วิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการทุกคนจึงต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด วันนี้เราจึงรวบรวมแนวคิดเด็ดและเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ จากกูรูในแวดวงธุรกิจและผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จในโลกธุรกิจ จากหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการ SME สู้วิกฤต COVID-19 ที่จะทำให้เห็นถึงแนวคิดใหม่ ๆ รวมไปถึงแนวทางการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เราไปดูกันว่ากูรูแต่ละท่านได้ให้คำแนะนำไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ดร. พณชิต กิตติปัญญางาม กล่าวถึงศาสตร์ ‘Foresight’ ซึ่งเป็นศาสตร์เพื่อการวางแผนกลยุทธ์สำหรับการทำธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้จนถึงอนาคต ศาสตร์นี้ว่าด้วยการนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำความเข้าใจ โดยในระหว่างทางจะทำให้เห็นอุปสรรคและได้เรียนรู้จากข้อมูล จากนั้นจึงคาดเดาผ่านข้อมูลว่าจะเกิดอะไรในอนาคต แล้วค่อยวางแผนเพื่อให้ตอบรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น Foresight จึงเป็นศาสตร์ที่สามารถให้เหตุผลกับอนาคตได้ ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องหันกลับมามองว่าธุรกิจให้อะไรแก่ลูกค้า ตอบให้ได้ว่าคุณค่าที่แท้จริงของธุรกิจคืออะไร เพราะสิ่งที่ธุรกิจให้ลูกค้าจะแปรกลับมาเป็นเงิน ดร. พณชิต ยังฝากไว้ว่า “เราไม่รู้ว่า Covid-19 จะหมดไปเมื่อไหร่และจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ก็ไม่รู้ เพราะ Value บางอย่างในสมองมนุษย์เปลี่ยนไปแล้ว” ดังนั้น การหาเส้นทางใหม่ ๆ และทำความเข้าใจความเสี่ยงในอนาคตพร้อมทั้งวางแผนแก้ปัญหาเหล่านั้นได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
คุณชาคริต เล่าว่า Covid-19 ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้โลกกลายเป็นโลกที่คาดเดาไม่ได้ (Uncertainty) แต่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นระฆังเตือนว่าทุกคนต้องปรับตัวก่อนที่จะสายเกินไป สิ่งที่คุณชาคริต เน้นย้ำคือ การเปลี่ยนธุรกิจเป็นสิ่งใหม่ หรือ Transformation ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแนวคิดขององค์กรอย่าง การเปลี่ยนธุรกิจให้เป็น Digital Native เพื่อให้ระบบการทำงานเป็น Digital ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญเพื่อการอยู่รอด โดยผู้ประกอบการอาจมองว่าจะเป็น Digital ได้นั้นต้องเปลี่ยนช่องทางการขาย แต่แท้จริงแล้วการจะ Transformation ให้เป็น Digital Native ต้องมาจากการเปลี่ยนความคิดให้คิดแบบ Digital แล้วการทำงานในองค์กรจะเปลี่ยนไปเอง เราสามารถพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ จากทรัพยากรเดิมได้ เราสามารถคงความเป็นตัวเองได้ สำคัญแค่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและลองเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อที่จะเข้าใจและรู้ว่าเราควรใช้หรือไม่ควรใช้อะไร คุณชาคริตยังกล่าวอีกว่า “เรื่องที่คาดเดาไม่ได้ (Uncertainty) บนโลก จะไม่มีวันหมดไป มีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นคนใหม่” เพราะหากไม่เปลี่ยนแปลงก็ไม่สามารถอยู่รอดได้
ดร.ธนสาร เล่าว่า การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มต้นจากตัวเอง อย่างแรกคือการเปลี่ยนความคิดของตนเอง เมื่อความคิดของตนเปลี่ยนก็จะทำให้ความคิดของกลุ่มคนในองค์กรเปลี่ยนตาม แล้วก็จะเกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นภายในองค์กร อย่างเช่นความฝันในการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราต้องมีความฝันแล้วร่วมกันสร้างฝันกับทีมงานจึงจะเกิดผลลัพธ์ โดย ดร. ธนสาร พูดถึงสาเหตุที่ธุรกิจต้องมีการเปลี่ยนแปลงคือเรากำลังอยู่ใน ‘โลกาภิวัตน์’ ที่มักจะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เข้ามากระทบ ยิ่งในช่วงนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤต Covid-19 โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ถูก Disrupted ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เราแย่ลงหรือดีขึ้นก็ได้ แต่หากธุรกิจมีการ Reposition, Reinvent และ Rethink โอกาสในการอยู่รอดท่ามกลางวิกฤตที่น่าเป็นกังวลนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้
คุณรังสรรค์ ผู้เปลี่ยนวิธีการทำงานจากแบบ SME มาเป็นแบบ Startup ที่ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ เปิดเผยว่าปัญหาที่เคยพบเจอในการทำธุรกิจคือ การที่ธุรกิจไม่มีรายได้ แต่ยังคงมีรายจ่าย ทำให้ต้องแก้ไขด้วยการบริหารแบบ Startup โดยสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เติบโตได้เองเรื่อย ๆ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน อีกสิ่งที่สำคัญคือการวิเคราะห์คู่แข่งเพราะจะทำให้เราทราบจุดเด่นจุดด้อยของเขา แล้วจึงหาหนทางที่จะเอาชนะและได้ Market Share ที่มากกว่า หรือหากเราไม่สามารถวิเคราะห์เองได้ให้ลองลงสนาม ก้าวเท้าเข้าวงการการประกวด เพราะจะทำให้เราได้เห็นภาพมากขึ้น ได้คำตอบอะไรที่ไม่เคยได้และจะคุมธุรกิจได้มากขึ้น คุณรังสรรค์ ยังเล่าว่า ลูกค้ารายแรกคือกลุ่มลูกค้าที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นลูกค้าที่เปิดใจให้เราผิดพลาดมากที่สุด เนื่องจากลูกค้ารายแรกจะมองว่าธุรกิจของเรากำลังทดลองบางอย่าง หากเราแก้ไขปัญหาที่เจอให้กับลูกค้ารายแรกได้ ก็จะเป็นผลงานและเป็นบทเรียนให้เรานำไปใช้กับลูกค้ารายต่อไปได้
คุณนครินทร์ เล่าถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤต Covid-19 ว่าสิ่งสำคัญ คือ การตื่นตัว พร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยยกตัวอย่างการทำงานภายในองค์กร the STANDARD ของคุณนครินทร์ ที่หันมาสนใจและให้ความสำคัญกับคนภายในองค์กร เนื่องจากเป็นองค์กรทำข่าว การซื้อประกันหรือการมีสวัสดิการแจกหน้ากากอนามัยเพื่อให้นักข่าวที่ลงพื้นที่ได้มีใช้และเพิ่มความมั่นใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนั้นยังเริ่มหันกลับมามองว่าทุนที่มีตอนนี้ยังมีพอเลี้ยงพนักงานได้แค่ไหน โดยได้ผลิตโมเดลออกมา 2 โมเดล ได้แก่ การทำ COVID PACKAGE ที่ช่วยลูกค้า PR กิจกรรม และทำ Product ใหม่ อย่าง Virtual Conference ที่เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และเก็บค่าบริการจากผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อหารายได้ คุณนครินทร์ ยังกล่าวถึงการทำธุรกิจในภาพรวมอีกว่า ในขณะนี้ กำลังซื้อของคนลดลงและมีเทรนด์การบริโภคแบบใหม่ เช่น การเป็น Lazy Economy ที่ทุกคนยอมจ่ายเพื่อไม่ให้ตนเองเสียเวลาและเอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า โดยเราต้องมองว่าเราจะเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่นั้นได้อย่างไร รวมถึงในทุกขั้นตอนของธุรกิจต้องมีกลยุทธ์เพื่อเอาชนะคู่แข่ง ต้องเชื่อในตัวสินค้า ต้องเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคและเข้าใจ Platform เพื่อให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้จากสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย
*
* *คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"
รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
SMEs manager
height="315"
src="https://www.youtube.com/embed/7cZ1_LJOYOY"
frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; encrypted-media;
gyroscope; picture-in-picture" allowfullscreen>