xs
xsm
sm
md
lg

จับตา ธุรกิจละคร สื่อบันเทิง และนักแสดงไทย ในตลาดอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ละคร สื่อบันเทิง รวมถึงนักแสดงไทย มีแนวโน้มการเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากได้เห็นละครไทย สามารถไปฉายอยู่ในหลายประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง ภาครัฐมองเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมบันเทิงในกลุ่มนี้ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยสำนักประสานงาน โครงการ “จับตาอาเซียน” (ASEAN Watch) ระดมสมอง ร่วมกันหาแนวทางการส่งเสริมละคร สื่อบันเทิง และนักแสดงไทยไปสู่สากล

ระดมสมองหาแนวทางผลักดันอุตฯบันเทิงไทยสู่สากล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกานดา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการภารกิจด้านการวิเคราะห์สถานการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมากระแส K-Wave หรือ J-Pop เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ส่งผลให้สื่อบันเทิงและนักแสดงไทย เป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านและจีน จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Thai Wind” ซึ่งประเทศไทยเองยังไม่เคยมีการบูรณาการร่วมกันเพื่อผลักดัน ให้อุตสาหกรรมสื่อบันเทิงไทย ให้ก้าวไปสู่ตลาดโลก ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ให้การสนับสนุนการวิจัย โครงการ “การศึกษาเรื่องการบริโภคละครโทรทัศน์ไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน : ศึกษากรณีในประเทศพม่า กัมพูชา และเวียดนาม” และ โครงการศึกษานโยบาย Soft Power ต่ออาเซียนของญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ : นัยและบทเรียนสำหรับประเทศไทย




ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ผู้ประสานงานชุดโครงการ “จับตาอาเซียน” (ASEAN Watch) สกสว. กล่าวถึงงานวิจัยเรื่องนโยบาย Soft Power ต่ออาเซียนของญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ : นัยและบทเรียนสำหรับประเทศไทยว่า ตนได้ทำการศึกษา Soft Power ของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ พบว่า ประไทยควรมีการรับมือต่อการเพิ่มขึ้น Soft Power ในด้านต่างๆ ของชาติเหล่านี้ โดยเฉพาะในส่วนของวัฒนธรรมสมัยนิยมรูปแบบต่างๆ อาทิ ละคร ภาพยนตร์ การ์ตูน นักร้อง แฟชั่น ฯลฯ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นว่า Soft Power ของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้แผ่ขยายเข้ามายังอาเซียนและไทยอย่างเข้มข้น

ทั้งนี้ ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นับเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นด้าน Soft Power ต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะต่อประเทศอาเซียนที่ปัจจุบันได้กลายเป็นเวทีทดสอบและแข่งขันด้าน Soft Power ของทั้ง 3 ประเทศ ดังเห็นได้จากตัวอย่าง เช่น การก่อตั้งสถาบันขงจื่อและศูนย์วัฒนธรรมของจีน การส่งออกละครซีรีย์และดารานักร้อง ของเกาหลีใต้ ตลอดจนการ์ตูนหรืออาหารของญี่ปุ่น เป็นต้น

กรณีศึกษาบริโภคละครโทรทัศน์ไทยในอาเซียน

ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัมพร จิรัฐติกร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเรื่องการบริโภคละครโทรทัศน์ไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน: ศึกษากรณีในประเทศพม่า กัมพูชา และเวียดนาม” ว่า วัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย ไม่ว่าจะเป็นละคร ภาพยนตร์ อาหารไทย มวยไทย เริ่มได้รับความนิยมจากชาติต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่ง วัฒนธรรมสมัยนิยมเหล่านี้สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์เสน่ห์และความชื่นชมต่อไทยในสายตาของประเทศอื่นได้และสามารถที่จะเสริมสร้าง Soft Power ของไทยได้หากเรามียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เพราะจากการศีกษาพบว่า Soft Power จากโซนเอเชียที่ประสบความสำเร็จ อย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ก็เป็นสองประเทศที่เป็นตัวอย่างสำคัญ แน่นอนว่าความสำเร็จเหล่านี้ก็ต้องเกิดจากการสนับสนุนของรัฐบาลและความร่วมมือจากเอกชน แต่ปัจจัยอะไรกันที่ทำให้ทั้งสองกระแสสร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง และแบ่งตลาดกันอย่างชัดเจนลงตัว เป็นสิ่งที่เราจะต้องมีการหารือกันอย่างจริงจัง






โดยเฉพาะในช่วงที่ ละครไทย กำลังได้รับความนิยมในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างลาว กัมพูชา และพม่ามาเป็นระยะเวลานาน และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้น จึงควรมีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมสมัยนิยมสู่ Soft Power อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การหารือ กันในครั้งนี้ มีการศึกษาในหลายมุมมอง เริ่มจาก ศึกษาผู้ชมนอกประเทศบริโภคละครและภาพยนตร์ไทยอย่างไร การศึกษาละครไทยไม่ถูกจำกัดด้วยอุปสงค์ของอุตสาหกรรม หรือ พรมแดนภูมิวัฒนธรรมแบบเดิมๆอย่างไร การศึกษาแฟนคลับนำพาเนื้อหาใหม่สู่ผู้ชม อุตสาหกรรมปรับตัวไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น การบริโภคละครไทยของผู้ชมต่างวัฒนธรรมจะมีส่วนเพิ่มพูนในการสร้างความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมมากขึ้นหรือไม่ และ อุตสาหกรรมวัฒนธรรมของไทยจะขยายตัวต่อไปได้อย่างไร

ดร.อัมพร กล่าวว่า สำหรับละครไทยได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศลาว และกัมพูชา และประเทศพม่า ละครไทยได้รับนิยมมากกว่า 2 ทศวรรษ เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ ไม่มีการผลิตสื่อเอง และนำละครไทยไปพากเสียงเอง ส่วนกระแสการบริโภคละครไทยในอาเซียน เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ ไม่มีการวางแผน และเกิดขึ้นภายใต้บริบทสังคมของแต่ละประเทศ และวัฒนธรรม ชาตินิิยมที่แตกต่างกันไป ส่วน ผู้ชมต่างวัฒนธรรมเลือกรับและสร้างความหมายจากสื่อข้ามพรมแดนอะไร จินตนาการอะไรถูกเสพข้ามพรมแดนบ้าง ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ละครสื่อบันเทิงไทยไปได้ไม่สุด

สำหรับไทยถือว่าเป็นประเทศต้นทางของสินค้าวัฒนธรรม โดยทีวีดิจิทัลทำให้ผู้ผลิตมีหลากหลาย และเกิดการแข่งขันแย่งโฆษณากัน และทีวีดิจิทัลทำให้เกิดละครหลากหลายแนว ธุรกิจกำลังสร้างช่องทางเองเพื่อก้าวข้ามพรมแดน บริษัทจัดจำหน่าย ไลน์ทีวีดูไม่ได้ในต่างประเทศ เน็ตฟลิก




ตลาดเวียดนาม และตลาดอินโดนีเซีย
ในส่วนของละครไทยในตลาดประเทศเวียดนาม พบว่าละครไทยได้มีการนำเข้าไปฉายในประเทศเวียดนามมากขึ้น โดยดูได้จากสถานีโทรทัศน์หลายช่องฉายละครไทย ในขณะที่แต่เดิมมีแต่ของเอ็กแซกท์ หรือช่อง One แต่วันนี้ มีการปรากฏตัวของละครช่อง 3 แต่ละครของช่อง 3 เรตติ้งไม่ดีเท่าที่ควร ในช่องสถานโทรทัศน์ เพราะตลาดเวียดนามดูละครช่อง 3ผ่านทางอินเตอร์เน็ตไปหมดแล้ว

ส่วนแนวโน้มตลาดละครในเวียดนาม สถานีบางช่องประกาศไม่นำเข้าละครเกาหลี หลังจากการกลับมาละครอินเดีย และละครจากจีน เข้ามาทำตลาดในเวียดนามมากขึ้นเพราะราคาถูกกว่า ส่วนสถานีโทรทัศน์จะเลือกละครไทย จากดาราที่คนเวียดนามรู้จัก และการเลือกสรร ดูว่าละครเก่าหรือใหม่ ราคาเท่าไร่ มีนักแสดงที่ชาว เวียดนามนิยมชมชอบด้วยหรือไม่

ในส่วนของผู้ชมในเวียดนาม ชอบละครไทยทุกแนว ละครไทยกลายเป็นกระแสหลักในกลุ่มวัยรุ่นเวียดนาม ชอบละครไทยเพราะความเหมือนและความต่าง คนเวียดนามมองว่า “ละครที่นำเสนอความรักแบบเกาหลีมันซอลฟ์เกินไป ของไทยมีไคล แมกซ์ดี”

ส่วนตลาดที่น่าสนใจ อีกตลาดหนึ่ง คือ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นตลาดของภาพยนตร์มากกว่าละคร โดยมี บริษัท PT. InterSulusindoFilmนำเข้าภาพยนตร์ไทยโดยเฉพาะ นำเข้ามาแล้ว 70-80 เรื่อง และตั้งเป้าว่าจะนำ เข้า 1 เรื่องต่อ 1เดือน โดยGDH ส่งนักแสดงไปโปรโมทหนังในต่างประเทศ ส่วนละครไทย 2 เรื่องที่เคยฉายในอินโดนีเซีย คือ เรื่องฮอร์โมน วัยว้าวุ่น และATM2คู่เวอร์ เออเร่อ เออรัก ได้รับความนิยม ส่วนอุปสรรคละครไทยในอินโดนีเซีย คือ ยังไม่เกิดตลาดสำหรับละครไทย และระบบการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวด ส่วนหนังหรือละคร ที่ได้รับความนิยมในอินโดนีเซียจะเป็นแนวผี และแนววัยรุ่น และแนว Y (ชายรักชาย) GTH/GMM Grammy มีกลุ่มแฟนเหนียวแน่นในอินโดนีเซีย เพราะมีหนังและละครแนวนี้ ที่ตอบโจทย์วัยรุ่น และที่สำคัญ คือ GMM ลงซับภาษาอังกฤษให้


ตลาดจีน และฟิลิปปินส์


ดร.อัมพร กล่าวถึง ตลาดโทรทัศน์ในจีน ว่า ยุคทองของละครไทย 2551-2554 และในปี 2555 หมดยุคทองของละครไทยในทีวี สาเหตุที่มาจากความนิยมละครไทยลดลง และนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศของจีน รวมถึงเนื้อหาซ้ำๆ ไม่มีการพัฒนา และที่สำคัญคือ กระบวนการเซ็นเซอร์ที่ยุ่งยาก ช่วงเวลาและช่องทางการออกอากาศ ไม่ชัดเจน และอินเดียเริ่มบุกตลาดจีนมากขึ้น โดยราคาละครของไทยสูงกว่าอินเดีย เช่น ละคร1 เรื่องอินเดีย 100 ตอน ขณะที่ละครไทยเพียง 37 ตอน และราคาของเราก็สูงกว่า

นอกจากนี้ ตลาดจีน Simulcast ออกอากาศพร้อมกัน ตลาดจีนตั้งแต่ปี 2561 ทีวีลดน้อยลง แพร่ภาพทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว Simulcast ราคาแพง แต่ต้องตัดต่อให้เสร็จเพื่อผ่านเซ็นเซอร์ ราคาต่อตอน 3-40,000$/ตอน โดยเป็นแบบจบ 2,000-10,000 /ตอน ส่วนข้อห้ามของจีน มีเยอะมาก เช่น ศาสนา ผี วิญญาณ ไสยศาสตร์ เรื่องเพศ/เพศที่สาม เรื่องการเมือง สลับร่าง/ข้ามภพ/ข้ามชาติ เป็นต้น

สำหรับกลุ่มผู้ชมชาวจีน วัยรุ่นดูจากอินเตอร์เน็ต รุ่นแม่หายไปหลังจากหมดยุคละครไทยทางทีวี “ดูละครไทยมานานก็ยังไม่เห็นมีพัฒนาการอะไร สิ่งที่ ดึงดูดให้ดูต่อ คือ ดาราหน้าตาสวยหล่อ” ซึ่งคนดูละครไทยในจีนมองว่า การดูละครไม่ต้องใช้สมอง ดูละครไทยสูญเสียสามัญสำนึก ตรรกะแบบไทยๆ ใช้ สมองดูจะไม่เข้าใจ

ส่วนกลุ่มผู้ชมสาววายจีน ที่ผ่านมาซีรีส์วายไทยเข้าจีนแบบเป็นทางการไม่ได้ มีกลุ่มแฟนรับแปลซีรีส์วายของไทยโดยเฉพาะ ซีรีส์วายไทยได้รับความนิยมอันดับหนึ่ง และไทยผลิตซีรีส์วายมากสุดในเอเชีย จีนชอบซีรีส์วายของไทยเพราะ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องในรั้วโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย การเฟื่องฟูของซีรีส์วายในอาเซียนและจีน แสดงให้เห็นถึงการก้าวข้ามโครงสร้างของสังคมที่กดทับ ต่อสู้เพื่อจะเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสำคัญกับพัฒนาการของตัวละคร โครงสร้างทางการเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมที่ปิดทับวาทกรรมชายรัก ชาย

ส่วนตลาดละครไทยในฟิลิปปินส์ GMA Network มีการนำละครไทยไปแพร่ภาพ ปี 2018 ตลาดฟิลิปปินส์เริ่มเปิดรับซีรีส์ไทย





ศักยภาพของคอนเทนด์


สำหรับกระแสหลัก ของละครไทย ที่ผ่านมา จะเป็นเมโลดราม่า แก่นเรื่องพัฒนาเพื่อเน้นการสร้างอารมณ์ ตัวร้ายสร้างให้ร้ายแต่กำเนิด ตัวเอกถูกสร้างให้ถูกกระทำ อุดมการณ์ความรักกับอดุมการณ์พุทธศาสนา ร้อยเรียงความ รักเข้ากับศีลธรรมอย่างแนบแน่น การแสดงอารมณ์ที่ “ชัดเจน” “เปิดเผย”

ส่วนไทยรีเมค จะเป็นละครที่ไม่ใช่ละคร และไม่ชิงรักหักสวาท ความใกล้ชิดทางเวลา คอนเทนด์ที่เป็นสากลมากขึ้น และการใส่ความเป็นไทยลงไป ซึ่งรีเมคไม่ได้ทำแล้วดังทุกเรื่อง


อุปสรรคของตลาดในภาพรวม

ตลาดในภูมิภาค อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม อยากซื้อละคร ไทยแต่ให้ราคาถูกมาก ราคาละครไทยไม่ควรเท่า/สูงกว่าเกาหลี ส่วน ฟิลิปปินส์ ช่องใหญ่อย่าง ABS-CBN อยากซื้อละครไทย แต่ต้อง แลกเปลี่ยน ในขณะที่ ตลาดภาพยนตร์ไม่ต่อเนื่องเท่าตลาดละคร ไทยยังเจอกระบวนการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดของประเทศจีน และละครไทยมีความยาว 15 ตอน เทียบเท่ากับ 37.5ตอนของต่างประเทศ

บทสรุปของธุรกิจละครไทย
สำหรับตลาดอาเซียนถ้าเป็นประเทศเพื่อนบ้านละครไทย ก็ยังครองแชมป์ และมีศักยภาพมากขึ้น จากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขัน ส่งผลให้ละครไทยมีความหลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในต่างประเทศในกลุ่มที่หลากหลาย


* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *



กำลังโหลดความคิดเห็น