ผลสำรวจชี้เอสเอ็มอี เกินครึ่งเตรียมพร้อมรับนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บ./วัน ขณะที่ธุรกิจในเขตประสบอุทกภัยส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นจากผลกระทบ และหวั่นต้นทุนผลิตสูงขึ้น เผยลดภาษีไม่เพียงพอชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เสียงส่วนใหญ่ระบุอยากให้ภาครัฐช่วยจ่ายส่วนต่างทดแทน
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แถลงผลวิจัยเรื่อง “นับถอยหลัง 60 วัน ค่าแรง 300 บาท SMEs ใน 7 จังหวัดนำร่องพร้อมหรือไม่?” ว่า จากการสำรวจความพร้อมของเอสเอ็มอี ใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต ที่จะต้องปรับค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 โดยสำรวจระหว่างวันที่ 16-25 มกราคมที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 66.3 พร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ร้อยละ 33.7 ยังไม่พร้อมทำตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยในปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 52.1 ระบุว่า ธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ขณะที่ร้อยละ 28.4 คาดการณ์ว่าต้นทุนในการทำธุรกิจในปีนี้จะสูงขึ้น ผู้ประกอบการอีกร้อยละ 15.5 ไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจในปี 2555และผู้ประกอบการอีกร้อยละ 4 ระบุว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างธุรกิจยังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบด้านต้นทุนได้ชัดเจน ไม่แน่ใจว่าจะปรับราคาขึ้นได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย พบว่า ร้อยละ 56.3 คาดการณ์ว่าต้นทุนในการทำธุรกิจปีนี้จะสูงขึ้น ขณะที่ร้อยละ 22.7 ไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการร้อยละ 10.4 ไม่แน่ใจว่าจะปรับราคาสินค้าขึ้นได้มากน้อยเพียงใด และผู้ประกอบการร้อยละ 10.6 เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ยังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบด้านต้นทุนได้ชัดเจน เป็นต้น
สำหรับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 นั้น ผู้ประกอบการร้อยละ 49.5 ระบุว่าเพียงพอที่จะชดเชยกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 50.5ระบุว่า ไม่เพียงพอที่จะชดเชยกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจมีกำไรน้อยอยู่แล้ว โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่างร้อยละ 15-20 เท่านั้น
ส่วนมาตรการที่เหมาะสมที่สุดในการบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผู้ประกอบการร้อยละ 51.1 ระบุว่าการจ่ายเงินอุดหนุนส่วนต่างของค่าแรงที่เกิดขึ้นเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่สุด ขณะที่ร้อยละ 20.7 เห็นว่า มาตรการที่เหมาะสม คือ ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนร้อยละ 17.2 ต้องการให้มีการจัดการฝึกอบรมและทดสอบฝีมือแรงงาน เป็นต้น
นายเกียรติอนันต์ กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ดูเหมือนจะเป็น Mission Impossible ทั้งนี้การต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท อาจส่งผลกระทบทำให้ SMEs ปรับลดต้นทุนการผลิตลงด้วยการนำเครื่องจักรมาทดแทนในระยะยาวถึงร้อยละ 45.3 ขณะที่ร้อยละ 30.7 ระบุว่า จะลดตำแหน่งงานลงไม่รับพนักงานใหม่มาทำงานแทนตำแหน่งเดิม เป็นต้น ภาวะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการว่างงานทางโครงสร้างเกิดขึ้น หรือเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยร้อยละ 58.2 ระบุว่า แรงงานต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วมองลึกลงไปอาจกลายเป็นการให้แรงงานทำงานมากเกินไป ขณะที่ SMEs อีกร้อยละ 39.8 ระบุว่า จะปรับราคาสินค้าและบริการ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพที่จะวกกลับมาหาประชาชนในรูปของค่าครองชีพที่สูงขึ้น และผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาตามมา เช่น ค่าแรงกระจุกตัวในบางจังหวัด ทำให้เกิดแรงงานย้ายถิ่นในระยะสั้นสู่พื้นที่ที่ค่าแรงสูงกว่า และในระยะยาวผลกระทบการจ้างงานนายจ้างจะเลือกคนที่มีความสามารถในการทำงานมากกว่า เช่น อาจพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องการเห็นกระบวนการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อ SMEs ในภาพรวมให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย ก็จะสามารถจ่ายค่าแรงในระดับ 300 บาทได้
นายเกียรติ กล่าวว่า การปรับค่าแรงขึ้นเป็นวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง ยังไม่มากพอที่จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ให้หดตัวลง เพราะรัฐบาลอัดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจปีนี้ จำนวน 350,000 ล้านบาท สำหรับดำเนินการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งคาดว่า จีดีพีไทยปี 2555 จะยังเติบโตร้อยละ 3.5-4 และหากการใช้จ่ายงบประมาณไม่มีรั่วไหล คาดว่าเม็ดเงินจำนวนดังกล่าวจะช่วยดันให้จีดีพีไทยโตถึงร้อยละ 5 ได้
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แถลงผลวิจัยเรื่อง “นับถอยหลัง 60 วัน ค่าแรง 300 บาท SMEs ใน 7 จังหวัดนำร่องพร้อมหรือไม่?” ว่า จากการสำรวจความพร้อมของเอสเอ็มอี ใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต ที่จะต้องปรับค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 โดยสำรวจระหว่างวันที่ 16-25 มกราคมที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 66.3 พร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ร้อยละ 33.7 ยังไม่พร้อมทำตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยในปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 52.1 ระบุว่า ธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ขณะที่ร้อยละ 28.4 คาดการณ์ว่าต้นทุนในการทำธุรกิจในปีนี้จะสูงขึ้น ผู้ประกอบการอีกร้อยละ 15.5 ไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจในปี 2555และผู้ประกอบการอีกร้อยละ 4 ระบุว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างธุรกิจยังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบด้านต้นทุนได้ชัดเจน ไม่แน่ใจว่าจะปรับราคาขึ้นได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย พบว่า ร้อยละ 56.3 คาดการณ์ว่าต้นทุนในการทำธุรกิจปีนี้จะสูงขึ้น ขณะที่ร้อยละ 22.7 ไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการร้อยละ 10.4 ไม่แน่ใจว่าจะปรับราคาสินค้าขึ้นได้มากน้อยเพียงใด และผู้ประกอบการร้อยละ 10.6 เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ยังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบด้านต้นทุนได้ชัดเจน เป็นต้น
สำหรับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 นั้น ผู้ประกอบการร้อยละ 49.5 ระบุว่าเพียงพอที่จะชดเชยกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 50.5ระบุว่า ไม่เพียงพอที่จะชดเชยกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจมีกำไรน้อยอยู่แล้ว โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่างร้อยละ 15-20 เท่านั้น
ส่วนมาตรการที่เหมาะสมที่สุดในการบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผู้ประกอบการร้อยละ 51.1 ระบุว่าการจ่ายเงินอุดหนุนส่วนต่างของค่าแรงที่เกิดขึ้นเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่สุด ขณะที่ร้อยละ 20.7 เห็นว่า มาตรการที่เหมาะสม คือ ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนร้อยละ 17.2 ต้องการให้มีการจัดการฝึกอบรมและทดสอบฝีมือแรงงาน เป็นต้น
นายเกียรติอนันต์ กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ดูเหมือนจะเป็น Mission Impossible ทั้งนี้การต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท อาจส่งผลกระทบทำให้ SMEs ปรับลดต้นทุนการผลิตลงด้วยการนำเครื่องจักรมาทดแทนในระยะยาวถึงร้อยละ 45.3 ขณะที่ร้อยละ 30.7 ระบุว่า จะลดตำแหน่งงานลงไม่รับพนักงานใหม่มาทำงานแทนตำแหน่งเดิม เป็นต้น ภาวะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการว่างงานทางโครงสร้างเกิดขึ้น หรือเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยร้อยละ 58.2 ระบุว่า แรงงานต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วมองลึกลงไปอาจกลายเป็นการให้แรงงานทำงานมากเกินไป ขณะที่ SMEs อีกร้อยละ 39.8 ระบุว่า จะปรับราคาสินค้าและบริการ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพที่จะวกกลับมาหาประชาชนในรูปของค่าครองชีพที่สูงขึ้น และผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาตามมา เช่น ค่าแรงกระจุกตัวในบางจังหวัด ทำให้เกิดแรงงานย้ายถิ่นในระยะสั้นสู่พื้นที่ที่ค่าแรงสูงกว่า และในระยะยาวผลกระทบการจ้างงานนายจ้างจะเลือกคนที่มีความสามารถในการทำงานมากกว่า เช่น อาจพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องการเห็นกระบวนการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อ SMEs ในภาพรวมให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย ก็จะสามารถจ่ายค่าแรงในระดับ 300 บาทได้
นายเกียรติ กล่าวว่า การปรับค่าแรงขึ้นเป็นวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง ยังไม่มากพอที่จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ให้หดตัวลง เพราะรัฐบาลอัดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจปีนี้ จำนวน 350,000 ล้านบาท สำหรับดำเนินการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งคาดว่า จีดีพีไทยปี 2555 จะยังเติบโตร้อยละ 3.5-4 และหากการใช้จ่ายงบประมาณไม่มีรั่วไหล คาดว่าเม็ดเงินจำนวนดังกล่าวจะช่วยดันให้จีดีพีไทยโตถึงร้อยละ 5 ได้