xs
xsm
sm
md
lg

“หมอกี้” กูรู อุปกรณ์กันระเบิด ชี้บทเรียนรง.หมิงตี้ ไทยสร้างมาตรฐานระดับโลก ป้องกันก่อนเกิดระเบิดล้างบางทั้งเมือง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หมอกี้ มาดามพลังงาน ผู้นำเข้า และผู้เชี่ยวชาญด้าน การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันระเบิด ออกมาเผยถึง เหตุระเบิดโรงงานหมิงตี้ เป็นบทเรียนให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสนใจ การติดตั้งระบบอุปกรณ์ป้องกันการระเบิดจากสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องได้มาตรฐานโลก ไม่งั้นอาจจะเกิดหายนะโดนระเบิดล้างบางเหมือนเบรุต

อังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ หรือ มาดามพลังงาน CEO บริษัท รีเจน โซลูชั่น แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด กล่าวถึง เหตุการณ์ไฟไหม้ โรงงานหมิงตี้ ว่า ในฐานะที่ตนเองอยู่ในวงการป้องกันการระเบิด( Explosion Proof ) ในพื้นที่อันตราย ( Hazardous Area ) และ ตลาดพลังงานมาเกือบสิบปี และได้ผ่านการรับรับรองเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ด้านการป้องกันการระเบิด(CoCP ) จากสถาบัน IECEx ระดับนานาชาติ ในการควบคุมและป้องกันการระเบิดจากสารไวไฟในพื้นที่อันตราย

ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้จากสารเคมีรั่วไหล ส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์ที่ใช้งานมานาน และขาดการดูแลซ่อมบำรุง ทำให้อุปกรณ์เสื่อมหรือชำรุดได้ หรือ ความผิดพลาดจากการปฎิบัติงาน การซ่อมบำรุงที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนสาเหตุกรณีของโรงงานหมิ่งตี้ กิ่งแก้วในครั้งนี้คาดการณ์ว่า สารเคมีที่ใช้ในการผลิตรั่วไหลออกมาภายนอกถังเก็บปริมาณความเข้มข้นที่สามารถทำให้เกิดการติดไฟได้ และทางโรงงานอาจจะไม่มีระบบตรวจจับและแจ้งเตือนสารเคมีรั่วไหลภายในโรงงาน ทำให้ไม่มีใครรู้เนื่องจากเหตุการณ์เกิดกลางดึก ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่มีคนเข้าไประงับเหตุ ปล่อยให้สารเคมีรั่วไหลออกมาภายนอกจำนวนมาก ซึ่งมีโอการจะไปเจอกับ แหล่งจุดไฟ Ignition Source ที่มีอยู่ทั่วไปภายในโรงงาน

สำหรับ โรงงานหมิงตี้มีวัตถุดิบที่เป็นสารเคมีคือ สไตรีนมอนอเมอร์เป็นของเหลว ไฮโดรคาร์บอน ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 31 องศาเซลเซียส สามารถติดไฟได้ง่ายมาก และด้วยปริมาณสารเคมีที่มีการรั่วไหลจำนวนมาก ทำให้เกิดการระเบิดที่รุนแรง และเปลวไฟได้ลุกลามไปยังถังเก็บสารเคมีถังอื่นๆ ส่งผลให้การดับไฟเป็นไปด้วยความยากลำบาก ด้วยขนาดของโรงงานที่มีสารเคมีกว่า 2,000 ตัน


โรงงานกลุ่มเสี่ยงเกิดระเบิด ต้องบริหารจัดการก่อนเกิดเหตุซ้ำรอย

หมอกี้ กล่าวถึง โรงงานอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ ที่มีสารไวไฟหรือมีโอกาสเกิดการระเบิด เช่น โรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานปิโตรเคมี , แนวท่อส่งแก๊ส, โรงงานสารเคมี ,โรงงานผลิตหรือเก็บวัดถุระเบิด ,โรงงานพลุ , โรงงานพ่นสี , โกดังเก็บสินค้าไซโล , โรงงานแป้งมัน, โรงงานน้ำตาล ,โรงงานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งโรงงานกลุ่มข้างต้นมีสารไวไฟที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิตจำนวนมหาศาล ซึ่งหากเกิดความหละหลวมทางด้านการควบคุมความปลอดภัยจากการระเบิด อาจทำให้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน ซึ่งตัวอย่างการเกิดเหตุการณ์ระเบิดจากทั่วโลกก็มีให้เห็นอยู่จำนวนมาก ซึ่งถ้าจะประเมิณว่ารุนแรงแค่ไหน ก็แอมโมเนียมไนเตรต 2,750 ตัน มีความรุนแรงของแรงระเบิดเท่า ระเบิด TNT จำนวน 3,000 ตัว ซึ่งก็เคยล้างเมือง เบรุตของเลบานอนมาแล้ว เราก็หวังว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย

สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดเพลิงไหม้จากการรั่วไหลของสารเคมี

สำหรับ สิ่งที่จำเป็นที่ต้องรู้ หากเกิดสถานการณ์ไม่คาดคิด ประการแรก คือ ข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ที่จะบ่งบอกลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางเคมี การทำปฎิกริยากับน้ำที่อาจจะก่อให้เกิดความเป็นพิษมากขึ้นในบางชนิด และยังมีข้อมูลมาตรการผจญเพลิง (fire fighting measures) ที่แสดงข้อมูล Extinguishing Media หรือสารที่ใช้ดับไฟที่เหมาะสม รวมถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของสารเคมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันภัยและคำแนะนำอื่นๆในการดับเพลิงสำหรับนักผจญเพลิง การใช้น้ำในการดับเพลิงกับสารเคมีบางชนิดยิ่งทำให้สารเคมีละลายเข้ากับน้ำเป็นเชื้อเพลิงลุกลามในวงกว้างขึ้น

ขั้นตอนการดับเพลิงไหม้ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้ "โฟมดับเพลิง" เท่านั้น เนื่องจากเป็นสารเคมีสำหรับควบคุมเพลิงในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์โดยเฉพาะ และในระหว่างดำเนินการดับเพลิงต้องเพิ่มความระมัดระวังในส่วนของบริเวณที่จัดเก็บวัตถุดิบไวไฟเหล่านี้อีกด้วย ส่วนการเก็บกู้สารเคมี หากพื้นที่นั้นยังมีสารไวไฟก็ยังคงถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงระเบิด หากเกิดความผิดพลาดของอุปกรณ์การกอบกู้หรือความผิดพลาดของผู้ปฎิบัติงาน ก็สามารถเกิดระเบิดได้อยู่ แต่ส่วนความรุนแรงก็แล้วแต่ว่ามีปริมาณสารเคมีหลงเหลือมากน้อยแค่ไหน


กลุ่มลูกค้า รีเจน โซลูชั่น แอนด์ ดิสทริบิวชั่น 

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ทางบริษัทฯ ได้ให้บริการ คัดเลือกอุปกรณ์ในการป้องกันการระเบิดให้กับลูกค้าที่มีพื้นที่อันตรายในโรงงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ามีโอกาสได้ดูแลลูกค้าในกลุ่มพลังงานเกือบทั้งหมด และลูกค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมซึ่งจะมีการทำ PSM (Process Safety Management) หรือ การจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติการณ์และการบาดเจ็บ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง ตามมาตรฐาน ISO 45001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ “ด้านระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย” รวมไปถึงมาตรฐาน OHSAS ซึ่งเป็นระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

อย่างไรก็ตาม ด้วยประเทศไทยเรายังไม่มีการบังคับใช้มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งเป็นกฎหมาย จึงทำให้มาตรฐานการคัดเลือกอุปกรณ์ให้ได้มาตราฐานระดับนานานชาติทั้งหมดยังคงเป็นเรื่องยาก และมักเกิดความหละหลวมอยู่บ่อยครั้ง และเรื่องยากอีกเรื่องหนึ่งคือ โรงงานที่อยู่นอกพื้นที่นิคมฯ ซึ่งยังไม่มีกฎเข้มงวด และแถมยังเป็นโรงงานที่อยู่ไกล้แหล่งชุมชนมากที่สุดด้วย


สำหรับสิ่งที่ประเทศไทย จะต้องต้องแก้ไขคือ ต้องตั้งกฎและข้อบังคับให้ได้มาตรฐานการป้องกันการระเบิดตามหลักของนานาชาติ  ย้ำว่าประเทศไทย ต้องตั้งกฎและปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับในการปฎิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันการระเบิด ตามหลักมาตรฐานระดับสูงหรือระดับนานาชาติ เช่น มาตรฐาน IECEx ( International Electrotechnical Commission System for Explosive Atmospheres ) เพื่อความปลอดภัยที่สูงที่สุด และยังเป็นข้อกำหนดในทิศทางเดียวกัน ทำให้ไม่เกิดความสับสนในการกำหนดระดับความอันตรายของพื้นที่และความสับสนในการเลือกใช้อุปกรณ์

ทั้งนี้ อาจจะนำไปสู่การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง อันจะส่งผลต่อความสามารถในการป้องกันการระเบิดได้ทั้งตัวอุปกรณ์และตัวบุคคลากรเอง นอกจากมาตรฐานการกำหนดพื้นที่และการเลือกใช้อุปกรณ์แล้ว ยังมีในเรื่องของระบบ Documents Control ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อความเข้าใจคุณสมบัติของสารเคมีในพื้นที่เป็นอย่างดี และรวมถึงความสามารถของบุคลากร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายเป็นอย่างดี ซึ่งหากมีมาตรฐานบังคับใช้ให้บุคลากรที่ทำงานในที่อันตราย ต้องมีใบรับรองความรู้ความสามารถจกสถาบันที่เป็นที่ยอมรับอย่างสากล ก็จะเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุมากกว่า

สำหรับ โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการปรึกษาเรื่องอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท รีเจน โซลูชั่น แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด อาคารเซ็นทรัลซิตี้ทางเวอร์ ชั้น 10 ถ.เทพรัตน บางนาเหนือ บางนา กทม 10260 หรือ โทร. 06-4428-9989 , Email : info@regenth.com Page: มาดามพลังงาน - หมอกี้ ชากีร่า


กำลังโหลดความคิดเห็น