xs
xsm
sm
md
lg

รพ.เอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ ผุดนวัตกรรม PSLD เจาะตลาดคนรักษาโรคปวดหลัง-ระบบประสาทแห่งแรกของไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ผุดนวัตกรรม PSLD เทคนิครักษาโรคปวดหลังใหม่ล่าสุด แผลเล็ก ปลอดภัย ตอกย้ำการเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง และระบบประสาทแห่งแรกของไทย

นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า ปัจจุบันการผ่าตัดรักษาโรคปวดหลังมีหลายรูปแบบ แต่เทคนิคที่โรงพยาบาลแห่งนี้มีและถือว่าเป็นที่แรกที่นำเข้ามา คือ เทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) ซึ่งในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายในการรักษาเนื่องจากขาดบุคลากรในการใช้ และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญมีน้อยมาก ดังนั้น โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ถือเป็นแห่งแรกที่นำเทคนิคนี้มาใช้ โดยทีมแพทย์ที่นี่มีความเชี่ยวชาญ และชำนาญในเทคนิคการรักษาสมัยใหม่


โดยเทคนิคดังกล่าวคือ การส่องกล้องรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Percutaneous Stenoscopic LumbarDecompression : PSLD) เป็นการส่องกล้องรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลัง โดยแพทย์จะสอดกล้องเอนโดสโคป (Endoscopic decompression) ผ่านทางแผลผ่าตัดขนาด 5.0 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของกล้องเอนโดสโคป (Endoscopic decompression) จะอยู่ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาอยู่ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก แต่ได้ผลการรักษาดีเท่าผ่าตัดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมจะต้องใช้วิธีผ่าตัดใหญ่ตัดกระดูกและกล้ามเนื้อออก ทำให้มีแผลขนาดใหญ่ฟื้นตัวช้า นอนโรงพยาบาลหลายวัน อาจจะต้องให้เลือดและมีความเสี่ยงสูง


สำหรับทางเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดขนาดเล็กมาก เพียง 0.5 เซนติเมตร สูญเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว หลังจากผ่าตัดสามารถลุกขึ้นได้ นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนกลับบ้านได้ ที่สำคัญค่าใช้จ่ายน้อยลง

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าทำการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้แล้วจำนวนร่วม 1,000 ราย ด้วยการรักษาที่ตรงจุดจึงทำให้ปัจจุบันโรงพยาบาลแห่งนี้เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง และระบบประสาท อีกทั้ง นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ยังกล่าวอีกว่า ตั้งใจจะทำโรงพยาบาลแห่งนี้ให้เป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น