แบงก์ชาติ จับมือ บสย. อุ้มเอสเอ็มอี ลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอี วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท แจงงดเก็บในปีแรก ส่วนปีที่ 2-5 คิดร้อยละ 1.75 ต่อปี เตรียมชงเรื่องเสนอ ครม. อนุมัติ
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและบริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีความเห็นให้ลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อโครงการ บสย. ให้แก่ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เข้าร่วมโครงการฯ วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ความช่วยเหลือแบ่งเป็นปีแรก บสย. จะงดเก็บค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อกับลูกค้า ส่วนปีที่ 2-5 จะคิดค่าธรรมเนียมปกติ ร้อยละ 1.75 ต่อปี รวมแล้วตลอดโครงการ 5 ปี ลูกค้าเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้ส่วนลดค่าธรรมเนียมรวมร้อยละ 7 ต่อปี จากเดิมที่ ในระยะเวลา 5 ปี และต้องจ่ายรวมร้อยละ 8.75 อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบก่อน ถึงจะมีผลในทางปฏิบัติได้
นอกจากนี้ ยังขยายเพดานขนาดสินเชื่อ สำหรับลูกค้าที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการได้มากขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้เข้าร่วมได้เฉพาะลูกค้าที่มีขนาดสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 40 ล้านบาท นอกจากนี้ ธปท. ยังเสนอให้มีการขยายระยะเวลาโครงการค้ำประกันเพิ่มขึ้น จากเดิมจะสิ้นสุดในระยะ 5 ปี และขยายประเภทธุรกิจให้สามารถเข้าร่วมได้มากขึ้น
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและบริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีความเห็นให้ลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อโครงการ บสย. ให้แก่ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เข้าร่วมโครงการฯ วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ความช่วยเหลือแบ่งเป็นปีแรก บสย. จะงดเก็บค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อกับลูกค้า ส่วนปีที่ 2-5 จะคิดค่าธรรมเนียมปกติ ร้อยละ 1.75 ต่อปี รวมแล้วตลอดโครงการ 5 ปี ลูกค้าเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้ส่วนลดค่าธรรมเนียมรวมร้อยละ 7 ต่อปี จากเดิมที่ ในระยะเวลา 5 ปี และต้องจ่ายรวมร้อยละ 8.75 อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบก่อน ถึงจะมีผลในทางปฏิบัติได้
นอกจากนี้ ยังขยายเพดานขนาดสินเชื่อ สำหรับลูกค้าที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการได้มากขึ้น จากเดิมที่กำหนดให้เข้าร่วมได้เฉพาะลูกค้าที่มีขนาดสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 40 ล้านบาท นอกจากนี้ ธปท. ยังเสนอให้มีการขยายระยะเวลาโครงการค้ำประกันเพิ่มขึ้น จากเดิมจะสิ้นสุดในระยะ 5 ปี และขยายประเภทธุรกิจให้สามารถเข้าร่วมได้มากขึ้น