ประธานหอการค้าไทย ชี้ เปิดเสรีการค้าบริการของไทยในอาเซียน ยังน่าห่วง เพราะคนไทยรับรู้เรื่องเหล่านี้น้อย โดยเฉพาะเอสเอ็มอี น่าห่วงสุด ถ้ายังไม่ปรับตัว หัวใจสำคัญ อยู่ที่การลดต้นทุนให้ต่ำสุด แนะรวมตัวเพื่อความแข็งแกร่งยิ่งใหญ่และแก้ปัญหาขาดเงินทุนได้ พร้อมประเมินตัวเองจากการดูเพื่อนบ้าน เชื่อเปิดเสรีครั้งนี้ ใครพร้อมก่อนโอกาสก็จะเป็นของประเทศนั้น
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึง การเปิดเสรีการค้าบริการของไทยใน AEC ว่า ที่ผ่านมา คนไทยยังให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้น้อยมาก ทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และการเซ็นสัญญาการเปิดเสรีการค้า หัวใจที่สำคัญที่สุด คือ กรอบอาเซียน โดยร้อยละ 70 ของจีดีพี มาจากรายได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
จากประสบการณ์จะเห็นว่าการที่เราไปพึ่งการส่งออกในกลุ่มประเทศยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา มากเกินไป เมื่อตลาดเหล่านี้พังเราก็พังตามไปด้วย ดังนั้น ตลาดอาเซียนน่าจะเป็นทางออกให้กับผู้ประกอบการในการเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้ เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น ซึ่งไทยจะได้เปรียบเพราะเราจะรู้จักวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตของคนในอาเซียนได้ดี การเปิดเสรีการค้าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย
สำหรับในแง่ศักยภาพในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรี สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม เมื่อภัยมาถึงตัว ก็ต้องปรับตัวให้ทัน เอสเอ็มอี ต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ โดยต้องบริหารกิจการภายในให้มีต้นทุนที่ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ และต้องดูศักยภาพของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์เขาเป็นอย่าไรกัน และนำมาประเมินตัวเอง และพัฒนาให้พร้อมรับมือกับการแข่งขัน เพราะการเปิดเสรีคนที่พร้อมกว่า ก็จะสามารถช่วงชิงตลาดได้ก่อน โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศไทยเรามีรายจ่ายตรงจุดนี้ สูงเป็นอันดับต้นของโลก คืออยู่ที่ร้อยละ 19 ขนาดที่ประเทศญี่ปุ่น หรือ สหรัฐอเมริกา มีรายจ่ายตรงจุดนี้ เพียง 4-5% เท่านั้น
ทั้งนี้ ปัญหาของเอสเอ็มอี ที่สำคัญ คือ ขาดแคลนเงินทุน ซึ่งเอสเอ็มอี ต้องมาปรับกลยุทธ์ หาแหล่งเงินทุน โดยต้องรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว และการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว ทำให้เรามีความแข็งแกร่ง และสุดท้าย เมื่อเก่งในภูมิภาค เก่งในประเทศ โอกาสในขยายตลาดไปสู่ภูมิภาคอาเซียนก็ไม่ใช่เรื่องยาก
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึง การเปิดเสรีการค้าบริการของไทยใน AEC ว่า ที่ผ่านมา คนไทยยังให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้น้อยมาก ทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และการเซ็นสัญญาการเปิดเสรีการค้า หัวใจที่สำคัญที่สุด คือ กรอบอาเซียน โดยร้อยละ 70 ของจีดีพี มาจากรายได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
จากประสบการณ์จะเห็นว่าการที่เราไปพึ่งการส่งออกในกลุ่มประเทศยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา มากเกินไป เมื่อตลาดเหล่านี้พังเราก็พังตามไปด้วย ดังนั้น ตลาดอาเซียนน่าจะเป็นทางออกให้กับผู้ประกอบการในการเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้ เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น ซึ่งไทยจะได้เปรียบเพราะเราจะรู้จักวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตของคนในอาเซียนได้ดี การเปิดเสรีการค้าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย
สำหรับในแง่ศักยภาพในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรี สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม เมื่อภัยมาถึงตัว ก็ต้องปรับตัวให้ทัน เอสเอ็มอี ต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ โดยต้องบริหารกิจการภายในให้มีต้นทุนที่ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ และต้องดูศักยภาพของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์เขาเป็นอย่าไรกัน และนำมาประเมินตัวเอง และพัฒนาให้พร้อมรับมือกับการแข่งขัน เพราะการเปิดเสรีคนที่พร้อมกว่า ก็จะสามารถช่วงชิงตลาดได้ก่อน โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศไทยเรามีรายจ่ายตรงจุดนี้ สูงเป็นอันดับต้นของโลก คืออยู่ที่ร้อยละ 19 ขนาดที่ประเทศญี่ปุ่น หรือ สหรัฐอเมริกา มีรายจ่ายตรงจุดนี้ เพียง 4-5% เท่านั้น
ทั้งนี้ ปัญหาของเอสเอ็มอี ที่สำคัญ คือ ขาดแคลนเงินทุน ซึ่งเอสเอ็มอี ต้องมาปรับกลยุทธ์ หาแหล่งเงินทุน โดยต้องรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว และการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว ทำให้เรามีความแข็งแกร่ง และสุดท้าย เมื่อเก่งในภูมิภาค เก่งในประเทศ โอกาสในขยายตลาดไปสู่ภูมิภาคอาเซียนก็ไม่ใช่เรื่องยาก