โอ่งอุปกรณ์สำหรับเก็บน้ำแบบโบราณ ถูกนำมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นตู้ลำโพง คือผลงานประดิษฐ์ของคนช่างคิด อย่าง “พรณรงค์ ห้องภูษา” นำเสนอความแปลกใหม่ของตู้ลำโพงที่นอกจากจะให้เสียงไพเราะแล้ว ยังสวยงาม สามารถใช้ตกแต่งบ้านได้ด้วย
หนุ่มช่างประดิษฐ์ เกริ่นนำว่า ส่วนตัวสนใจและชอบด้านอุปกรณ์เครื่องเสียงมายาวนาน มักเก็บสะสม รวมถึง ประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆ ด้วยตัวเองเสมอ
ส่วนไอเดียนำโอ่งมาทำเป็นตู้ลำโพง เกิดจากสะดุดกับเสียงจากวิทยุ หรือลำโพงเวลานำไปวางบนโอ่ง เสียงที่ได้ยินจะทุ้มก้องอย่างยิ่ง หรือเวลาก้มหัวลงไปเปล่งเสียงในโอ่ง จะรู้สึกว่าเสียงก้องกังวานไพเราะมาก ทำให้อยากจะลองนำโอ่งมาประยุกต์ทำเป็นตู้ลำโพง
อย่างไรก็ตาม ความยากอยู่ที่การยึดติด “ดอกลำโพง” กับตัวโอ่ง ช่วงแรกใช้สว่านเจาะรูสำหรับขันนอต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเกิดปัญหาโอ่งแตกร้าว ดังนั้น แก้ไขด้วยวิธีออกแบบโอ่งที่เหมาะจะทำเป็นตู้ลำโพงโดยเฉพาะ ซึ่งจะเจาะช่อง และรูต่างๆ ไว้พร้อมตั้งแต่ตอนปั้นดินเลย
พรณรงค์ อธิบายเสริมว่า ความรู้ในการทำตู้ลำโพง อาศัยศึกษาด้วยตัวเองจากตำรา หาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ประกอบกับประสบการณ์ในการประดิษฐ์ที่สะสมมา โดยหัวใจของการทำตู้ลำโพงให้ได้คุณภาพดีเยี่ยม อยู่ที่การคำนวณปริมาณเสียง กับความจุเสียงภายในตัวตู้ลำโพง รวมถึง วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบทำตู้ลำโพง ต่างมีผลต่อเสียงที่จะออกมาทั้งสิ้น ซึ่งวัสดุที่ทำตู้ลำโพงแต่ละประเภทจะมีข้อดีข้อเสียงแตกต่างกันไป
“ในความเป็นจริง วัสดุหลายชนิดสามารถทำตู้ลำโพงได้ อย่างไม้ที่นิยมมากสุด จะมีข้อดี ด้านความนุ่มกังวานของเนื้อเสียง แต่จุดอ่อนอยู่ที่การต้องนำไม้หลายๆ แผ่นมาประกบกันอาจเกิดการเล็ดรอดของเสียงออกตามรอยต่อต่างๆ รวมถึงต้องระวังด้านความชื้น หรืออย่างพลาสติก มีความสะดวกด้านการผลิต แต่ไม่ได้ความกังวานแบบธรรมชาติ ขณะที่ในต่างประเทศก็มีลำโพงทำจากเซรามิก แต่รูปทรงจะแตกต่างกันไป ส่วนผมก็เลือกใช้โอ่ง ฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างสรรค์ของแต่ละคนมากกว่า ที่จะหาความลงตัวระหว่างการออกแบบ และวัสดุที่จะใช้ทำตู้ลำโพงได้ดีที่สุด” คนช่างคิด ขยายความ
ตู้ลำโพงที่เห็นกันทั่วไป ตำแหน่งดอกลำโพงจะตั้งขนานหันหน้าเข้าหาผู้ฟัง แต่สำหรับตู้ลำโพงโอ่ง ดอกลำโพงหลักจะวางนอนอยู่ตำแหน่งปากโอ่ง ส่วนดอกเสียงแหลมจะอยู่บริเวณขอบข้าง และช่องระบายลมอยู่ที่ใต้โอ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลด้านการออกแบบของนักประดิษฐ์รายนี้ ที่เชื่อว่า ช่วยให้ได้เสียงไพเราะที่สุด
พรณรงค์ แจงว่า การวางตำแหน่งดังกล่าว ช่วยให้เสียงเข้าถึงหูผู้ฟังชัดเจนที่สุด โดยเสียงเบสจะออกจากตำแหน่งบนและล่างของลำโพง แทรกด้วยเสียงแหลมตรงกลาง ทำให้เกิดความไพเราะ โดยลักษณะเสียงจากตู้ลำโพงโอ่งจะมีความอ่อนนุ่มคล้ายกับตู้ลำโพงที่ภายในบุด้วยใยแก้ว อีกทั้ง โอ่งมีรูปทรงโค้งมนไม่มีเหลี่ยมมุม ช่วยเพิ่มคมชัดของเสียง ซึ่งกว่าจะได้แบบที่ลงตัว ลองผิดลองถูกปรับปรุงเรื่อยมากว่าครึ่งปี กับเงินลงทุนกว่า 1 แสนบาท ขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรการออกแบบ รวมถึง จดเครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อ “LAMKA” (ล้ำค่า) ไว้แล้ว
“ผมวางตำแหน่งของสินค้าให้เป็นลำโพงที่นอกจากเสียงดีแล้ว ยังสามารถใช้ตกแต่งบ้านหรือสถานที่ได้ด้วย โดยกำหนดลูกค้าเป้าหมายไว้ที่คนรักเครื่องเสียง รักการแต่งบ้าน และรักงานเซรามิก รวมถึง กลุ่มโรงแรม และรีสอร์ทที่สามารถนำไปตกแต่งสถานที่ได้สวยงามและเหมาะสมกว่าวางตู้ลำโพงแบบสี่เหลี่ยมทั่วไป” เจ้าของไอเดีย เผย
สำหรับการผลิตนั้น พรณรงค์ เผยว่า ในส่วนดอกลำโพง ซื้อยี่ห้อเกรดเอมาตรฐานส่งออก ส่วนตัวโอ่งว่าจ้างช่างปั้นแถบ จ. นครปฐม โดยปั้นจากเนื้อดินความละเอียดสูง ความหนาของผิวโอ่งประมาณ 1 เซนติเมตร เบื้องต้นทำมาออก 1 แบบ มีให้เลือก 2 สี คือ ขาว และน้ำตาลแดง ช่องทางขายเวลานี้ ยังรับผลิตตามคำสั่งซื้อโดยตรง สนนราคา คู่ละอยู่ที่หลักหมื่นบาท ส่วนในอนาคตจะเพิ่มเติมโอ่งแบบต่างๆ ให้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น โอ่งแกะสลัก โอ่งมังกร รวมถึง โอ่งเบญจรงค์ เป็นต้น นอกจากนั้น ขยายช่องทางตลาด ฝากขายตามร้านอุปกรณ์เครื่องเสียงและแผ่นเสียงโบราณ รวมถึง ผ่านเว็บไซต์อีกด้วย
@@@@@@@@@@@@@@@@@@
โทร.08-5140-6123
หนุ่มช่างประดิษฐ์ เกริ่นนำว่า ส่วนตัวสนใจและชอบด้านอุปกรณ์เครื่องเสียงมายาวนาน มักเก็บสะสม รวมถึง ประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆ ด้วยตัวเองเสมอ
ส่วนไอเดียนำโอ่งมาทำเป็นตู้ลำโพง เกิดจากสะดุดกับเสียงจากวิทยุ หรือลำโพงเวลานำไปวางบนโอ่ง เสียงที่ได้ยินจะทุ้มก้องอย่างยิ่ง หรือเวลาก้มหัวลงไปเปล่งเสียงในโอ่ง จะรู้สึกว่าเสียงก้องกังวานไพเราะมาก ทำให้อยากจะลองนำโอ่งมาประยุกต์ทำเป็นตู้ลำโพง
อย่างไรก็ตาม ความยากอยู่ที่การยึดติด “ดอกลำโพง” กับตัวโอ่ง ช่วงแรกใช้สว่านเจาะรูสำหรับขันนอต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเกิดปัญหาโอ่งแตกร้าว ดังนั้น แก้ไขด้วยวิธีออกแบบโอ่งที่เหมาะจะทำเป็นตู้ลำโพงโดยเฉพาะ ซึ่งจะเจาะช่อง และรูต่างๆ ไว้พร้อมตั้งแต่ตอนปั้นดินเลย
พรณรงค์ อธิบายเสริมว่า ความรู้ในการทำตู้ลำโพง อาศัยศึกษาด้วยตัวเองจากตำรา หาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ประกอบกับประสบการณ์ในการประดิษฐ์ที่สะสมมา โดยหัวใจของการทำตู้ลำโพงให้ได้คุณภาพดีเยี่ยม อยู่ที่การคำนวณปริมาณเสียง กับความจุเสียงภายในตัวตู้ลำโพง รวมถึง วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบทำตู้ลำโพง ต่างมีผลต่อเสียงที่จะออกมาทั้งสิ้น ซึ่งวัสดุที่ทำตู้ลำโพงแต่ละประเภทจะมีข้อดีข้อเสียงแตกต่างกันไป
“ในความเป็นจริง วัสดุหลายชนิดสามารถทำตู้ลำโพงได้ อย่างไม้ที่นิยมมากสุด จะมีข้อดี ด้านความนุ่มกังวานของเนื้อเสียง แต่จุดอ่อนอยู่ที่การต้องนำไม้หลายๆ แผ่นมาประกบกันอาจเกิดการเล็ดรอดของเสียงออกตามรอยต่อต่างๆ รวมถึงต้องระวังด้านความชื้น หรืออย่างพลาสติก มีความสะดวกด้านการผลิต แต่ไม่ได้ความกังวานแบบธรรมชาติ ขณะที่ในต่างประเทศก็มีลำโพงทำจากเซรามิก แต่รูปทรงจะแตกต่างกันไป ส่วนผมก็เลือกใช้โอ่ง ฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างสรรค์ของแต่ละคนมากกว่า ที่จะหาความลงตัวระหว่างการออกแบบ และวัสดุที่จะใช้ทำตู้ลำโพงได้ดีที่สุด” คนช่างคิด ขยายความ
ตู้ลำโพงที่เห็นกันทั่วไป ตำแหน่งดอกลำโพงจะตั้งขนานหันหน้าเข้าหาผู้ฟัง แต่สำหรับตู้ลำโพงโอ่ง ดอกลำโพงหลักจะวางนอนอยู่ตำแหน่งปากโอ่ง ส่วนดอกเสียงแหลมจะอยู่บริเวณขอบข้าง และช่องระบายลมอยู่ที่ใต้โอ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลด้านการออกแบบของนักประดิษฐ์รายนี้ ที่เชื่อว่า ช่วยให้ได้เสียงไพเราะที่สุด
พรณรงค์ แจงว่า การวางตำแหน่งดังกล่าว ช่วยให้เสียงเข้าถึงหูผู้ฟังชัดเจนที่สุด โดยเสียงเบสจะออกจากตำแหน่งบนและล่างของลำโพง แทรกด้วยเสียงแหลมตรงกลาง ทำให้เกิดความไพเราะ โดยลักษณะเสียงจากตู้ลำโพงโอ่งจะมีความอ่อนนุ่มคล้ายกับตู้ลำโพงที่ภายในบุด้วยใยแก้ว อีกทั้ง โอ่งมีรูปทรงโค้งมนไม่มีเหลี่ยมมุม ช่วยเพิ่มคมชัดของเสียง ซึ่งกว่าจะได้แบบที่ลงตัว ลองผิดลองถูกปรับปรุงเรื่อยมากว่าครึ่งปี กับเงินลงทุนกว่า 1 แสนบาท ขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรการออกแบบ รวมถึง จดเครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อ “LAMKA” (ล้ำค่า) ไว้แล้ว
“ผมวางตำแหน่งของสินค้าให้เป็นลำโพงที่นอกจากเสียงดีแล้ว ยังสามารถใช้ตกแต่งบ้านหรือสถานที่ได้ด้วย โดยกำหนดลูกค้าเป้าหมายไว้ที่คนรักเครื่องเสียง รักการแต่งบ้าน และรักงานเซรามิก รวมถึง กลุ่มโรงแรม และรีสอร์ทที่สามารถนำไปตกแต่งสถานที่ได้สวยงามและเหมาะสมกว่าวางตู้ลำโพงแบบสี่เหลี่ยมทั่วไป” เจ้าของไอเดีย เผย
สำหรับการผลิตนั้น พรณรงค์ เผยว่า ในส่วนดอกลำโพง ซื้อยี่ห้อเกรดเอมาตรฐานส่งออก ส่วนตัวโอ่งว่าจ้างช่างปั้นแถบ จ. นครปฐม โดยปั้นจากเนื้อดินความละเอียดสูง ความหนาของผิวโอ่งประมาณ 1 เซนติเมตร เบื้องต้นทำมาออก 1 แบบ มีให้เลือก 2 สี คือ ขาว และน้ำตาลแดง ช่องทางขายเวลานี้ ยังรับผลิตตามคำสั่งซื้อโดยตรง สนนราคา คู่ละอยู่ที่หลักหมื่นบาท ส่วนในอนาคตจะเพิ่มเติมโอ่งแบบต่างๆ ให้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น โอ่งแกะสลัก โอ่งมังกร รวมถึง โอ่งเบญจรงค์ เป็นต้น นอกจากนั้น ขยายช่องทางตลาด ฝากขายตามร้านอุปกรณ์เครื่องเสียงและแผ่นเสียงโบราณ รวมถึง ผ่านเว็บไซต์อีกด้วย
@@@@@@@@@@@@@@@@@@
โทร.08-5140-6123