สสว. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาชิก CICA จำนวน 23 ประเทศ ระบุเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึก สร้างเครือข่ายธุรกิจ ขยายโอกาสธุรกิจ และเพิ่มจุดแข็ง ลบจุดอ่อนให้แก่เอสเอ็มอีในกลุ่มประเทศสมาชิก
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการจัดประชุม CICA Business Forum and SMEs Networking โดยมีสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพว่า ความสำคัญของการประชุมดังกล่าวจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร่วมกันในหมู่ประเทศสมาชิกของ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) และยังเป็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือต่างๆ ในหมู่สมาชิก เช่น การผลิต แรงงาน เป็นต้น รวมถึง ช่วยขยายโอกาสทางการตลาดระหว่างเอสเอ็มอีไทยในแต่ละอุตสาหกรรมที่จะไปเปิดตลาดใหม่ๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิก
“การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ จะช่วยแชร์ต้นทุนและเพิ่มศักยภาพ โดยนำจุดอ่อนและจุดแข็งในการพัฒนาเอสเอ็มอีของแต่ละประเทศมาเสริมกันและกัน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ทั้งด้านแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ และสร้างโอกาสการตลาดในกลุ่มประเทศใหม่ๆ และเชื่อมโยงกับเครือข่ายใหม่ๆ” รองนายกฯ กล่าว
ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร กล่าวเสริมว่า สำหรับประเทศสมาชิกจะได้รับประโยชน์แนวทางพัฒนาเอสเอ็มอีไทยในด้านความหลากหลาย และความยืดหยุ่นที่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ นานามาได้ อีกทั้ง การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์พัฒนาเอสเอ็มอี เป็นต้น ส่วนเอสเอ็มอีไทยจะได้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และนวัตกรรมต่างๆ จากประเทศสมาชิกที่มีความชำนาญ เช่น ตุรกีที่ชำนาญด้านต่อเรือ หรือประเทศที่แตกตัวมาจากรัสเซีย เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ เป็นต้น
สำหรับ CICA จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2535 เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ปัจจุบันมีสมาชิก 23 ประเทศ โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ.2547
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการจัดประชุม CICA Business Forum and SMEs Networking โดยมีสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพว่า ความสำคัญของการประชุมดังกล่าวจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร่วมกันในหมู่ประเทศสมาชิกของ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) และยังเป็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือต่างๆ ในหมู่สมาชิก เช่น การผลิต แรงงาน เป็นต้น รวมถึง ช่วยขยายโอกาสทางการตลาดระหว่างเอสเอ็มอีไทยในแต่ละอุตสาหกรรมที่จะไปเปิดตลาดใหม่ๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิก
“การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ จะช่วยแชร์ต้นทุนและเพิ่มศักยภาพ โดยนำจุดอ่อนและจุดแข็งในการพัฒนาเอสเอ็มอีของแต่ละประเทศมาเสริมกันและกัน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ทั้งด้านแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ และสร้างโอกาสการตลาดในกลุ่มประเทศใหม่ๆ และเชื่อมโยงกับเครือข่ายใหม่ๆ” รองนายกฯ กล่าว
ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร กล่าวเสริมว่า สำหรับประเทศสมาชิกจะได้รับประโยชน์แนวทางพัฒนาเอสเอ็มอีไทยในด้านความหลากหลาย และความยืดหยุ่นที่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ นานามาได้ อีกทั้ง การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์พัฒนาเอสเอ็มอี เป็นต้น ส่วนเอสเอ็มอีไทยจะได้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และนวัตกรรมต่างๆ จากประเทศสมาชิกที่มีความชำนาญ เช่น ตุรกีที่ชำนาญด้านต่อเรือ หรือประเทศที่แตกตัวมาจากรัสเซีย เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ เป็นต้น
สำหรับ CICA จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2535 เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ปัจจุบันมีสมาชิก 23 ประเทศ โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ.2547