xs
xsm
sm
md
lg

สวทช.ผนึก มธ.ยกระดับวิเคราะห์ทดสอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ รองรับอุตฯงานวิจัยมาตรฐานสากล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อว. โดยศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ (NCTC: NSTDA Characterization and Testing Service Center) สวทช. ลงนามการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิเคราะห์ทดสอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ระหว่าง สวทช. กับ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเสริมแกร่งในการพัฒนาวิธีการและบริการแบบทวิภาคี

 โดยมี ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการ สวทช. และ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิเคราะห์ทดสอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ในการพัฒนาวิธีการและบริการแบบทวิภาคี ณ ชั้น 1 Towe-C Hall อาคาร INC 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการ สวทช.
ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สำหรับ NCTC เป็นศูนย์เครื่องมือกลางของ สวทช. สนับสนุนงานวิจัยและให้บริการวิเคราะห์ทดสอบและพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเทคนิคต่างๆ ร่วมกัน (Share use) ลดภาระการลงทุนซ้ำซ้อนของเครื่องมือ สวทช. และประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามวิธีมาตรฐานต่างๆ สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้ามูลค่าสูง เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานในการพัฒนาและส่งเสริมงานบริการวิเคราะห์ทดสอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ควบคุมระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC17025 เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร

ปัจจุบัน สวทช.และภาคเอกชนในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้พัฒนาบริการวิเคราะห์ทดสอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และการตรวจประเมินให้การรับรองที่ได้มาตรฐานสากลให้กับภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ทั้งมาตรฐาน ISO มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานเฉพาะทางอื่นๆ 

“สวทช. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อการวิเคราะห์ทดสอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ พัฒนาวิธีการและบริการแบบทวิภาค ที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพกระบวนการวิจัยและพัฒนาการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยขั้นสูง เพิ่มโอกาสให้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบให้ได้มาตรฐาน ทำให้ศักยภาพการวิจัยและพัฒนาวิเคราะห์ทดสอบในประเทศเทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมถึงบูรณาการความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ของประเทศต่อไป” ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว

รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ
ด้าน รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การลงนามร่วมกันครั้งนี้ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมี ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยขั้นสูง ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา ศูนย์สัตว์ทดลอง ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้บริการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ สัตว์ทดลอง ทางด้านการวิจัยและให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ใน ส่วนศูนย์ NCTC สวทช. เป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงและเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและส่งเสริมงานบริการวิเคราะห์ทดสอบด้านวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณภาพห้องปฏิบัติการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ของสังคม ซึ่งจะนำไปสู่นวัตกรรมต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้หน่วยงานทั้งสองฝ่ายได้มีความร่วมมือทางด้านวิเคราะห์ทดสอบ เกิดความร่วมมือในการพัฒนาวิธีการและบริการด้วยเครื่องวิทยาศาสตร์แบบทวิภาคีร่วมกัน เกิดองค์ความรู้ที่บูรณาการระหว่างบุคลากร การประยุกต์ใช้เครื่องมือและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ จนนำไปสู่นวัตกรรมอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ


* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEsผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *
SMEs manager



กำลังโหลดความคิดเห็น