ม.ศรีปทุม เผยโอกาสธุรกิจ ค้าปลีก-แฟรนไชส์ โตสวนกระแสเศรษฐกิจ มูลค่ากว่าสองล้านล้านบาท เสนอทุกภาคส่วนเร่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ รองรับ กระตุ้นภาคธุรกิจทั้งระบบเพิ่มสัดส่วนค้าปลีกและแฟรนไชส์ เชื่อเป็นฐานรากเศรษฐกิจแบบยั่งยืนในอนาคต
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์สากล (IRF) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจ ค้าปลีก และแฟรนไชส์ในประเทศไทย ว่าปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบธุรกิจค้าปลีกเป็นหนึ่งความสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงปี 2008 มูลค่าของธุรกิจไม่น้อยกว่า 780,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่น้อยกว่าสองล้านล้านบาท
“ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แม้ว่าประเทศจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร แต่ธุรกิจแฟรนไชส์และค้าปลีกจะเติบโตขึ้นต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบในด้านการพัฒนารูปแบบและการขยายพื้นที่ของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในตัวเมืองหลักจะเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก” นายพีระพงษ์กล่าว
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล ยังกล่าวต่อว่า ปัจจุบันบุคลากรที่มีความรู้เรื่องระบบค้าปลีก แฟรนไชส์ ของไทยยังมีน้อยมาก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกรายใหญ่ กลุ่มโมเดิร์นเทรด และผู้ประกอบการรายย่อยต่างประสบปัญหาและสร้างบุคลากรเฉพาะด้านขึ้นมารองรับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาล เอกชน สถาบันศึกษา เร่งผลิตและอบรมบุคลากรคุณภาพเพื่อรองรับธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ ให้มีโอกาสเติบโต เมื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบไทยเข้มแข็งแล้วเชื่อว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมต่อไป ธุรกิจแฟรนไชส์คือรากฐานหลักของประเทศ หากมีการเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นก็จะยิ่งมั่นคงต่อไป
นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์สากล (IRF) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจ ค้าปลีก และแฟรนไชส์ในประเทศไทย ว่าปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบธุรกิจค้าปลีกเป็นหนึ่งความสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงปี 2008 มูลค่าของธุรกิจไม่น้อยกว่า 780,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่น้อยกว่าสองล้านล้านบาท
“ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แม้ว่าประเทศจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร แต่ธุรกิจแฟรนไชส์และค้าปลีกจะเติบโตขึ้นต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบในด้านการพัฒนารูปแบบและการขยายพื้นที่ของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในตัวเมืองหลักจะเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก” นายพีระพงษ์กล่าว
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล ยังกล่าวต่อว่า ปัจจุบันบุคลากรที่มีความรู้เรื่องระบบค้าปลีก แฟรนไชส์ ของไทยยังมีน้อยมาก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกรายใหญ่ กลุ่มโมเดิร์นเทรด และผู้ประกอบการรายย่อยต่างประสบปัญหาและสร้างบุคลากรเฉพาะด้านขึ้นมารองรับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาล เอกชน สถาบันศึกษา เร่งผลิตและอบรมบุคลากรคุณภาพเพื่อรองรับธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ ให้มีโอกาสเติบโต เมื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบไทยเข้มแข็งแล้วเชื่อว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมต่อไป ธุรกิจแฟรนไชส์คือรากฐานหลักของประเทศ หากมีการเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นก็จะยิ่งมั่นคงต่อไป