จะทำอย่างไรเมื่อต้องรับภารกิจสืบทอดธุรกิจของครอบครัว ? ทายาทที่เตรียมตัวมาแล้วเท่านั้นใช่หรือไม่ที่จะนำพากิจการต่อไปได้ ? “อลิสา พันธุศักดิ์” ฝากฝีมือบริหาร “ทิฟฟานีโชว์” ขึ้นชั้นแบรนด์อินเตอร์ พร้อมไต่เวทีการเมืองท้องถิ่น
การสืบทอดธุรกิจเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการและธุรกิจจำนวนมากที่เมื่อถึงจุดหนึ่งจำเป็นต้องหาทายาทมารับช่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็นด้วยวัยที่เสื่อมถอยของเจ้าของกิจการหรือเถ้าแก่ที่อยากจะปลดเกษียณตัวเองสักทีหลังจากก่อร่างสร้างกิจการมาถึงจุดอิ่มตัวสำหรับตัวเอง รวมถึง สภาพการณ์การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคที่ต้องอาศัยคนรุ่นใหม่มาช่วยต่อกร
ในยุคนี้ที่ประเทศไทยกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวหันมาสร้างกิจการของตัวเองและภูมิใจกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ แทนที่จะเป็นลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือน ทำให้พ่อกับลูกหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น และการเรียนรู้ความสำเร็จจากการรับไม้ต่อหรือรักษาธุรกิจเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
สาวทายาทธุรกิจซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เรียกได้ว่า “young generation” เข้ามาเพื่อรักษาชื่อเสียงที่เฟื่องฟูของโชว์สวยอลังการของสาวประเภทสอง “ทิฟฟานีโชว์” จนติดจรวจ ตามสไตล์ของคนที่ชอบทำอะไรรวดเร็ว และกำลังกระโดดสู่สนามการเมืองท้องถิ่นเพื่อหันไปบริหารนอกวง แต่เป็นการบริหารภาพใหญ่ที่เชื่อมโยงกันและจะส่งผลสะท้อนกลับมาเสริมพื้นฐานของธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อยู่ที่ไหนก็ได้ เพื่อเรียนรู้เร็วที่สุด
หลังจากคว้าดีกรีบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน “อลิสา พันธุศักดิ์” ก็ถูกเรียกตัวกลับมาช่วยดูแลกิจการของครอบครัวด้วยความเป็นลูกสาวคนโตจากพี่น้อง 3 คนที่ล้วนเป็นผู้หญิงทั้งหมด ในขณะที่ ทายาทธุรกิจหลายคนคิดว่าการไปหาประสบการณ์จากองค์กรใหญ่ๆ ที่แข็งแรงเพื่อเรียนรู้โลกกว้างก่อนเป็นสิ่งสำคัญ แต่อลิสามองว่า ตรงไหนก็ตามที่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของตัวเองสำหรับการเรียนรู้ที่เร็วที่สุดก็จะเข้าไปรับโอกาสนั้น และการมารับช่วงต่อเพื่อดูแลธุรกิจครอบครัวที่มีพ่อเป็นโค้ชและที่ปรึกษา รวมทั้ง ความที่อายุน้อยทำให้ได้เปรียบ และยังมองว่าหากทำผิดพลาดก็เป็นการพลาดบนฟูกของตัวเอง
การดูแลสั่งสอนของพ่อ “สุธรรม พันธุศักดิ์” ทำให้เธอมีนิสัยติดตัวตั้งแต่เรื่องตั้งเป้าหมายและทำให้เห็นผล และสอนเรื่องเครดิตว่ามีความสำคัญมาก รวมทั้ง การวางตัวและสอนให้เกินเด็ก ในขณะที่ บุคลิกของความเป็นคนขยันและว่องไวมาก ทั้งในเรื่องของการตัดสินใจที่แน่วแน่บนพื้นฐานการคิดอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องของการลงทุนซึ่งต้องแน่ใจก่อนว่าจะต้องไม่เกิดความเสียหาย พร้อมกับความกล้าได้กล้าเสียซึ่งเป็นคุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ
"เรื่องเงินที่จะใช้ทำอะไรต้องคิดให้ได้ก่อนว่าจะต้องกำไรจึงจะลงทุน และความรู้ที่ร่ำเรียนมามากมายต้องเอามาใช้ให้หมด" อลิสา บอกถึงคำสอนของพ่อที่เตือนให้คิดอย่างรอบคอบอยู่ตลอด
ในตอนที่เธอเป็นวัยรุ่น แม่ซึ่งมีร้านแลกเงินต่างประเทศถึง 4 ร้าน และเป็นรายเดียวในพัทยาที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพราะในสมัยนั้นธนาคารยังไม่สามารถให้บริการนี้ได้ เธอจึงเข้าไปช่วยและมีโอกาสรับผิดชอบเงินจำนวนมากทั้งที่ยังเด็ก ซึ่งเป็นการสอนทางอ้อมให้เธอต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถดูแลเงินก้อนโตและละเอียดรอบคอบมากพอที่จะจัดการกับการแลกเงินสกุลต่างๆ ที่มีมากมายได้อย่างถูกต้อง ส่วนคำสอนทางตรงที่ได้รับคือการแบ่งปันเพราะแม่เป็นคนชอบการทำบุญทำทาน ทำให้เธอได้ซึมซับมาไว้ในตัว
สร้างความเชื่อมั่น วางฐานวัฒนธรรมองค์กร
แม้ว่าจะเป็นลูกเจ้าของ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการทำงาน นอกจากจะคิดและทำตามกรอบที่ได้รับมาแล้วด้วยการเรียนรู้งานอย่างลงลึกในรายละเอียดทั้งหมด เธอยังต้องสร้างการยอมรับและความก้าวหน้าให้ลูกน้อง ในช่วงแรกๆ ด้วยความอายุน้อยเพียง 23-24 แต่เพราะลุยทำงานอย่างหนักและใช้บุคลิกความเป็นเด็กทำให้เข้ากับทุกคนได้โดยไม่รู้สึกเกร็ง และรู้สึกเป็นเรื่องปกติสำหรับการตรวจสอบการทำงาน ซึ่งเป็นจุดที่ต่างจากสมัยพ่อที่มีเรื่องของความน่าเกรงขาม ทำให้คนที่ทำงานด้วยไม่กล้าพูดกล้าบอกหรือกล้าขอเปลี่ยนแปลงอะไร
"แรกๆ ต้องพิสูจน์ว่าเราทำได้ทุกอย่าง เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเราไม่รู้เราจะไม่สามารถทำให้คนมาทำงานกับเราและเบื่อหน่ายกับการทำงานกับเราเพราะเราไม่ได้ให้อะไรกับเขาและสอนเขาไม่เป็น เมื่อก่อนใช้เวลาประชุมเป็นวันๆ และรู้งานทุกอย่าง รู้แม้กระทั่งว่ามีการแสดงกี่ฉากกี่เวที ตรงไหนผิดต้องแก้ยังไง เพราะเด็กใหม่ก็ชอบลองภูมิ"
ด้วยความที่ชอบเรียนรู้และขยายงานไปพร้อมๆ กัน จึงมีการหาผู้บริหารมืออาชีพมาร่วมทีม และพัฒนาองค์กรด้วยการสร้างวัฒนธรรม ซึ่งในช่วง 4 ปีแรกเป็นช่วงที่บุคลากรทุกคนเรียนรู้วัฒนธรรมเดียวกันและทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเธอมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดสามารถมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน
แม้ว่าทิฟฟานี่โชว์จะประสบความสำเร็จมาถึง 20 ปีก่อนที่เธอจะเข้ามาบริหาร แต่นอกจากการมารักษาชื่อเสียงที่ดีอยู่แล้ว เป้าหมายที่วางไว้คือการต้องการให้เป็นโชว์ที่ดีที่สุด ดังนั้น ทุกปีจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดในเรื่องของการลงทุนและเพิ่มคุณภาพการบริการ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรว่าต้องตื่นตัวและกระตือรือร้นตลอดเวลา รู้จักคิด ตัดสินใจ สร้างงานเป็น และพร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจที่สุด ซึ่งรวมทั้งความคิดเห็นของลูกค้าและคนทั่วไปที่ออกมาตามสื่อต่างๆ แม้กระทั่งในอินเตอร์เน็ต จะต้องให้มีแต่เรื่องที่พูดถึงในทางที่ดีเท่านั้น ถ้ามีเรื่องไม่ดีจะต้องนำไปแก้ไขทันที เพื่อให้โชว์ของทิฟฟานีสามารถเพิ่มราคาได้ทุกปี
"เวลาเราสู้เราสู้กับตัวเอง ต้องทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ เอาแรงติของคนอื่นมาเป็นแรงผลักดันให้ทำดีให้ได้ ทำให้เห็นว่าเรากำลังมาถูกทาง และเมื่อทำได้ตามเป้าหมายจะได้ผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ เพื่อจะให้ตั้งใจทำดีขึ้นไปอีก เมื่อต้องเป็นเลิศไปทุกอย่าง ทำทุกอย่างสุดๆ ทุกรายละเอียด ทำให้ทุกคนมีวัฒนธรรมอย่างนี้" อลิสา อธิบายเบื้องหลังสิ่งที่ลูกค้าเห็น
พิสูจน์ฝีมือ ยกระดับแบรนด์
ก่อนที่จะมานั่งบริหารเต็มตัว ในช่วงเรียนปริญญาตรี เธอก็มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและเป็นก้าวแรกที่เข้าไปร่วมเสนอแนะในเรื่องของธุรกิจด้วยการบอกให้เปลี่ยนวิธีการจัดการขายตั๋วแบบใหม่จากระบบฉีกตั๋วซึ่งเป็นจุดอ่อนเป็นระบบพิมพ์ตั๋ว เพื่อให้การทำงานมีความทันสมัยและไม่อยากให้เกิดการรั่วไหลของรายได้ แต่กว่าจะทำได้ต้องใช้เวลาเป็นปี อย่างไรก็ตาม การรับช่วงกิจการมาดูแลเมื่อ 8 ปีก่อน หมายถึงการรับปัญหาใหญ่มาแบกเอาไว้ด้วย ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ในเวลานั้นคือราคา
"เมื่อก่อนปวดหัวทุกวัน เพราะถูกกดดันเรื่องราคาจากเอเย่นต์ รู้สึกว่าไม่มีศักดิ์ศรีต้องขายราคาต่ำๆ จนกระทั่ง ต้องหาทางปรับตัวใหม่หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และใช้การประชาสัมพันธ์ควบคู่กันไป สุดท้ายสามารถตั้งราคาได้สูงอย่างที่ควรจะเป็นและสูงกว่าคู่แข่ง ยกระดับราคาและภาพลักษณ์ได้ภายใน 3 เดือน"
"ตอนนี้ทิฟฟานีเป็นโชว์ที่แพงที่สุดในพัทยา ถ้าทำให้แตกต่างและสร้างแบรนด์ให้แข็ง หลายปีแล้วที่ไม่ต้องง้อลูกค้า มีแต่ลูกค้าถามว่าเมื่อไรจะลดราคาให้ เมื่อก่อนมีเอเย่นต์มากดดันต่อรองราคาและบอกว่านี่ก็คือเงิน แต่เราบอกว่าใช่ มันคือเงิน แต่มันจะทำให้เงินที่อยู่ในกระเป๋าเราไหลออกไปด้วย เราจึงตัดเอเย่นต์รายนั้น ซึ่งในที่สุดเอเย่นต์รายนั้นก็เจ๊ง ซึ่งถ้าตอนนั้นเรามองอย่างเขา กลายเป็นว่าจะต้องลดราคาให้ทุกคน และในที่สุดธุรกิจเราต้องเจ๊งไปด้วย ตอนนี้การทำงานอยู่ตัวมากไม่เหนื่อยแล้ว มองกลับไปก็เห็นชัดว่าทุกอย่างอยู่ที่เรา"
"ลูกค้าต้องพอใจและมองเราเป็นมืออาชีพ งานเลือกแบรนด์และแบรนด์ต้องรองรับงานนั้นให้ได้ ทิฟฟานีโชว์มีเอกลักษณ์ที่สามารถรวมทั้งความเป็นเอเชียและฝรั่งเข้ามาไว้ในการแสดง มีการสร้างสรรค์ทั้งการร้อง การเต้น และการแสดงเลียนแบบ ด้วยชุดที่อลังการ ให้ความบันเทิงอย่างมีศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดความประทับใจและตื่นตาตื่นใจ" อลิสา ตอกย้ำการเพิ่มศักยภาพขององค์กร
ทิฟฟานีโชว์ขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้จ่ายแล้ว ยังออกไปแสดงโชว์ในต่างประเทศสร้างรายได้กลับเข้ามาในประเทศมากมาย ในขณะที่ โรงแรมวูดแลนด์ซึ่งตีคู่ขึ้นมาเป็นธุรกิจหลักกำลังขยายธุรกิจด้วยการลงทุนเฟสใหม่เพื่อจับกลุ่มลูกค้านักธุรกิจ พร้อมไปกับการยกระดับเป็น 5 ดาว ด้วยราคาห้องพักระดับ 5,000- 1 หมื่นกว่าบาท เพราะมองว่าพัทยาไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวที่มาเพื่อการพักผ่อนเท่านั้น แต่เป็นเมืองที่รองรับนักธุรกิจได้ด้วย
สำหรับทายาทที่มีสายเลือดนักบริหารเต็มตัว นอกจากจะใช้ความสามารถในการรักษาธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไปได้แล้ว การฟื้นธุรกิจที่ล้มเหลวให้ได้กำไรเป็นความท้าทายเช่นกัน สถานภาพของโรงแรมซึ่งพ่อสร้างไว้แต่ไม่มีเวลามาดูแลก่อนที่เธอจะเข้ามาบริหารนั้นอยู่ในสภาพขาดทุนต่อเนื่องมา 8 ปี จากเงินลงทุนก้อนแรก 60 ล้านบาท แต่เธอใช้เวลา 1 ปีพลิกฟื้นจนได้กำไร ด้วยการปรับมาตรฐานห้องพัก 134 ห้อง จาก 3 ดาว เป็น 4 ดาว จากราคาห้องละ 1,200 บาท เป็น 4,000 บาท และยังทำร้านเบเกอรี่ซึ่งเติบโตมากจากเล็กๆ ไม่กี่ที่นั่งเป็น 60 ที่นั่ง เพราะต้องการสร้างชื่อเสียงในธุรกิจให้เป็นที่รู้จักของคนท้องถิ่น
"การใช้กลยุทธ์ความแตกต่างซึ่งมีเอกลักษณ์ ความสะดวกสบายแบบง่ายๆ และอยู่ในเมืองเป็นจุดขาย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษและสแกนดิเนเวีย จนกระทั่งดีมานด์มากกว่าซัปพลาย กลายเป็นว่าเราสามารถเป็นฝ่ายเลือกตลาดและทำได้สำเร็จจนรู้สึกว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับความคิดความต้องการของเรา และเป็นการแข่งกับตัวเองมากกว่า เพราะคนอื่นก็ต้องหาจุดแข็งของตัวเอง"
ฝ่าความท้าทายใหม่ บริหารรัฐกิจควบคู่ธุรกิจ
จากวันแรกที่มารับสืบทอดธุรกิจถึงปัจจุบัน 8 ปีแล้ว เมื่อได้ฝากฝีมือการบริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้เห็นกันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดชื่อเสียงของทิฟฟานีโชว์ซึ่งเป็นโชว์ของสาวประเภทสองที่ดังไปไกลถึงระดับนานาชาติ และมองว่าธุรกิจบันเทิงยังไปได้อีกไกลเพียงแต่มีสินค้าและการพัฒนาอย่างถูกทิศทาง ในขณะที่ ธุรกิจโรงแรมกำลังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีน้องสาวซึ่งมีความเก่งในเรื่องการเงินมาช่วยกันดูแลธุรกิจของครอบครัว ทำให้เธอขยับบทบาทขึ้นไปดูภาพรวมของธุรกิจเป็นหลัก และมีเวลาเหลือมากพอที่จะเข้าไปทุ่มเทให้กับการเมืองท้องถิ่น ซึ่งล่าสุดได้ประกาศตัวลงสมัครเลือกตั้งนายกเทศบาลเมืองพัทยา
เป้าหมายการเข้าสู่การบริหารด้านการเมือง มีแรงบันดาลใจมาจากการเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นกรรมการและมีตำแหน่งด้านการบริหารในในสมาคมและองค์กรทางด้านการเมืองต่างๆ เช่น สมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การเข้าร่วมในองค์กรต่างๆ ทำให้ได้ความคิดใหม่ๆ ในกรอบที่ใหญ่ขึ้น เช่น แม้ว่าทิฟฟานีโชว์จะปรับราคาหนีจากคู่แข่งไปได้ แต่ในตลาดรวมยังไม่สามารถหนีได้ ขณะที่ ภูเก็ตสามารถกำหนดราคาโชว์ได้สูงถึง 1,200 บาท แต่พัทยาได้เพียง 800 บาท จึงต้องหันมาถามตัวเองว่าเป็นเพราะเราหรือเมือง ทำให้รู้สึกอยากจะพลิกภาพลักษณ์ของเมืองพัทยาใหม่ เพราะศักยภาพที่แท้จริงของเมืองมีอยู่แต่ไม่มีการนำมาใช้อย่างถูกทาง
"การคิดเข้าไปลงการเมืองท้องถิ่นเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และเมื่อออกไปอยู่ในภาพใหญ่ทำให้คิดออกไปจากธุรกิจของตัวเองชัดขึ้น รู้ว่าสิ่งที่ดีไม่เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไมผลักดันไม่ได้ และตลาดลูกค้าที่ดีๆ ก็หายไป ทำให้เห็นว่าถ้าสังคมไม่ดี เราก็ไม่ดีด้วย และมองเห็นว่าพัทยาไม่มีจุดยืนของตัวเองชัด ราคาที่ขายได้อยู่ในระดับต่ำ เป็นสินค้าราคาถูก ลูกค้าใช้จ่ายน้อยลง ผู้ประกอบการต้องทำงานหนักขึ้น"
ที่ผ่านมา การบริหารแบบส่งเสริมพวกพ้อง การใช้งบประมาณที่ผิดและการคอรัปชั่นทำให้ไม่เกิดการพัฒนา ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาจากพื้นฐานในด้านการศึกษาและความอยู่ดีมีสุข เพื่อให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น คนพัทยาไม่ดูแลสุขภาพ และความสุข มีงบประมาณ 5 พันล้านบาท ใช้กับเรื่องเดิมๆ ไม่มีการสร้างพื้นฐานชีวิตที่ดีให้กับคนที่อยู่ ทำให้คนที่อยู่ไม่ภูมิใจและอยู่แบบทำลายมากกว่าสร้างสิ่งที่ดีประชากรพัทยาแค่หลักแสน แต่มีคนต่างถิ่นมาหากินถึงหลักล้าน
ในขณะที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปมากและเกิดความเสียหาย ทำให้มองว่าการบริหารเมืองมีส่วนที่เหมือนกับการบริหารธุรกิจในแง่ที่ว่าจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อย่างไรในทางที่ถูกที่ควร ทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ทั้งระบบและผลที่ดีต่อเมือง
จุดแข็งในแง่ความรู้ที่เรียนมามองว่าเหมาะสมกับงานนี้ ซึ่งจบด้านรัฐประศาสนกิจ บริหารรัฐกิจ ด้านปริญญาเอกจบด้านการคลัง และเรียนเอ็มบีเอ ทำสิ่งที่ไม่เป็นเงินให้เป็นเงิน ด้านประสบการณ์ทำงานมีจุดแข็งเรื่องบริหารงานบุคคล รู้จักการใช้คน และมองว่าการบริหารสาธารณะต้องมีกำไรไม่ใช่ run on lost ความสามารถสื่อสารกับคนต่างชาติได้เข้าใจ การทำงานด้านบริหารภาพลักษณ์ทั้งของตัวเองและธุรกิจ ในแง่ส่วนรวม เชื่อว่าจะโน้มน้าวใจคนข้างนอกที่มองเข้ามา น่าจะเปลี่ยนเมืองนี้ให้มีภาพลักษณ์ใหม่ และการเป็นผู้หญิงทำให้ความรู้สึกน่ากลัวแบบเดิมๆ ในลดลงได้
"อยากจะปรับทิศทางการบริหารเมืองพัทยาใหม่ ยกระดับให้เป็นเมืองระดับอินเตอร์ หรือ International City เช่นเดียวกับภูเก็ต ไม่ได้แข่งกับภูเก็ต แต่เมืองพัทยาจะน่าอยู่และจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีได้อย่างไร คนพัทยาต้องแข่งกับตัวเอง ไม่ใช่ถูกมองว่าเป็นเศรษฐีบ้านนอก เพราะคนรุ่นใหม่หรือทายาทนักธุรกิจของพัทยาส่วนใหญ่มีความรู้เรียนสูงและมีความคิดที่เหมือนๆ กันว่าอยากจะพัฒนาเมืองไปในทิศทางที่ดี" อลิสา กล่าวถึงเป้าหมายใหม่ในกรอบการบริหารที่คาดหวังไว้
การ "รับไม้ต่อ" ในการบริหารกิจการของครอบครัวของทายาทยุคใหม่ที่มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ และความมุ่งมั่น ส่งผลให้การ "ต่อยอด" และ "ขยายผล" ได้อย่างแข็งแกร่ง ผลลัพธ์ที่ได้คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพของประเทศ
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *
การสืบทอดธุรกิจเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการและธุรกิจจำนวนมากที่เมื่อถึงจุดหนึ่งจำเป็นต้องหาทายาทมารับช่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็นด้วยวัยที่เสื่อมถอยของเจ้าของกิจการหรือเถ้าแก่ที่อยากจะปลดเกษียณตัวเองสักทีหลังจากก่อร่างสร้างกิจการมาถึงจุดอิ่มตัวสำหรับตัวเอง รวมถึง สภาพการณ์การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคที่ต้องอาศัยคนรุ่นใหม่มาช่วยต่อกร
ในยุคนี้ที่ประเทศไทยกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวหันมาสร้างกิจการของตัวเองและภูมิใจกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ แทนที่จะเป็นลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือน ทำให้พ่อกับลูกหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น และการเรียนรู้ความสำเร็จจากการรับไม้ต่อหรือรักษาธุรกิจเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
สาวทายาทธุรกิจซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เรียกได้ว่า “young generation” เข้ามาเพื่อรักษาชื่อเสียงที่เฟื่องฟูของโชว์สวยอลังการของสาวประเภทสอง “ทิฟฟานีโชว์” จนติดจรวจ ตามสไตล์ของคนที่ชอบทำอะไรรวดเร็ว และกำลังกระโดดสู่สนามการเมืองท้องถิ่นเพื่อหันไปบริหารนอกวง แต่เป็นการบริหารภาพใหญ่ที่เชื่อมโยงกันและจะส่งผลสะท้อนกลับมาเสริมพื้นฐานของธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อยู่ที่ไหนก็ได้ เพื่อเรียนรู้เร็วที่สุด
หลังจากคว้าดีกรีบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน “อลิสา พันธุศักดิ์” ก็ถูกเรียกตัวกลับมาช่วยดูแลกิจการของครอบครัวด้วยความเป็นลูกสาวคนโตจากพี่น้อง 3 คนที่ล้วนเป็นผู้หญิงทั้งหมด ในขณะที่ ทายาทธุรกิจหลายคนคิดว่าการไปหาประสบการณ์จากองค์กรใหญ่ๆ ที่แข็งแรงเพื่อเรียนรู้โลกกว้างก่อนเป็นสิ่งสำคัญ แต่อลิสามองว่า ตรงไหนก็ตามที่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของตัวเองสำหรับการเรียนรู้ที่เร็วที่สุดก็จะเข้าไปรับโอกาสนั้น และการมารับช่วงต่อเพื่อดูแลธุรกิจครอบครัวที่มีพ่อเป็นโค้ชและที่ปรึกษา รวมทั้ง ความที่อายุน้อยทำให้ได้เปรียบ และยังมองว่าหากทำผิดพลาดก็เป็นการพลาดบนฟูกของตัวเอง
การดูแลสั่งสอนของพ่อ “สุธรรม พันธุศักดิ์” ทำให้เธอมีนิสัยติดตัวตั้งแต่เรื่องตั้งเป้าหมายและทำให้เห็นผล และสอนเรื่องเครดิตว่ามีความสำคัญมาก รวมทั้ง การวางตัวและสอนให้เกินเด็ก ในขณะที่ บุคลิกของความเป็นคนขยันและว่องไวมาก ทั้งในเรื่องของการตัดสินใจที่แน่วแน่บนพื้นฐานการคิดอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องของการลงทุนซึ่งต้องแน่ใจก่อนว่าจะต้องไม่เกิดความเสียหาย พร้อมกับความกล้าได้กล้าเสียซึ่งเป็นคุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ
"เรื่องเงินที่จะใช้ทำอะไรต้องคิดให้ได้ก่อนว่าจะต้องกำไรจึงจะลงทุน และความรู้ที่ร่ำเรียนมามากมายต้องเอามาใช้ให้หมด" อลิสา บอกถึงคำสอนของพ่อที่เตือนให้คิดอย่างรอบคอบอยู่ตลอด
ในตอนที่เธอเป็นวัยรุ่น แม่ซึ่งมีร้านแลกเงินต่างประเทศถึง 4 ร้าน และเป็นรายเดียวในพัทยาที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพราะในสมัยนั้นธนาคารยังไม่สามารถให้บริการนี้ได้ เธอจึงเข้าไปช่วยและมีโอกาสรับผิดชอบเงินจำนวนมากทั้งที่ยังเด็ก ซึ่งเป็นการสอนทางอ้อมให้เธอต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถดูแลเงินก้อนโตและละเอียดรอบคอบมากพอที่จะจัดการกับการแลกเงินสกุลต่างๆ ที่มีมากมายได้อย่างถูกต้อง ส่วนคำสอนทางตรงที่ได้รับคือการแบ่งปันเพราะแม่เป็นคนชอบการทำบุญทำทาน ทำให้เธอได้ซึมซับมาไว้ในตัว
สร้างความเชื่อมั่น วางฐานวัฒนธรรมองค์กร
แม้ว่าจะเป็นลูกเจ้าของ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการทำงาน นอกจากจะคิดและทำตามกรอบที่ได้รับมาแล้วด้วยการเรียนรู้งานอย่างลงลึกในรายละเอียดทั้งหมด เธอยังต้องสร้างการยอมรับและความก้าวหน้าให้ลูกน้อง ในช่วงแรกๆ ด้วยความอายุน้อยเพียง 23-24 แต่เพราะลุยทำงานอย่างหนักและใช้บุคลิกความเป็นเด็กทำให้เข้ากับทุกคนได้โดยไม่รู้สึกเกร็ง และรู้สึกเป็นเรื่องปกติสำหรับการตรวจสอบการทำงาน ซึ่งเป็นจุดที่ต่างจากสมัยพ่อที่มีเรื่องของความน่าเกรงขาม ทำให้คนที่ทำงานด้วยไม่กล้าพูดกล้าบอกหรือกล้าขอเปลี่ยนแปลงอะไร
"แรกๆ ต้องพิสูจน์ว่าเราทำได้ทุกอย่าง เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเราไม่รู้เราจะไม่สามารถทำให้คนมาทำงานกับเราและเบื่อหน่ายกับการทำงานกับเราเพราะเราไม่ได้ให้อะไรกับเขาและสอนเขาไม่เป็น เมื่อก่อนใช้เวลาประชุมเป็นวันๆ และรู้งานทุกอย่าง รู้แม้กระทั่งว่ามีการแสดงกี่ฉากกี่เวที ตรงไหนผิดต้องแก้ยังไง เพราะเด็กใหม่ก็ชอบลองภูมิ"
ด้วยความที่ชอบเรียนรู้และขยายงานไปพร้อมๆ กัน จึงมีการหาผู้บริหารมืออาชีพมาร่วมทีม และพัฒนาองค์กรด้วยการสร้างวัฒนธรรม ซึ่งในช่วง 4 ปีแรกเป็นช่วงที่บุคลากรทุกคนเรียนรู้วัฒนธรรมเดียวกันและทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเธอมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดสามารถมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน
แม้ว่าทิฟฟานี่โชว์จะประสบความสำเร็จมาถึง 20 ปีก่อนที่เธอจะเข้ามาบริหาร แต่นอกจากการมารักษาชื่อเสียงที่ดีอยู่แล้ว เป้าหมายที่วางไว้คือการต้องการให้เป็นโชว์ที่ดีที่สุด ดังนั้น ทุกปีจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดในเรื่องของการลงทุนและเพิ่มคุณภาพการบริการ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรว่าต้องตื่นตัวและกระตือรือร้นตลอดเวลา รู้จักคิด ตัดสินใจ สร้างงานเป็น และพร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจที่สุด ซึ่งรวมทั้งความคิดเห็นของลูกค้าและคนทั่วไปที่ออกมาตามสื่อต่างๆ แม้กระทั่งในอินเตอร์เน็ต จะต้องให้มีแต่เรื่องที่พูดถึงในทางที่ดีเท่านั้น ถ้ามีเรื่องไม่ดีจะต้องนำไปแก้ไขทันที เพื่อให้โชว์ของทิฟฟานีสามารถเพิ่มราคาได้ทุกปี
"เวลาเราสู้เราสู้กับตัวเอง ต้องทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ เอาแรงติของคนอื่นมาเป็นแรงผลักดันให้ทำดีให้ได้ ทำให้เห็นว่าเรากำลังมาถูกทาง และเมื่อทำได้ตามเป้าหมายจะได้ผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ เพื่อจะให้ตั้งใจทำดีขึ้นไปอีก เมื่อต้องเป็นเลิศไปทุกอย่าง ทำทุกอย่างสุดๆ ทุกรายละเอียด ทำให้ทุกคนมีวัฒนธรรมอย่างนี้" อลิสา อธิบายเบื้องหลังสิ่งที่ลูกค้าเห็น
พิสูจน์ฝีมือ ยกระดับแบรนด์
ก่อนที่จะมานั่งบริหารเต็มตัว ในช่วงเรียนปริญญาตรี เธอก็มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและเป็นก้าวแรกที่เข้าไปร่วมเสนอแนะในเรื่องของธุรกิจด้วยการบอกให้เปลี่ยนวิธีการจัดการขายตั๋วแบบใหม่จากระบบฉีกตั๋วซึ่งเป็นจุดอ่อนเป็นระบบพิมพ์ตั๋ว เพื่อให้การทำงานมีความทันสมัยและไม่อยากให้เกิดการรั่วไหลของรายได้ แต่กว่าจะทำได้ต้องใช้เวลาเป็นปี อย่างไรก็ตาม การรับช่วงกิจการมาดูแลเมื่อ 8 ปีก่อน หมายถึงการรับปัญหาใหญ่มาแบกเอาไว้ด้วย ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ในเวลานั้นคือราคา
"เมื่อก่อนปวดหัวทุกวัน เพราะถูกกดดันเรื่องราคาจากเอเย่นต์ รู้สึกว่าไม่มีศักดิ์ศรีต้องขายราคาต่ำๆ จนกระทั่ง ต้องหาทางปรับตัวใหม่หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และใช้การประชาสัมพันธ์ควบคู่กันไป สุดท้ายสามารถตั้งราคาได้สูงอย่างที่ควรจะเป็นและสูงกว่าคู่แข่ง ยกระดับราคาและภาพลักษณ์ได้ภายใน 3 เดือน"
"ตอนนี้ทิฟฟานีเป็นโชว์ที่แพงที่สุดในพัทยา ถ้าทำให้แตกต่างและสร้างแบรนด์ให้แข็ง หลายปีแล้วที่ไม่ต้องง้อลูกค้า มีแต่ลูกค้าถามว่าเมื่อไรจะลดราคาให้ เมื่อก่อนมีเอเย่นต์มากดดันต่อรองราคาและบอกว่านี่ก็คือเงิน แต่เราบอกว่าใช่ มันคือเงิน แต่มันจะทำให้เงินที่อยู่ในกระเป๋าเราไหลออกไปด้วย เราจึงตัดเอเย่นต์รายนั้น ซึ่งในที่สุดเอเย่นต์รายนั้นก็เจ๊ง ซึ่งถ้าตอนนั้นเรามองอย่างเขา กลายเป็นว่าจะต้องลดราคาให้ทุกคน และในที่สุดธุรกิจเราต้องเจ๊งไปด้วย ตอนนี้การทำงานอยู่ตัวมากไม่เหนื่อยแล้ว มองกลับไปก็เห็นชัดว่าทุกอย่างอยู่ที่เรา"
"ลูกค้าต้องพอใจและมองเราเป็นมืออาชีพ งานเลือกแบรนด์และแบรนด์ต้องรองรับงานนั้นให้ได้ ทิฟฟานีโชว์มีเอกลักษณ์ที่สามารถรวมทั้งความเป็นเอเชียและฝรั่งเข้ามาไว้ในการแสดง มีการสร้างสรรค์ทั้งการร้อง การเต้น และการแสดงเลียนแบบ ด้วยชุดที่อลังการ ให้ความบันเทิงอย่างมีศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดความประทับใจและตื่นตาตื่นใจ" อลิสา ตอกย้ำการเพิ่มศักยภาพขององค์กร
ทิฟฟานีโชว์ขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้จ่ายแล้ว ยังออกไปแสดงโชว์ในต่างประเทศสร้างรายได้กลับเข้ามาในประเทศมากมาย ในขณะที่ โรงแรมวูดแลนด์ซึ่งตีคู่ขึ้นมาเป็นธุรกิจหลักกำลังขยายธุรกิจด้วยการลงทุนเฟสใหม่เพื่อจับกลุ่มลูกค้านักธุรกิจ พร้อมไปกับการยกระดับเป็น 5 ดาว ด้วยราคาห้องพักระดับ 5,000- 1 หมื่นกว่าบาท เพราะมองว่าพัทยาไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวที่มาเพื่อการพักผ่อนเท่านั้น แต่เป็นเมืองที่รองรับนักธุรกิจได้ด้วย
สำหรับทายาทที่มีสายเลือดนักบริหารเต็มตัว นอกจากจะใช้ความสามารถในการรักษาธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไปได้แล้ว การฟื้นธุรกิจที่ล้มเหลวให้ได้กำไรเป็นความท้าทายเช่นกัน สถานภาพของโรงแรมซึ่งพ่อสร้างไว้แต่ไม่มีเวลามาดูแลก่อนที่เธอจะเข้ามาบริหารนั้นอยู่ในสภาพขาดทุนต่อเนื่องมา 8 ปี จากเงินลงทุนก้อนแรก 60 ล้านบาท แต่เธอใช้เวลา 1 ปีพลิกฟื้นจนได้กำไร ด้วยการปรับมาตรฐานห้องพัก 134 ห้อง จาก 3 ดาว เป็น 4 ดาว จากราคาห้องละ 1,200 บาท เป็น 4,000 บาท และยังทำร้านเบเกอรี่ซึ่งเติบโตมากจากเล็กๆ ไม่กี่ที่นั่งเป็น 60 ที่นั่ง เพราะต้องการสร้างชื่อเสียงในธุรกิจให้เป็นที่รู้จักของคนท้องถิ่น
"การใช้กลยุทธ์ความแตกต่างซึ่งมีเอกลักษณ์ ความสะดวกสบายแบบง่ายๆ และอยู่ในเมืองเป็นจุดขาย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษและสแกนดิเนเวีย จนกระทั่งดีมานด์มากกว่าซัปพลาย กลายเป็นว่าเราสามารถเป็นฝ่ายเลือกตลาดและทำได้สำเร็จจนรู้สึกว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับความคิดความต้องการของเรา และเป็นการแข่งกับตัวเองมากกว่า เพราะคนอื่นก็ต้องหาจุดแข็งของตัวเอง"
ฝ่าความท้าทายใหม่ บริหารรัฐกิจควบคู่ธุรกิจ
จากวันแรกที่มารับสืบทอดธุรกิจถึงปัจจุบัน 8 ปีแล้ว เมื่อได้ฝากฝีมือการบริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้เห็นกันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดชื่อเสียงของทิฟฟานีโชว์ซึ่งเป็นโชว์ของสาวประเภทสองที่ดังไปไกลถึงระดับนานาชาติ และมองว่าธุรกิจบันเทิงยังไปได้อีกไกลเพียงแต่มีสินค้าและการพัฒนาอย่างถูกทิศทาง ในขณะที่ ธุรกิจโรงแรมกำลังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีน้องสาวซึ่งมีความเก่งในเรื่องการเงินมาช่วยกันดูแลธุรกิจของครอบครัว ทำให้เธอขยับบทบาทขึ้นไปดูภาพรวมของธุรกิจเป็นหลัก และมีเวลาเหลือมากพอที่จะเข้าไปทุ่มเทให้กับการเมืองท้องถิ่น ซึ่งล่าสุดได้ประกาศตัวลงสมัครเลือกตั้งนายกเทศบาลเมืองพัทยา
เป้าหมายการเข้าสู่การบริหารด้านการเมือง มีแรงบันดาลใจมาจากการเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นกรรมการและมีตำแหน่งด้านการบริหารในในสมาคมและองค์กรทางด้านการเมืองต่างๆ เช่น สมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การเข้าร่วมในองค์กรต่างๆ ทำให้ได้ความคิดใหม่ๆ ในกรอบที่ใหญ่ขึ้น เช่น แม้ว่าทิฟฟานีโชว์จะปรับราคาหนีจากคู่แข่งไปได้ แต่ในตลาดรวมยังไม่สามารถหนีได้ ขณะที่ ภูเก็ตสามารถกำหนดราคาโชว์ได้สูงถึง 1,200 บาท แต่พัทยาได้เพียง 800 บาท จึงต้องหันมาถามตัวเองว่าเป็นเพราะเราหรือเมือง ทำให้รู้สึกอยากจะพลิกภาพลักษณ์ของเมืองพัทยาใหม่ เพราะศักยภาพที่แท้จริงของเมืองมีอยู่แต่ไม่มีการนำมาใช้อย่างถูกทาง
"การคิดเข้าไปลงการเมืองท้องถิ่นเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และเมื่อออกไปอยู่ในภาพใหญ่ทำให้คิดออกไปจากธุรกิจของตัวเองชัดขึ้น รู้ว่าสิ่งที่ดีไม่เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไมผลักดันไม่ได้ และตลาดลูกค้าที่ดีๆ ก็หายไป ทำให้เห็นว่าถ้าสังคมไม่ดี เราก็ไม่ดีด้วย และมองเห็นว่าพัทยาไม่มีจุดยืนของตัวเองชัด ราคาที่ขายได้อยู่ในระดับต่ำ เป็นสินค้าราคาถูก ลูกค้าใช้จ่ายน้อยลง ผู้ประกอบการต้องทำงานหนักขึ้น"
ที่ผ่านมา การบริหารแบบส่งเสริมพวกพ้อง การใช้งบประมาณที่ผิดและการคอรัปชั่นทำให้ไม่เกิดการพัฒนา ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาจากพื้นฐานในด้านการศึกษาและความอยู่ดีมีสุข เพื่อให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น คนพัทยาไม่ดูแลสุขภาพ และความสุข มีงบประมาณ 5 พันล้านบาท ใช้กับเรื่องเดิมๆ ไม่มีการสร้างพื้นฐานชีวิตที่ดีให้กับคนที่อยู่ ทำให้คนที่อยู่ไม่ภูมิใจและอยู่แบบทำลายมากกว่าสร้างสิ่งที่ดีประชากรพัทยาแค่หลักแสน แต่มีคนต่างถิ่นมาหากินถึงหลักล้าน
ในขณะที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปมากและเกิดความเสียหาย ทำให้มองว่าการบริหารเมืองมีส่วนที่เหมือนกับการบริหารธุรกิจในแง่ที่ว่าจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อย่างไรในทางที่ถูกที่ควร ทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ทั้งระบบและผลที่ดีต่อเมือง
จุดแข็งในแง่ความรู้ที่เรียนมามองว่าเหมาะสมกับงานนี้ ซึ่งจบด้านรัฐประศาสนกิจ บริหารรัฐกิจ ด้านปริญญาเอกจบด้านการคลัง และเรียนเอ็มบีเอ ทำสิ่งที่ไม่เป็นเงินให้เป็นเงิน ด้านประสบการณ์ทำงานมีจุดแข็งเรื่องบริหารงานบุคคล รู้จักการใช้คน และมองว่าการบริหารสาธารณะต้องมีกำไรไม่ใช่ run on lost ความสามารถสื่อสารกับคนต่างชาติได้เข้าใจ การทำงานด้านบริหารภาพลักษณ์ทั้งของตัวเองและธุรกิจ ในแง่ส่วนรวม เชื่อว่าจะโน้มน้าวใจคนข้างนอกที่มองเข้ามา น่าจะเปลี่ยนเมืองนี้ให้มีภาพลักษณ์ใหม่ และการเป็นผู้หญิงทำให้ความรู้สึกน่ากลัวแบบเดิมๆ ในลดลงได้
"อยากจะปรับทิศทางการบริหารเมืองพัทยาใหม่ ยกระดับให้เป็นเมืองระดับอินเตอร์ หรือ International City เช่นเดียวกับภูเก็ต ไม่ได้แข่งกับภูเก็ต แต่เมืองพัทยาจะน่าอยู่และจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีได้อย่างไร คนพัทยาต้องแข่งกับตัวเอง ไม่ใช่ถูกมองว่าเป็นเศรษฐีบ้านนอก เพราะคนรุ่นใหม่หรือทายาทนักธุรกิจของพัทยาส่วนใหญ่มีความรู้เรียนสูงและมีความคิดที่เหมือนๆ กันว่าอยากจะพัฒนาเมืองไปในทิศทางที่ดี" อลิสา กล่าวถึงเป้าหมายใหม่ในกรอบการบริหารที่คาดหวังไว้
การ "รับไม้ต่อ" ในการบริหารกิจการของครอบครัวของทายาทยุคใหม่ที่มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ และความมุ่งมั่น ส่งผลให้การ "ต่อยอด" และ "ขยายผล" ได้อย่างแข็งแกร่ง ผลลัพธ์ที่ได้คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพของประเทศ
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *