สภาอุตสาหกรรมเผยดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย ทะยานสู่ระดับ 100 ครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ชี้เป็นนิมิตหมายที่ดีต่อผู้ประกอบการไทยทุกระดับชั้น คาดอีก 3 เดือนข้างหน้า อุตสาหกรรมไทยยังโตต่อเนื่อง รับผู้ประกอบการยังกังวลขึ้นค่าแรง 300 บาท หวั่นกระทบต้นทุน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 1,016 ราย ครอบคลุม 42 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 100.9 ปรับเพิ่มจากระดับ 99.6 ในเดือนมกราคม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับ 100
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเริ่มกลับมาดีขึ้น และการที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการที่ปรับตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวหลังจากภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.3 ลดลงจาก 107.7 ในเดือนมกราคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ดังนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 98.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 94.7 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 97.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 97.3 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 108.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 106.3 ในเดือนมกราคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สินค้าประเภท แผงวงจรและฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ มียอดคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น, เครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 1,016 ราย ครอบคลุม 42 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 100.9 ปรับเพิ่มจากระดับ 99.6 ในเดือนมกราคม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับ 100
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเริ่มกลับมาดีขึ้น และการที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการที่ปรับตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวหลังจากภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ราคาวัตถุดิบ และราคาพลังงาน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.3 ลดลงจาก 107.7 ในเดือนมกราคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ดังนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 98.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 94.7 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 97.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 97.3 ในเดือนมกราคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 108.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 106.3 ในเดือนมกราคม องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สินค้าประเภท แผงวงจรและฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ มียอดคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น, เครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน