ำหวานหรือว่าน้ำผึ้งชันโรงไว้บริโภคเองได้ไม่ยากเลย “ถ้าเป็นอยู่ในกลุ่มบ้านจัดสรรอันนี้ผมแนะนำให้เลี้ยง เพราะว่าหมู่บ้านจัดสรรเนี่ยมีต้นไม้มีดอกไม้ทั่วไปอยู่ทุกบ้านอยู่แล้ว และไม่มีใครฉีดยาในบ้านตัวเองนะครับ ส่วนเรื่องความกังวลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมพันธุ์ที่จะเลี้ยงได้ก็คือขนเงิน (หรือ Schwarz) เป็นพันธุ์ตัวเล็กเป็นพื้นฐานที่จะเลี้ยงได้ สัก 4-5 รังภายในบ้านเราก็จะเก็บน้ำหวานได้ปริมาณนี้ (1เหยือก/รอบ) ในหมู่บ้านจัดสรรเลี้ยงได้เพราะว่าเลี้ยงขนาด 4-5 รัง มันจะมีดอกไม้สลับช่วงฤดูกาลแล้วเขาใช้น้ำหวานไม่เยอะแต่เขาใช้เกสรเยอะ เพราะฉะนั้นดอกไม้เวลาปลูกเนี่ยจะเป็นดอกไม้ที่มีเกสรเยอะอยู่แล้วเป็นหลักในหมู่บ้าน น้ำหวานจะน้อยเพราะพฤติกรรมเขาเก็บเกสร 80 : น้ำหวาน 20 พอมาถึงเดือนกุมภาอย่างเงี้ยก่อนจะเข้าฤดูร้อน มกรา-กุมภาเราเริ่มเก็บน้ำหวาน ก็เต็มรังพอดี”ไม่ต้องห่วงไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารยังไงก็เพียงพอ ไหนจะเป็นต้นไม้ตามเพื่อนบ้านที่อยู่ตามข้าง ๆ บ้านเราไม่มีใครฉีดยาเพราะว่ามันไม่มีสวนเกษตร แล้วในหมู่บ้านจัดสรรจะมีปัญหาเรื่องของการฉีดปลวกหรือว่าฉีดยาป้องกันยุงลายก็ดีอันนี้ทางหมู่บ้านจะแจ้งเราก่อนอยู่แล้ว ก็สามารถปิดรังได้แล้วโยกย้ายมาไว้ในบ้านได้สัก 2 วันแล้วค่อยยกออกไปวางตามเดิม เอารังเดิมตั้งที่เดิม เลี้ยงได้อยากจะส่งเสริมให้เลี้ยงเหตุผลเพราะว่า มันช่วยบำบัดจิต คุณแมนเน้นย้ำว่าตนเองขอบัญญัติคำนี้ขึ้นมาเลย“ผมรู้สึกตัวเลยว่าเวลาเราทำธุรกิจมันมีความเครียด และเพื่อน ๆ ผมเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมอยู่หลายภาคหลายจังหวัดทุกคนมีความเครียด แต่พอได้เลี้ยงชันโรงแล้วเขาหลงรัก และเขาทุ่มเท ผมถามเหตุผลเขาว่าเพราะอะไร เขาบอกว่าได้ดูมันแล้วสบายใจ รัก ชอบ แล้วรู้สึกสงบ ดีกว่าการรดน้ำต้นไม้เยอะเลย เพราะว่าทุกคนเวลาทำงานเสร็จรดน้ำต้นไม้เราว่าสบายใจแต่เขาบอกว่า เนี่ยคือการพักผ่อนได้ดูชันโรงบินเข้า-ออกรัง มันสบายใจกว่าการรดน้ำต้นไม้ซึ่งผมก็คิดเช่นนั้น ผมก็เลยบัญญัติคำขึ้นมาคำหนึ่งว่ามันเป็นแมลงบำบัดจิต ผมจะพูดเรื่องนี้มาหลายปีแล้วคนที่เลี้ยงจะได้ความสงบถ้ามีรังอยู่หน้าบ้าน อยู่ตรงไหนสักที่หนึ่งที่เราสามารถนั่งมองมันได้จิบกาแฟหรือกลับมาจากงาน แล้วเห็นรังมันนะแจ๋ว”


แรงบันดาลใจในการนำเสนอเรื่องราวของ“น้ำผึ้งชันโรง” ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากทีมรายการ “ชีวิตใหม่” ได้พบกับผู้ประกอบการท่านหนึ่งซึ่งในระหว่างการเข้าไปทำงาน(ถ่ายทำรายการเกี่ยวกับธุรกิจที่เขาทำอยู่) แล้วมีโอกาสได้ทราบว่าเขากำลังป่วยเป็น “มะเร็ง” ที่เต้านมซึ่งอยู่ในระยะที่น่ากังวลมาก ๆ และเชื่อว่าโรคนี้เองกำลังเป็นที่น่าวิตกสำหรับหลาย ๆ คนด้วยเช่นกัน กอปรกับโดยส่วนตัวเองของผู้เขียนที่รู้จักกับคุณแมนมาอย่างยาวนานไม่น้อยกว่า 10 ปีแล้ว ค่อนข้างมีความเชื่อถือ และคิดว่าเรื่องราวจากประสบการณ์ตรงของเขาก็น่าที่จะมีประโยชน์สำหรับหลาย ๆ คน ที่อยากจะดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อห่างไกลจากโรคร้ายดังกล่าว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวในครั้งนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

สามารถพูดคุยปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “Lullaafarm” จ.กาญจบุรี โดยคุณแมน-กฤตภาส พรามพิทักษ์ โทร.089-733-5188 ขอบคุณฟอร์ดประเทศไทย และฟอร์ดเรนเจอร์ Stromtrak พาหนะสุดแกร่งที่นำลงพื้นที่ในครั้งนี้



คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น