พาณิชย์ จับมือเอสเอ็มอีแบงก์ ช่วยผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยกว่า 1,500 ราย หลังพบมีรายได้ลดลง 30-50% ชี้ผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ พบติดปัญหาเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันภาระอัตราดอกเบี้ยสูงคาดจะมีวงเงินสินเชื่อรวมเบื้องต้นของโครงการจำนวน 1,000 - 1,500 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินรายละ 2 - 5 ล้านบาท
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานกรรมการโลจิสติกส์การค้า กล่าวถึงแนวทางความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ในมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ว่า จากการประชุมโลจิสติกส์การค้าสัญจรของกระทรวงพาณิชย์ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาที่ลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง พบว่าผู้ประกอบการโลจิสติกส์กว่า 15,000 บริษัท ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ประกอบด้วยธุรกิจขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ธุรกิจชิปปิ้ง ธุรกิจตัวแทนดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร ธุรกิจรับจัดเก็บดูแลสินค้า และธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีรายได้และปริมาณงานลดลงมากกว่าร้อยละ 30-50 ขณะที่ต้นทุนของการให้บริการสูงขึ้นหลายบริษัทเริ่มปิดกิจการลง จึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
ทั้งนี้บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารของรัฐได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันภาระอัตราดอกเบี้ยที่สูง และในบางรายยังประสบปัญหาในเรื่องเครดิตบูโรและหากปัญหายืดเยื้อจะส่งผลต่อการจ้างงานซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องถึงเกือบ 80,000-100,000 คน ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือธุรกิจนี้อย่างทันท่วงทีและในฐานะประธานกรรมการโลจิสติกส์การค้า จึงได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของเอสเอ็มอีแบงก์ เข้าร่วมหารือกับทางกระทรวงพาณิชย์เพื่อจัดทำข้อตกลง “สินเชื่อ SME Power เพื่อธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ SME Bank”
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของข้อตกลงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะการส่งออกและการค้าที่ตกต่ำลงให้มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีวงเงินสินเชื่อรวมเบื้องต้นของโครงการจำนวน 1,000 - 1,500 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินรายละ 2 - 5 ล้านบาท มีระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น 1 ปี อัตราดอกเบี้ยถ้าเป็นไปได้น่าจะเท่ากับธุรกิจท่องเที่ยวที่ทางธนาคารมีโครงการอยู่ ในอัตรา MLR ลบร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนหลักประกันสามารถใช้บุคคลค้ำประกันไขว้กัน โดยผู้ขอสินเชื่อตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปต้องยื่นขอสินเชื่อพร้อมกันและค้ำประกันให้กันและกัน เบื้องต้นทางกระทรวงพาณิชย์และเอสเอ็มอีแบงก์ จะตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดรายละเอียดของข้อตกลง และรายละเอียดของโครงการและเร่งลงนามภายในเดือน ก.ค.นี้
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานกรรมการโลจิสติกส์การค้า กล่าวถึงแนวทางความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ในมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ว่า จากการประชุมโลจิสติกส์การค้าสัญจรของกระทรวงพาณิชย์ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาที่ลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง พบว่าผู้ประกอบการโลจิสติกส์กว่า 15,000 บริษัท ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ประกอบด้วยธุรกิจขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ธุรกิจชิปปิ้ง ธุรกิจตัวแทนดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร ธุรกิจรับจัดเก็บดูแลสินค้า และธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีรายได้และปริมาณงานลดลงมากกว่าร้อยละ 30-50 ขณะที่ต้นทุนของการให้บริการสูงขึ้นหลายบริษัทเริ่มปิดกิจการลง จึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
ทั้งนี้บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารของรัฐได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันภาระอัตราดอกเบี้ยที่สูง และในบางรายยังประสบปัญหาในเรื่องเครดิตบูโรและหากปัญหายืดเยื้อจะส่งผลต่อการจ้างงานซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องถึงเกือบ 80,000-100,000 คน ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือธุรกิจนี้อย่างทันท่วงทีและในฐานะประธานกรรมการโลจิสติกส์การค้า จึงได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของเอสเอ็มอีแบงก์ เข้าร่วมหารือกับทางกระทรวงพาณิชย์เพื่อจัดทำข้อตกลง “สินเชื่อ SME Power เพื่อธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ SME Bank”
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของข้อตกลงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะการส่งออกและการค้าที่ตกต่ำลงให้มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีวงเงินสินเชื่อรวมเบื้องต้นของโครงการจำนวน 1,000 - 1,500 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินรายละ 2 - 5 ล้านบาท มีระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น 1 ปี อัตราดอกเบี้ยถ้าเป็นไปได้น่าจะเท่ากับธุรกิจท่องเที่ยวที่ทางธนาคารมีโครงการอยู่ ในอัตรา MLR ลบร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนหลักประกันสามารถใช้บุคคลค้ำประกันไขว้กัน โดยผู้ขอสินเชื่อตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปต้องยื่นขอสินเชื่อพร้อมกันและค้ำประกันให้กันและกัน เบื้องต้นทางกระทรวงพาณิชย์และเอสเอ็มอีแบงก์ จะตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดรายละเอียดของข้อตกลง และรายละเอียดของโครงการและเร่งลงนามภายในเดือน ก.ค.นี้