สสว. จับมือ ก.ต่างประเทศ OECD เผยผลการศึกษา Thailand’s SME Policy Review พบ SMEs ไทยขาดแคลนเงินทุน ขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม แนะรัฐฯ ควรจัดสรรงบประมาณแบบต่อเนื่อง รวมถึงสร้างฐานข้อมูลต้นแบบพัฒนา SMEs เป็นระบบ ไม่เห็นด้วยไทยปรับนโยบายส่งเสริม SMEs ตามการเปลี่ยนรัฐบาล หวั่นการส่งเสริมและพัฒนาด้อยประสิทธิภาพ
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากการที่สสว. ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และองค์การเพื่อการพัฒนาความร่วมมือและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ (OECD) ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเป็นผู้ประกอบการในระดับประเทศและระดับภูมิภาคของไทย (Thailand’s SME Policy Review) เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับและพัฒนานโยบายการส่งเสริม SMEs ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขาดความเชี่ยวชาญ และความรู้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ไทย จำนวนมากทำธุรกิจเพราะความจำเป็นมากกว่าทำเพราะโอกาส
ดร.โจนาธาน พอตเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของศูนย์ OECD ในฐานะหัวหน้าโครงการ Thailand’s SME Policy Review กล่าวว่า จากการศึกษาได้วิเคราะห์และระบุถึงจุดอ่อนต่างๆ ของนโยบาย รวมถึงการขาดการประสานและความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ความล้มเหลวในการพัฒนา SMEs ความไม่เท่าเทียมกันของผู้ประกอบการในภูมิภาค ความไม่พร้อมของเทคโนโลยี ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่ต้องปรับปรุง รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลพัฒนาเอสเอ็มอีที่เป็นรูปธรรมไม่ปรับเปลี่ยนไปตามนโยบายรัฐบาลใหม่ เพราะจะส่งผลต่อการเติบโตด้านธุรกิจของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอกย้ำถึงบทบาทที่ชัดเจนของ สสว. ในการเป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำและประสานงานด้านนโยบายส่งเสริม SMEs รวมถึงที่ผ่านมา สสว. กำหนดงบประมาณรายปีที่ตายตัวซึ่งขาดความยืดหยุ่น หากสามารถเปลี่ยนเป็นการใช้งบประมาณแบบต่อเนื่อง (Rolling programmed-based budget) จะช่วยให้สามารถวางแผนการดำเนินโครงการแบบต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความผันผวนทางสภาพเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่อยู่เหนือความควบคุม ถึงแม้ว่า สสว. จะมีจำนวนโครงการด้าน SMEs มากมาย แต่เท่าที่ผ่านมานั้น พบว่า ยังขาดระบบวิธีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงผลกระทบและความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ และควรให้ความสำคัญในเรื่องการค้นคว้าวิจัย โดยไทยใช้งบประมาณเพียง 0.25% ของจีดีพี ซึ่งน้อยกว่าอินเดีย และจีนมาก
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากการที่สสว. ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และองค์การเพื่อการพัฒนาความร่วมมือและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ (OECD) ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเป็นผู้ประกอบการในระดับประเทศและระดับภูมิภาคของไทย (Thailand’s SME Policy Review) เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับและพัฒนานโยบายการส่งเสริม SMEs ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขาดความเชี่ยวชาญ และความรู้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ไทย จำนวนมากทำธุรกิจเพราะความจำเป็นมากกว่าทำเพราะโอกาส
ดร.โจนาธาน พอตเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของศูนย์ OECD ในฐานะหัวหน้าโครงการ Thailand’s SME Policy Review กล่าวว่า จากการศึกษาได้วิเคราะห์และระบุถึงจุดอ่อนต่างๆ ของนโยบาย รวมถึงการขาดการประสานและความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ความล้มเหลวในการพัฒนา SMEs ความไม่เท่าเทียมกันของผู้ประกอบการในภูมิภาค ความไม่พร้อมของเทคโนโลยี ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่ต้องปรับปรุง รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลพัฒนาเอสเอ็มอีที่เป็นรูปธรรมไม่ปรับเปลี่ยนไปตามนโยบายรัฐบาลใหม่ เพราะจะส่งผลต่อการเติบโตด้านธุรกิจของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอกย้ำถึงบทบาทที่ชัดเจนของ สสว. ในการเป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำและประสานงานด้านนโยบายส่งเสริม SMEs รวมถึงที่ผ่านมา สสว. กำหนดงบประมาณรายปีที่ตายตัวซึ่งขาดความยืดหยุ่น หากสามารถเปลี่ยนเป็นการใช้งบประมาณแบบต่อเนื่อง (Rolling programmed-based budget) จะช่วยให้สามารถวางแผนการดำเนินโครงการแบบต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความผันผวนทางสภาพเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่อยู่เหนือความควบคุม ถึงแม้ว่า สสว. จะมีจำนวนโครงการด้าน SMEs มากมาย แต่เท่าที่ผ่านมานั้น พบว่า ยังขาดระบบวิธีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงผลกระทบและความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ และควรให้ความสำคัญในเรื่องการค้นคว้าวิจัย โดยไทยใช้งบประมาณเพียง 0.25% ของจีดีพี ซึ่งน้อยกว่าอินเดีย และจีนมาก