สถาบันแพทย์แผนไทย สร้างมูลค่าเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติไทย นำร่องใช้ประโยชน์น้ำแร่จากน้ำพุร้อน 7 แห่ง สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมผุดไอเดียพัฒนาชาชงสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 8 ตำรับ เน้นสมุนไพรทั่วทุกภูมิภาคจับลงซองเอาใจคนรักสุขภาพ
นายปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทสมุนไพรสู่ตลาดสากลอย่างยั่งยืน โดยศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร ภายใต้สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่ต่างๆ มาเข้าสู่กระบวนการสร้างมูลค่าและต่อยอดในการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง โดยล่าสุดได้พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำแร่จากแหล่งน้ำพุร้อน 7 แห่งของเมืองไทยมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า มีความเป็นนวัตกรรม และเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อการดำเนินการทางการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศต่อไป
“ขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไฮไลท์ของโครงการฯ ที่สามารถพัฒนาสู่ตลาดสากลได้แน่นอน คือ ผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาแร่ธาตุจากน้ำพุร้อนแต่ละแห่ง จำนวน 7 แห่ง เช่น น้ำพุร้อนป่าตึง จังหวัดเชียงราย, น้ำพุร้อนฝาง จังหวัดเชียงใหม่, น้ำพุร้อนท่าสะท้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาบรรจุไว้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดวกต่อการใช้งาน ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ได้มาตรฐานและมีการใช้กระบวนการผลิตที่คำนึงถึงการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากน้ำแร่ พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น การเติมสารสกัดสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นเข้าไปซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเสริมฤทธิ์ของน้ำแร่ให้มากยิ่งขึ้น”
นอกจากนี้ ผลงานเด่นอีกชิ้นหนึ่งของโครงการคือ “การพัฒนาชาชงสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 8 ตำรับ” ซึ่งทำการศึกษาวิจัยโดยวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการดูแลรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
สำหรับชาชงสมุนไพร 8 ตำรับดังกล่าว ใช้สมุนไพรที่คัดเลือกจากสมุนไพรที่มีอยู่ในภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งจะแบ่งเป็นชาชงตำรับภาคเหนือ 4 ตำรับ ได้แก่ ตำรับปัญจขันธ์ ตำรับมะตูม ตำหรับมะขามป้อม ตำรับขิง และภาคใต้ 4 ตำรับ ได้แก่ ตำรับบำรุงร่างกาย ตำรับใบบัวบก ตำรับส้มแขก ตำรับชุมเห็ดเทศ ซึ่งนอกจากการพัฒนาและปรับปรุงรสชาติให้เป็นรสนิยมสากลแล้ว ก็ยังได้ฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิดในตำรับต่างๆ ที่เหมาะกับความต้องการในการนำไปรับประทานเพื่อเสริมสุขภาพได้อีกด้วย โดยจะมีวางจำหน่ายทั้งในพื้นที่ท้องถิ่น และตามงานแฟร์ต่างๆ เช่นเดียวกัน
นายปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทสมุนไพรสู่ตลาดสากลอย่างยั่งยืน โดยศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร ภายใต้สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่ต่างๆ มาเข้าสู่กระบวนการสร้างมูลค่าและต่อยอดในการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง โดยล่าสุดได้พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำแร่จากแหล่งน้ำพุร้อน 7 แห่งของเมืองไทยมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า มีความเป็นนวัตกรรม และเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อการดำเนินการทางการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศต่อไป
“ขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไฮไลท์ของโครงการฯ ที่สามารถพัฒนาสู่ตลาดสากลได้แน่นอน คือ ผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาแร่ธาตุจากน้ำพุร้อนแต่ละแห่ง จำนวน 7 แห่ง เช่น น้ำพุร้อนป่าตึง จังหวัดเชียงราย, น้ำพุร้อนฝาง จังหวัดเชียงใหม่, น้ำพุร้อนท่าสะท้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาบรรจุไว้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดวกต่อการใช้งาน ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ได้มาตรฐานและมีการใช้กระบวนการผลิตที่คำนึงถึงการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากน้ำแร่ พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น การเติมสารสกัดสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นเข้าไปซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเสริมฤทธิ์ของน้ำแร่ให้มากยิ่งขึ้น”
นอกจากนี้ ผลงานเด่นอีกชิ้นหนึ่งของโครงการคือ “การพัฒนาชาชงสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 8 ตำรับ” ซึ่งทำการศึกษาวิจัยโดยวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี เพื่อตอบสนองแนวโน้มความต้องการดูแลรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
สำหรับชาชงสมุนไพร 8 ตำรับดังกล่าว ใช้สมุนไพรที่คัดเลือกจากสมุนไพรที่มีอยู่ในภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งจะแบ่งเป็นชาชงตำรับภาคเหนือ 4 ตำรับ ได้แก่ ตำรับปัญจขันธ์ ตำรับมะตูม ตำหรับมะขามป้อม ตำรับขิง และภาคใต้ 4 ตำรับ ได้แก่ ตำรับบำรุงร่างกาย ตำรับใบบัวบก ตำรับส้มแขก ตำรับชุมเห็ดเทศ ซึ่งนอกจากการพัฒนาและปรับปรุงรสชาติให้เป็นรสนิยมสากลแล้ว ก็ยังได้ฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิดในตำรับต่างๆ ที่เหมาะกับความต้องการในการนำไปรับประทานเพื่อเสริมสุขภาพได้อีกด้วย โดยจะมีวางจำหน่ายทั้งในพื้นที่ท้องถิ่น และตามงานแฟร์ต่างๆ เช่นเดียวกัน