ส.อ.ท.เสนอรัฐบาลตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ระบุเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ต่อเนื่อง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่่ผ่านมา ผู้บริหาร ส.อ.ท.ได้เข้าพบกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การวางยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งในขณะนี้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการปรับขึ้นค่าแรง และปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วม
นอกจากนั้น ส.อ.ท.ยังจะเสนอรัฐบาลให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อให้ ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกรรมได้ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักจากผลกระทบของภัยน้ำท่วม
ทั้งนี้ ส.อ.ท. เป็นห่วงถึงสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้มาก เนื่องจากมีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งให้จมน้ำ เช่น นิคมสหรัตนพระนคร ที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และมีการจ้างงานหลายหมื่นคน รวมทั้งนิคมที่จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และพื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ โดยมองว่าขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบป้องกันนิคมบางปะอิน นิคมโรจนะ อยุธยา เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าแถบจ.ลพบุรี และนครสวรรค์จะเสียหายประมาณ 10,000-20,000 ล้านบาท ส่วนนิคมอุตสาหกรรมแถบอยุธยา คาดจะเสียหายประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่่ผ่านมา ผู้บริหาร ส.อ.ท.ได้เข้าพบกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การวางยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งในขณะนี้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการปรับขึ้นค่าแรง และปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วม
นอกจากนั้น ส.อ.ท.ยังจะเสนอรัฐบาลให้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อให้ ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกรรมได้ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักจากผลกระทบของภัยน้ำท่วม
ทั้งนี้ ส.อ.ท. เป็นห่วงถึงสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้มาก เนื่องจากมีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งให้จมน้ำ เช่น นิคมสหรัตนพระนคร ที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และมีการจ้างงานหลายหมื่นคน รวมทั้งนิคมที่จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และพื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ โดยมองว่าขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบป้องกันนิคมบางปะอิน นิคมโรจนะ อยุธยา เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าแถบจ.ลพบุรี และนครสวรรค์จะเสียหายประมาณ 10,000-20,000 ล้านบาท ส่วนนิคมอุตสาหกรรมแถบอยุธยา คาดจะเสียหายประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท