แบงก์อิสลาม เตรียมเพิ่มทุนปล่อยสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ภายใต้นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 6 โครงการ เล็งสนับสนุนธุรกิจ เอส เอ็ม อี และธุรกิจฮาลาล สินเชื่อรากหญ้า
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติเพิ่มทุนอีก 6,000 บาท ซึ่งแผนการเพิ่มทุนดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยได้รับจัดสรรเงินกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้
สำหรับเงินเพิ่มทุนใหม่นั้น นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า จะนำมาขยายสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนที่จะปล่อยสินเชื่อกว่า 20,000 ล้านบาท ภายใต้นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งมีโครงการรวม 6 โครงการ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ทดแทนซอร์ฟ โลน สินเชื่อเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอาชีพให้บริการรถสาธารณะ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจ เอส เอ็ม อี และธุรกิจฮาลาล สินเชื่อรากหญ้า ไอ-แบงก์ คอมมูนิตี้ แบงก์ และสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์ หนี้นอกระบบ สินเชื่อโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเพื่อยกระดับการศึกษา และสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบกิจการฮัจย์
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามฯ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ธนาคารปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 27,000 ล้านบาท และจะมีเงินคงเหลือที่จะปล่อยสินเชื่อได้อีกเพียง 4,000 ล้านบาท เท่านั้น ธนาคารจึงต้องมีการเพิ่มทุนอีก 6,000 ล้านบาท เพื่อขยายสินเชื่อใหม่ได้ประมาณ 60,000 ล้านบาท
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติเพิ่มทุนอีก 6,000 บาท ซึ่งแผนการเพิ่มทุนดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยได้รับจัดสรรเงินกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้
สำหรับเงินเพิ่มทุนใหม่นั้น นายธีรศักดิ์ กล่าวว่า จะนำมาขยายสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาลและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนที่จะปล่อยสินเชื่อกว่า 20,000 ล้านบาท ภายใต้นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งมีโครงการรวม 6 โครงการ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ทดแทนซอร์ฟ โลน สินเชื่อเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอาชีพให้บริการรถสาธารณะ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจ เอส เอ็ม อี และธุรกิจฮาลาล สินเชื่อรากหญ้า ไอ-แบงก์ คอมมูนิตี้ แบงก์ และสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์ หนี้นอกระบบ สินเชื่อโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเพื่อยกระดับการศึกษา และสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบกิจการฮัจย์
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามฯ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ธนาคารปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 27,000 ล้านบาท และจะมีเงินคงเหลือที่จะปล่อยสินเชื่อได้อีกเพียง 4,000 ล้านบาท เท่านั้น ธนาคารจึงต้องมีการเพิ่มทุนอีก 6,000 ล้านบาท เพื่อขยายสินเชื่อใหม่ได้ประมาณ 60,000 ล้านบาท