xs
xsm
sm
md
lg

Silom POS แพลตฟอร์มบริหารจัดการร้านค้าปลีกสัญชาติไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ระบบบริหารจัดการหน้าร้าน Silom Pos เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ โดยใช้งานผ่านระบบของAppstore

สำหรับ ระบบบริหารจัดงานการหน้าร้าน ของ Silom Pos เป็นการให้บริการในรูปแบบของโปรแกรมบันทึกการเก็บเงิน และสามารถออกใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีได้เลย และสามารถบริหารสต็อกได้ทั้งสินค้าสต็อก และสินค้าบริการ ฯลฯ

ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการในรูปแบบของระบบบริหารจัดการหน้าร้าน POS เมืองไทย หลายราย โดยรายใหญ่เป็นเทคโนโลยีที่มาจากต่างประเทศ และที่ผู้ประกอบการนิยมใช้ คือ Ocha POS มาจากประเทศจีน และมีรายอื่นๆ อีก 3-4 ราย มาจากประเทศในแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา




นายวสันต์ แพ่งสภา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ของ บริษัท IMART TECHNOLOGY จำกัด เล่าว่า บริษัทของเราได้พัฒนาระบบบริหารจัดการหน้าร้าน Silom POS ขึ้นมาโดยทีมวิศวกร ที่เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ INET (ไอเน็ต) หรือ บริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร สำหรับธุรกิจ และผู้ที่ต้องการนำไอซีที มาเป็นเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

ที่มาของการพัฒนาระบบดังกล่าว สืบเนื่องมาจากทางไอเน็ต เล็งเห็นว่า ระบบบริหารจัดการหน้าร้าน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับกลุ่มธุรกิจ ร้านค้าในยุคนี้ แต่ยังไม่มีแพลตฟอร์ม POS ที่เป็นของคนไทย ทำให้ดาต้า ข้อมูลของธุรกิจร้านค้าของไทยไหลออกไปนอกประเทศ ทางไอเน็ต จึงให้ทีมวิศวกรของ “นายวสันต์” ช่วยคิดระบบบริหารจัดการหน้าร้านที่เป็นแพลตฟอร์มของคนไทย เราจึงเป็นสตาร์ทอัปไทย รายเดียวในขณะนี้ที่ทำระบบบริหารจัดการหน้าร้าน และบริหารสต็อก POS


ทั้งนี้ ข้อมูลดาต้าที่บริษัทได้จากลูกค้า จะไม่ถูกนำไปจำหน่ายหรือหาผลประโยชน์แต่อย่างใด ทำให้ข้อมูลดาต้าเหล่านี้ จะยังอยู่ในประเทศไทยไม่ไหลออกไปนอกประเทศ ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ความต้องการดาต้ามีเพิ่มมากขึ้น เพราะดาต้ากลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักการตลาด ทำให้เกิดการซื้อขายดาต้า โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทข้ามชาติ มีความต้องการดาต้าเพื่อช่วยวางแผนการผลิตและการตลาดในช่วงที่การแข่งขันทางธุรกิจบนโลกใบนี้แคบลง





ลูกค้าประเทศเพื่อนบ้านให้การตอบรับดี

นายวสันต์ กล่าวว่า การพัฒนา Silom POS ในครั้งนี้เพื่อที่จะให้คนไทย สามารถลดภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขายให้กับร้านค้า รายเล็ก รายกลางและกลุ่ม SME ช่วยให้ลูกค้าทำการค้าได้ดีขึ้น กิจการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยลูกค้าสามารถใช้งาน ของเราได้ง่ายๆ เพียงแค่ดาวน์โหลดผ่าน Appstore ลูกค้าสามารถใช้งานได้ทันที

โดยค่าบริการคิดเป็นรายเดือน ในช่วงแรกให้ทดลองใช้ฟรี และถ้าลูกค้าพึ่งพอใจ มีแพคเกจให้เลือกหลายราคา เริ่มต้นที่ เดือนละ 99 บาท ต่อ 1 ร้าน 1 สต็อก แพคเกจที่ 2 เดือนละ 199 บาท สำหรับร้านที่มีสาขา และแพคเกจที่ 3 เดือนละ 999 บาท สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนการให้บริการเหมือนกันทุกแพคเกจ ได้แก่ สามารถบันทึกการขาย คิดเงิน ทอนเงิน บริหารสินค้าคงคลัง และสามารถพิมพ์ใบเสร็จผ่านอีเมล์ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม




สำหรับลูกค้า ของ Silom POS ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20,000 กว่าร้านค้า ทั่วประเทศ และบางส่วนก็เป็นลูกค้าจากต่างประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เมียนมา เวียดนาม และลาว ในปีนี้ 2563 มีแผนจะขยายเจาะกลุ่มลูกค้าในประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV ให้มากขึ้น ที่เลือกขยายในตลาดเพื่อนบ้านเพราะวัฒนธรรมการใช้ชีวิตคล้ายกับประเทศไทย ร้านค้าปลีกต่างๆ เหมือนกับประเทศไทย ดังนั้น ระบบของเราน่าจะเหมาะกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันการแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการ POS เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องปรับตัวเพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น


ขณะนี้ บริษัทฯของเรา มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 20% ในขณะที่รายใหญ่ อย่างแบรนด์ Ocha มีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 50% จุดขายของ Ocha คือ ผลิตอุปกรณ์ออกมาขายควบคู่กับระบบซอฟแวร์ เวลาให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ ลูกค้าก็จะรู้สึกว่า สะดวกสบาย ไม่ต้องไปหาอุปกรณ์เพิ่ม ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาอุปกรณ์ หรือ หาพันธมิตร ที่มีอุปกรณ์ มาขายพ่วงไปด้วย ตอนนี้ ได้ร่วมกับ Printer หรือ ลิ้นชัก ทางบริษัทได้ร่วมกับ Epson และ Star ทำราคาพิเศษ ให้กับลูกค้า





ช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า

นายวสันต์ กล่าวว่า ได้เริ่มพัฒนาระบบ POSนี้ได้ประมาณ 4 ปี การเข้าถึงลูกค้ามีหลายวิธี และส่วนหนึ่งได้มาจากการที่เป็นบริษัทเครือของ ไอเน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตประเทศไทย ปัจจุบันได้ร่วมกับ SME D BANK ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพราะธนาคารมีลูกค้ากลุ่มร้านค้าอยู่มาก เราจะได้ลูกค้าของธนาคารด้วย รวมถึงการออกบูธตามงานแสดงสินค้าต่างๆ เช่น งานมหกรรมแฟรนไชส์ ได้มาร่วมออกบูธ และได้ลูกค้าแฟรนไชส์ในงานเป็นต้น แต่ถ้าภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ตอนนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโต เพราะถ้ามีร้านค้าเปิดใหม่ระบบนี้ กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ร้านค้าปลีกในประเทศไทยไปแล้ว

ถ้าถามว่าทำไมร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบนี้ เพราะราคาไม่แพง เทคโนโลยีช่วยให้ร้านค้าปลีก บริหารจัดการต่างๆได้ ลดการสูญเสีย และทำให้เขาได้กำไรมากขึ้น เป็นเหตุที่ทำให้ร้านค้าปลีก และแฟรนไชส์ จำเป็นต้องใช้ระบบบริหารจัดการหน้าร้าน POS



นายวสันต์ แพ่งสภา กรรมการผู้จัดการ บ.IMART TECHNOLOGY
นายวสันต์ เล่าว่า เรียนจบวิศวะคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ และได้ออกไปเป็นอาจารย์อย่างที่ตั้งใจอยู่ไม่นาน พอเทคโนโลยีเข้ามาเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี มองเห็นช่องทางทำเงิน ที่ทำให้เราสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ จากการก้าวเข้าสู่ธุรกิจสตาร์ทอัป ในครั้งนั้น ตัดสินใจไม่ผิด เพราะวันนี้มีรายได้มากกว่าการเป็นอาจารย์มากกว่าหลายเท่า และทำให้เราได้เป็นเจ้าของกิจการอย่างเต็มตัว

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในธุรกิจสตาร์ทอัป คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยียิ่งเป็นความท้าทายที่ทำให้เราหยุดพัฒนาตัวเองไม่ได้ และประกอบกับการแข่งขันของธุรกิจรายใหม่ เกิดขึ้นมาก เพราะจุดเด่นอย่างหนึ่งของสตาร์ทอัป คือ เกิดง่าย แต่การรักษาให้อยู่รอดและมั่นคงและยั่งยืนเป็นเรื่องยาก ที่สตาร์ทอัปไทยจะต้องทำให้ได้ และถ้าสตาร์ทอัปจะเติบโตได้ ต้องคิดอะไรที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนได้ด้วยเทคโนโลยี

สนใจโทร. 09-1919-3965


* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
www.facebook.com/SMEs.manager">

SMEs manager



กำลังโหลดความคิดเห็น