ศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สกสว. เป็นประธาน อบรม“แนวทางและวิธีการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วย Objectives and Key Results (OKRs)” ให้กับบุคลากรในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อให้หน่วยงานต่างๆมีความรู้และเข้าใจถึงหลักการใช้เครื่องมือ OKRs ที่สามารถนำไปสู่การวางแผนงานวิจัยอย่างมีศักยภาพ
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. ด้านการพัฒนาระบบ ววน. และเครือข่าย กล่าวว่า สําหรับปงบประมาณ 2563 จัดสรรตรงไปที่หนวยงาน 11,513 ล้านบาท (47.8%) จัดสรรผานกองทุน ววน. 12,555 ล้านบาท (52.2%) รวม 24,068 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่ยื่นคำของบประมาณ ต้องกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน หรือ Objectives and Key Results (OKRs)
โดยแนวคิดการจัดทํา OKRs วัดผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานของหนวยงานในระบบ ววน. 1.วัดผลสัมฤทธิ์ 2.ประเมินผลการบริหารจัดการ 3.ผลการประเมินตองเปดเผยตอสาธารณะ และ 4.ประเมินเฉพาะหนวยงานที่ไดรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสงเสริม ววน.
ศาสตราจารย์ ดร. นภดล ร่มโพธิ์ วิทยากรจาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลถึง “Objectives and Key Results (OKRs)” ว่าสาเหตุหลักที่ OKRs ได้รับความสนใจอีกครั้งเกิดจากในปี ค.ศ. 2000 บริษัทกูเกิล (Google) เอา OKRs มาใช้ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในหน่วยงานเอกชนหรือหน่วยงานด้านเทคโนโลยีเท่านั้น
โดย OKRs มาจากคำว่า Objectives and Key Results คือ เป็นระบบบริหารจัดการที่เน้นเรื่องการตั้งเป้าหมายและการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในสิ่งที่สำคัญโดยสร้างจากแรงจูงใจภายใน โดย “O” มาจาก Objectives คือ วัตถุประสงค์หลักเป็นการบอกจุดมุ่งหมายของหน่วยงาน (What) และ “K” มาจาก Key Results คือ ผลลัพธ์หลัก เป็นการบอกว่าจะทราบได้อย่างไรว่าเราบรรลุจุดมุ่งหมาย นั้น (How)
ทั้งนี้ ลักษณะสำคัญของ OKRs มีจุดเน้น 4 อย่าง คือ 1.เน้นในเรื่องที่สำคัญ (ควรมีไม่เกิน 3 เรื่อง ไม่ใช่ทุกเรื่องขององค์กร) 2.ปรับองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกันและทำงานเป็นทีม 3.มีผู้รับผิดชอบและติดตามได้ และ 4.ตั้งเป้าหมายที่ ท้าทาย ข้อแนะนำในการกำหนด “Objective” หรือวัตถุประสงค์ คือ ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ควรมีจำนวน ประมาณ 3-5 ข้อเท่านั้น ควรเป็นข้อความที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเรา สามารถระบุได้ชัดเจนว่า “Objective” ของเรามีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในขั้นที่สูงขึ้นไปอย่างไร
ส่วนการสร้าง Key Results นั้นเป็นการวัดวัตถุประสงค์ที่เราสร้างขึ้นแต่ละข้อนั้น จะทราบได้อย่างไรว่าเราประสบความสำเร็จหรือเราอยู่ตรงไหนแล้ว Key results มักจะเป็นตัววัดในเชิงปริมาณตัวเลขที่ชัดเจน หรือบอกว่าจะทำอะไรให้เสร็จเมื่อไหร่ ยกตัวอย่างการออกแบบ OKRs ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเช่น “Objective” คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นผู้ประกอบการ Key Results จำนวนสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นจากนักศึกษา 50 สตาร์ทอัพ เป็นต้น
โดยทั่วไปเราจะมี Key Results ไม่เกิน 3 - 5 ข้อต่อวัตถุประสงค์ Objective 1 ข้อ ทั้งนี้ข้อสังเกตสำคัญ คือ Objective ที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจะทำให้เรารู้สึกท้าทายและอยากที่จะทำ ปัญหาในการนำ OKRs ไปใช้ของหน่วยงานที่ผ่านมาคือ ผู้บริหารและพนักงาน ไม่เข้าใจในแนวคิด OKRs จึงเกิดแรงต่อต้านหรือไม่ให้ความสนใจ ตั้งเป้าหมายไม่ท้าทาย ตั้ง Objective ที่เป็นงานทั่วๆ ไป ที่ทำได้สำเร็จอยู่แล้ว รวมถึง Objective ไม่สอดคล้องกันในองค์กร Key Results น้อยหรือมากจนเกินไป และไม่สอดคล้องกับ Objective เป็นต้น
** * คลิก Likeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า“SMEs ผู้จัดการ”รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุดและร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!* * *
SMEsmanager