มทร.ธัญบุรี เผยภาพรวมของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หันใส่ใจตลาดแรงงาน เน้นบัณฑิตจบใหม่แล้วต้องมีงานทำ สถาบันพร้อมปูพรมอบรมอาชีพนักศึกษาว่างงาน นำข้ออมูลเชิงสถิติชี้วัดความสำเร็จ พบวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ครองสถิติบัณฑิตมีงานทำสูงสุด
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า จากการสำรวจประจำปีของมหาวิทยาลัยฯ ถึงสถิติการมีงานทำของบัณฑิตใหม่ ปีการศึกษา 2551 โดยมีบัณฑิต ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4,884 คน คิดเป็น 98.39% ของบัณฑิตทั้งหมด พบว่า สถิติการมีงานทำสูงถึง 81.47% ขณะที่บางส่วน 4.10% เลือกที่จะศึกษาต่อ
จากสถิติการมีงานทำของบัณฑิตใหม่ดังกล่าว หากวิเคราะห์เป็นรายคณะจะพบว่า วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ครองสถิติบัณฑิตมีงานทำสูงสุด 94.87 % ถัดมาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 92.79 % คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 84.39 % คณะศิลปศาสตร์ 83.93% คณะบริหารธุรกิจ 80.33%
ส่วนคณะเทคโนโลยีการเกษตร มีสถิติบัณฑิตได้งานทำสูงไม่แพ้กัน 76.44% คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 76.12% คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 75.64% คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 74.23% คณะวิศวกรรมศาสตร์ 73.96% คณะศิลปศาสตร์ 6.25% โดยพบว่าในคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มีบัณฑิตที่สนใจศึกษาต่อมากที่สุด 8.40% สำหรับบัณฑิตบางส่วนที่อยู่ระหว่างหางาน รศ.ดร.นำยุทธ บอกว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ทำการจัดคอร์สฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มเติม เช่น ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ อาชีพเสริมด้านต่างๆ ซึ่งบางหลักสูตรก็เป็นการฝึกอบรมฟรี บางโครงการก็มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้จากสถิติบัณฑิตใหม่ได้งานทำสูงถึง 81.47% นั้น ส่งผลต่อความสนใจของนักเรียนนักศึกษาสำหรับการเปิดรับตรงเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าการนำข้อมูลเชิงสถิติการมีงานทำของคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จะทำให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาศึกษาได้มองเห็นโอกาสทางตลาดแรงงาน โดยปัจจุบันพฤติกรรมการเลือกศึกษาต่อของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายจะมองที่โอกาสทางการทำงาน จบแล้วมีงานทำหรือมีตลาดรองรับหรือไม่ ซึ่งตรงจุดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้นักศึกษามีอาชีพ หรือสามารถออกไปประกอบธุรกิจได้ด้วยตัวเอง จากการฝึกอบรมที่ทางสถาบันปูพื้นฐานให้ในช่วงระหว่างการศึกษา
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า จากการสำรวจประจำปีของมหาวิทยาลัยฯ ถึงสถิติการมีงานทำของบัณฑิตใหม่ ปีการศึกษา 2551 โดยมีบัณฑิต ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4,884 คน คิดเป็น 98.39% ของบัณฑิตทั้งหมด พบว่า สถิติการมีงานทำสูงถึง 81.47% ขณะที่บางส่วน 4.10% เลือกที่จะศึกษาต่อ
จากสถิติการมีงานทำของบัณฑิตใหม่ดังกล่าว หากวิเคราะห์เป็นรายคณะจะพบว่า วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ครองสถิติบัณฑิตมีงานทำสูงสุด 94.87 % ถัดมาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 92.79 % คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 84.39 % คณะศิลปศาสตร์ 83.93% คณะบริหารธุรกิจ 80.33%
ส่วนคณะเทคโนโลยีการเกษตร มีสถิติบัณฑิตได้งานทำสูงไม่แพ้กัน 76.44% คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 76.12% คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 75.64% คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 74.23% คณะวิศวกรรมศาสตร์ 73.96% คณะศิลปศาสตร์ 6.25% โดยพบว่าในคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มีบัณฑิตที่สนใจศึกษาต่อมากที่สุด 8.40% สำหรับบัณฑิตบางส่วนที่อยู่ระหว่างหางาน รศ.ดร.นำยุทธ บอกว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ทำการจัดคอร์สฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มเติม เช่น ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ อาชีพเสริมด้านต่างๆ ซึ่งบางหลักสูตรก็เป็นการฝึกอบรมฟรี บางโครงการก็มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้จากสถิติบัณฑิตใหม่ได้งานทำสูงถึง 81.47% นั้น ส่งผลต่อความสนใจของนักเรียนนักศึกษาสำหรับการเปิดรับตรงเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าการนำข้อมูลเชิงสถิติการมีงานทำของคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จะทำให้เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาศึกษาได้มองเห็นโอกาสทางตลาดแรงงาน โดยปัจจุบันพฤติกรรมการเลือกศึกษาต่อของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายจะมองที่โอกาสทางการทำงาน จบแล้วมีงานทำหรือมีตลาดรองรับหรือไม่ ซึ่งตรงจุดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้นักศึกษามีอาชีพ หรือสามารถออกไปประกอบธุรกิจได้ด้วยตัวเอง จากการฝึกอบรมที่ทางสถาบันปูพื้นฐานให้ในช่วงระหว่างการศึกษา