กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยเดือน มีนาคม 25.54 ต่างชาติแห่ลงทุนโครงการก่อสร้างในไทยเม็ดเงินลงทุนรวม 832 ล้านบาท จ้างงานคนไทยเกือบ 500 คน นักลงทุน 3 อันดับแรก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมัน
นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะผู้ช่วยกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 23 ราย มีเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 832 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 445 คน ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คิดเป็นอัตราร้อยละ 92 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 558 ล้านบาท โดยธุรกิจที่อนุญาตเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ เช่น เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านซึ่งมีผลดีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย ได้แก่
ปุน ลอย ลิมิเต็ด (Punj Lloyd Limited) จากประเทศอินเดีย ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการออกแบบ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ก่อสร้าง ทดสอบระบบ และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ภายใต้โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย) ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
บริษัท ทีพีเอสซี (ไทยแลนด์) จำกัด [TPSC (Thailand) Co., Ltd.] ซึ่งมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการออกแบบ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ ให้แก่บริษัท อมตะ บี. กริม เพาเวอร์ (ระยอง 2) จำกัด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
โมห์ แอนด์ แอสโซซิเอท อิงค์ (Moh and Associates, Inc.) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ นิปปอน โคอิ คัมปะนี ลิมิเต็ด (Nippon Koei Co., Ltd.) จากประเทศญี่ปุ่น ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการทางวิศวกรรมในการให้คำปรึกษาและควบคุมการก่อสร้างสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร (สายสีน้ำเงิน) ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 53 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 2,107 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทย จำนวน 1,074 คน
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 ที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จนถึงเดือนมีนาคม 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจไปแล้ว 2,674 ราย และมีเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 139,227 ล้านบาท ประเทศที่เข้ามาลงทุนสามอันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 36) สิงคโปร์ (ร้อยละ 15) และเยอรมนี (ร้อยละ 6) ตามลำดับ
นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะผู้ช่วยกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 23 ราย มีเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 832 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 445 คน ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คิดเป็นอัตราร้อยละ 92 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 558 ล้านบาท โดยธุรกิจที่อนุญาตเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ เช่น เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านซึ่งมีผลดีต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย ได้แก่
ปุน ลอย ลิมิเต็ด (Punj Lloyd Limited) จากประเทศอินเดีย ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการออกแบบ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ก่อสร้าง ทดสอบระบบ และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ภายใต้โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย) ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
บริษัท ทีพีเอสซี (ไทยแลนด์) จำกัด [TPSC (Thailand) Co., Ltd.] ซึ่งมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการออกแบบ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ ให้แก่บริษัท อมตะ บี. กริม เพาเวอร์ (ระยอง 2) จำกัด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
โมห์ แอนด์ แอสโซซิเอท อิงค์ (Moh and Associates, Inc.) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ นิปปอน โคอิ คัมปะนี ลิมิเต็ด (Nippon Koei Co., Ltd.) จากประเทศญี่ปุ่น ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการทางวิศวกรรมในการให้คำปรึกษาและควบคุมการก่อสร้างสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร (สายสีน้ำเงิน) ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 53 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 2,107 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทย จำนวน 1,074 คน
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 ที่มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จนถึงเดือนมีนาคม 2554 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจไปแล้ว 2,674 ราย และมีเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 139,227 ล้านบาท ประเทศที่เข้ามาลงทุนสามอันดับแรกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 36) สิงคโปร์ (ร้อยละ 15) และเยอรมนี (ร้อยละ 6) ตามลำดับ