xs
xsm
sm
md
lg

การปรับตัวของภาคเกษตรไทย สู่ เกษตรยุคติจิตอล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


 
การปรับตัวภาคเกษตรไทย สู่ เกษตรยุคดิจิตอล
ถอดบทเรียนจากการพัฒนาเกษตรกรรมของยุโรป

โดย ดร.อาจารี ถาวรมาศ ผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทย

1. ภาคการเกษตรต้องเชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่รากหญ้าให้ได้

2. ประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนศักยภาพในการทำวิจัยหรือคิดค้นวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเกษตร แต่มีปัญหาในการนำเทคโนโลยีที่คิดค้นแล้วเหล่านั้นมา commercialize หรือสร้างมูลค่าทางการค้า เพื่อให้กลายเป็นผลผลิตในเชิงพาณิชย์ ทำให้สินค้าเกษตรใหม่ที่ขายดี ติดตลาด ส่งออก ทำเงินและสร้างงานให้เกษตรกรในระดับรากหญ้า

3. ยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น และพัฒนาผลผลิตให้คุ้มทุนมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร

4.การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้เงินลงทุนและการลงทุนสูง เพื่อหวังผลในระยะยาว ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องนี้

5. การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรผ่านเครื่องมือสารสนเทศน์ใหม่ๆ และตลาดดิจิตอล

6. ไทยยังขาดเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไม่ให้เป็นแบบ “สองมาตรฐาน” เหมือนที่เป็นอยู่ กล่าวคือ สินค้าเกษตรและอาหารที่ขายในประเทศก็มาตรฐานหนึ่ง และที่ส่งออกกลับได้รับการควบคุมและมีมาตรฐานที่สูงกว่า หากยังเป็นเช่นนี้การพัฒนาภาคเกษตรก็จะขยับตัวไปแบบไม่เท่าเทียม

7. การพาภาคเกษตรไทยเข้าสู่ยุคดิจิตอล ต้องการเกษตรกรรุ่นใหม่ ดังนั้น ปัญหาทัศนคติเกี่ยวกับการเป็น “เกษตรกร” ก็สำคัญ ภาคเกษตรมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรมานาน และคนรุ่นใหม่เลิกอาชีพทำการเกษตร เพราะทัศนคติของคนรุ่นใหม่มองว่าอาชีพเกษตรกรเป็นงานหนัก รายได้ไม่แน่นอน จึงไม่มีแรงดึงดูดให้ประกอบอาชีพเกษตรกร

8. ผลสารวจสถานการณ์ชาวนาไทย ปี 2555 ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังพบว่า เกษตรกรทานากว่าร้อยละ 80.5 ไม่อยากให้ลูกหลานทำนาเช่นเดียวกับตน และผลสำรวจข้อมูลของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2555 พบว่า จำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรมีจำนวนลดลงประมาณร้อยละ 5-8 ต่อปี และในการเลือกอันดับในการศึกษาต่อส่วนใหญ่เลือกคณะเกษตรอยู่ในอันดับ 3 หรืออันดับ 4 ชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยไม่ได้สนใจที่จะเรียนด้านการเกษตร แม้ว่าจะสาเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงเลือกทำงานเป็นลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากกว่าที่จะมาทาอาชีพการเกษตรโดยตรง

9. เกษตรกรในยุโรปเป็นอาชีพที่รวย มีที่ดิน มีรายได้สูง และใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในระบบการผลิต ที่สำคัญ สินค้าเกษตรในยุโรปได้มาตรฐานไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร สิ่งแวดล้อม หรือแรงงาน และผู้บริโภคก็พร้อมจะซื้อในราคาที่สูงขึ้น - ในยุโรป เวลาเราซื้อสินค้าและผลิตผลทางการเกษตรจากตลาด ที่เป็น “สินค้าพื้นบ้าน” ที่ปลูกและผลิตเองในภูมิภาคหรือหมู่บ้านนั้นๆ มีราคาแพงกว่าการซื้อสินค้าเกษตรและอาหารในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าเกษตรนำเข้าจากประเทศที่สาม เสียด้วยซ้ำ

10. ยุคดิจิตอลเป็นยุคที่เราต้องไม่ปล่อยให้เกษตรกร และการทำเกษตรกรรมกลายเป็นเรื่องล้าหลังหรือตกยุค แต่ภาคเกษตรต้องเร่งการปรับตัวและตอบรับเข้าสู่การเกษตรยุคใหม่ให้ได้ โดยเฉพาะในระดับรากหญ้า ในขณะที่ภาคธุรกิจใหญ่ๆ และภาคอุตสาหกรรมการเกษตรน่าจะปรับตัวได้ง่ายและรวดเร็วกว่า แต่ภาคการเกษตรชนบทคงยังต้องพึ่งภาครัฐในการพัฒนาให้ก้าวทัน และก้าวไปพร้อมๆ กัน ไม่เช่นนั้นช่องว่างในการพัฒนาและความเหลื่อมล้ำก็จะยิ่งมากขึ้น
 
ที่มา : facebook/ เกษตรอัจฉริยะ

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น