xs
xsm
sm
md
lg

“ปาป้า เปเปอร์” ตัวอย่างสินค้านวัตกรรมรับมือ ส่งออกต้องพึ่งฉลากเครดิตคาร์บอน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“รักษ์โลกไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด” รัฐบาล นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ยอมทุ่มงบเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหันมาผลิตสินค้าเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ สินค้าส่งออกได้ต้องผ่านมาตรฐานเครดิตคาร์บอน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วันนี้ พามารู้จักกับผู้ประกอบการที่ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และสามารถส่งสินค้าไปขายทั่วโลกได้ เพราะมีฉลากเครดิตคาร์บอน

นั่นก็คือ ผลิตภัณฑ์ของใช้ทำจากเปลือกข้าวโพด และฟางข้าว ของแบรนด์ ปาป้า เปเปอร์ ของอดีตโปรแกรมเมอร์ ที่ผันตัวเองมาสร้างธุรกิจส่วนตัว และวันนี้ ถ้าพูดถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเปลือกข้าวโพด และฟางข้าว หลายคนก็จะต้องนึกถึงแบรนด์ปาป้า เปเปอร์ เพราะเป็นผู้นำในตลาดนี้ มาช้านาน และยังมีส่วนในช่วยลดภาวะฝุ่น PM.2.5 จากการซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดการเผาของเกษตรกร


นายธนากร สุภาษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์หนังสือ กระดาษ ถ้วย ถุงจากวัสดุธรรมชาติ เศษวัสดุเหลือใช้ อาทิ เปลือกข้าวโพด ไผ่ ฟ่างข้าวภายใต้แบรนด์ PAPA PEPER “ปาป้า เปเปอร์ ” เล่าว่า PAPA PAPER เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์กระดาษ และเยื่อกระดาษจากวัสดุธรรมชาติ เศษวัสดุเหลือทิ้งภาคเกษตร อาทิ ใบข้าวโพด ฟางข้าว กล้วย ไผ่ ปอสา และการรีไซเคิลกล่อง เป็นแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมาประมาณ 5 ปี

“โดยส่วนตัวผมเรียนจบมาด้านวิศวะคอมพิวเตอร์ และปริญญาโท MBA และได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้เรียนมาต่อยอดธุรกิจครอบครัว จำหน่ายสินค้าหัตถกรรม ภาคเหนือ โดยนำความรู้ที่ได้เรียนมาช่วยออกแบบสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของชุมชนที่ครอบครัวนำมาจำหน่าย พร้อมกับช่วยการทำตลาดทางด้านออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ”


อย่างไรก็ดี การแจ้งเกิดแบรนด์น้องใหม่ในตลาด ไม่ใช่เรื่องง่ายเราต้องผ่านการแข่งขันด้านการค้า และราคา ซึ่งครั้งแรกที่ได้นำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่หาได้ในชุมชนมาออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ แต่เมื่อทำการตลาดมาสักพักเกิดคู่แข่งในตลาดเพิ่มมากขึ้น และการแข่งขันด้านราคารุนแรง จนในที่สุดต้องออกจากตลาดนี้ไป

หลังจากนั้น จึงได้มาจับสินค้าตัวใหม่ นั่นคือ การผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ ทำมือ อิงกระแสเรื่องสิ่งแวดล้อม ใช้แนวคิดพัฒนากระดาษเป็น บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ตอนแรกทำกระดาษจากเยื่อสา (ต้นปอสา) แต่ต้นทุนสูง เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จึงปรับมาใช้กระดาษจากเยื่อกล้วย เยื่อไผ่ และใบข้าวโพด นำมาใส่ลวดลายและตกแต่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ สวยงาม และสร้างมูลค่าเพิ่มได้


ทั้งนี้ ได้นำสินค้าของเราไปร่วมออกบูทในงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่ภาครัฐจัดขึ้น และโชคดีที่ได้ลุกค้ามรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น ได้มีการลงทุนเครื่องจักรเพื่อให้สามารถผลิตได้จำนวนตามที่ลูกค้าต้องการ และได้เริ่มทำแบรนด์ PAPA PAPER (ปาป้าเปเปอร์ ) โดยวางตำแหน่งเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เน้นผลิตสินค้าตามมาตรฐานส่งออก นอกจากตลาดต่างประเทศ มียังมีตลาดในประเทศด้วย เช่น โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ

ในส่วนของตัววัตถุดิบที่ใช้ ได้มีการดิวกับทางเกษตรกรใน 8 จังหวัดทางภาคเหนือ เพื่อให้เค้านำวัตถุดิบมาส่งให้กับเรา เช่น เปลือกข้าวโพด ต้นข้าวโพด ฟางข้าว เยื่อไผ่ กล้วย ฯลฯ ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่เหลือทิ้งทางการเกษตร นำมาเพิ่มมูลค่า และช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องเผาเพื่อให้เกิดมลพิษ ฝุ่น PM.2.5 ด้วย ปัจจุบันโรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากวัสดุธรรมชาติของเรา มีกำลังผลิตอยู่ที่ 100,000 ยูนิตต่อเดือน


นายธนากร เล่าว่า จุดหนึ่งที่ทำให้เรายังคงครองความผู้นำในตลาดนี้มาตลอดได้ เพราะราคาและการออกแบบรูปแบบใหม่ที่โดนใจลูกค้ามาตลอด การที่เราสามารถทำราคาได้ ส่วนหนึ่งต้องมาจากการบริหารต้นทุนการผลิตช่วยให้เราตั้งราคาสู้คู่แข่งได้ และการบริหารจัดการสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้ ยังมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยให้เราสามารถที่จะนำสินค้าของเรากลับมารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาผลิตได้ใหม่อีกครั้ง จุดแข็งของเรา ที่ไม่มีผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันทำมาก่อน

ปัจจุบันสินค้าที่เป็นจุดแข็งของเรา เช่น เยื่อกระดาษ กระดาษเปเปอร์ บอร์ด (กระดาษจั่วปัง) ไส้ในของกล่องหรือแฟ้ม กระดาษกันกระแทกทดแทนโฟม ถุงกระดาษ และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เป็นต้น โดยเลือกใช้วัตถุดิบจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน เป็นต้น

ในส่วนของรายได้ของเรามาจาก การส่งออกเยื่อกระดาษ ไปต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป ซึ่งสินค้าที่ผลิตจากโรงงานของเรา ยังได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ เครดิตคาร์บอน  ทำให้สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศไหนก็ได้ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ทำให้แข่งขันได้ เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศมากที่กำหนดว่าสินค้าที่นำเข้าประเทศนั้นได้ต้องมีฉลากเครดิตคาร์บอน


ทั้งนี้ บริษัท ตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปีข้างหน้าธุรกิจจะสามารถทำรายได้ในตลาดต่างประเทศมากกว่า 400 ล้านบาท ซึ่ง 25 % ของรายได้ เราจะกระจายให้แก่ชุมชนในรูปแบบของการรับซื้อใบข้าวโพด และเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษเพื่อส่งออก  สำหรับปี 2567 คาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 10ล้านบาท สัดส่วนจากตลาดต่างประเทศ 60% และในประเทศ40% ขณะที่เทรนด์รักษ์โลกเป็นมิตรกับสื่งแวดล้อมก็ยังคงดำเนินต่อไป เรายังคงครองผู้นำในตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์รักษ์โลกแม้ว่าจะมีแบรนด์ใหม่ๆเข้ามาในตลาด

ติดต่อ facebook : PAPA PEPER ผลิตและส่งออกเยื่อกระดาษสา ข้าวโพด และ IG : papapaper_official
โทร. 099-265-6459


กำลังโหลดความคิดเห็น