ปิยะบุตร เผยไม่ต้องการให้ไทยเป็นผู้รับจ้างผลิต เชื่อดีไซเนอร์ไทยมีฝีมือไม่ต้องพึ่งปัญญาจากประเทศอื่น พร้อมจับมือ สสว. และสมาคมชาวโบ๊เบ๊ เดินหน้าสานต่อโครงการ Street Fashion Runway ปีที่ 2 ทุ่มงบ 30 ล้านบาท เชื่อมโยงห่วงโซ่อุตสาหกรรมสิ่งทอแข็งแกร่งขึ้น
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเปิดตัวโครงการ Street Fashion Runway ปีที่ 2 ว่า ในช่วงการดำรงตำแหน่งในกระทรวงอุตสาหกรรมตลอด 16 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงวงการแฟชั่นไทยอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจประเภทเครื่องนุ่งห่ม และสิ่งทอไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับจ้างผลิต แต่ตนเองได้พยายามผลักดันให้ประเทศไทย เป็นผู้คิดและออกแบบเอง เนื่องจากการเป็นจ้างผลิตจะไม่มีความแน่นอน ซึ่งต้องนำธุรกิจไปผูกติดกับสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่มีความไม่แน่นอน ดังนั้นการเป็นผู้นำในการออกแบบ และผลิตเพื่อการส่งเองน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในขณะนี้
“เมื่อประเทศไทยมีดีไซเนอร์ที่เก่งๆ มากมาย ซึ่งการที่ไทยจะยืนหยัดในธุรกิจสิ่งทอของโลกได้ เราจะต้องไม่พึ่งพาปัญญาการออกแบบจากประเทศอื่น โดยนำศิลปวัฒนธรรมของไทยเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบเสื้อผ้า ก็จะทำให้ไทยแข่งขันในธุรกิจแฟชั่นกับตลาดโลกได้ ซึ่งการปรับตัวไทยจะต้องมีบทบาทที่สำคัญในแต่ละตลาดให้ได้ เพราะสิ่งทอมีหลายประเภท เช่น ผ้าคอตตอน ลินิน ไหม และหนัง เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยสามารถก้าวไปอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการ ก็จะช่วยให้โอกาสเติบโตแฟชั่นไทยไม่ไกลเกินเอื้อม” รมช.อุตสาหกรรมกล่าว
ด้านนางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หรืออุตสาหกรรมแฟชั่น นับว่าเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศคิดเป็น 4.2% ของจีดีพี ส่งผลให้มีการจ้างงานสูงถึง 20% และมีการส่งออก 6.5% ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขันของผู้ประกอบการ ในปี 51 ทางสสว. จึงได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการเป็นปีที่ 2 จำนวน 30 ล้านบาท โดยเน้นพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เกิดการสร้างแบรนด์ หวังเป็นช่องทางเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุตสาหกรรมให้เกิดเป็นรูปธรรม
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเปิดตัวโครงการ Street Fashion Runway ปีที่ 2 ว่า ในช่วงการดำรงตำแหน่งในกระทรวงอุตสาหกรรมตลอด 16 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงวงการแฟชั่นไทยอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจประเภทเครื่องนุ่งห่ม และสิ่งทอไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับจ้างผลิต แต่ตนเองได้พยายามผลักดันให้ประเทศไทย เป็นผู้คิดและออกแบบเอง เนื่องจากการเป็นจ้างผลิตจะไม่มีความแน่นอน ซึ่งต้องนำธุรกิจไปผูกติดกับสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่มีความไม่แน่นอน ดังนั้นการเป็นผู้นำในการออกแบบ และผลิตเพื่อการส่งเองน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในขณะนี้
“เมื่อประเทศไทยมีดีไซเนอร์ที่เก่งๆ มากมาย ซึ่งการที่ไทยจะยืนหยัดในธุรกิจสิ่งทอของโลกได้ เราจะต้องไม่พึ่งพาปัญญาการออกแบบจากประเทศอื่น โดยนำศิลปวัฒนธรรมของไทยเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบเสื้อผ้า ก็จะทำให้ไทยแข่งขันในธุรกิจแฟชั่นกับตลาดโลกได้ ซึ่งการปรับตัวไทยจะต้องมีบทบาทที่สำคัญในแต่ละตลาดให้ได้ เพราะสิ่งทอมีหลายประเภท เช่น ผ้าคอตตอน ลินิน ไหม และหนัง เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยสามารถก้าวไปอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการ ก็จะช่วยให้โอกาสเติบโตแฟชั่นไทยไม่ไกลเกินเอื้อม” รมช.อุตสาหกรรมกล่าว
ด้านนางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หรืออุตสาหกรรมแฟชั่น นับว่าเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศคิดเป็น 4.2% ของจีดีพี ส่งผลให้มีการจ้างงานสูงถึง 20% และมีการส่งออก 6.5% ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขันของผู้ประกอบการ ในปี 51 ทางสสว. จึงได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการเป็นปีที่ 2 จำนวน 30 ล้านบาท โดยเน้นพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เกิดการสร้างแบรนด์ หวังเป็นช่องทางเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุตสาหกรรมให้เกิดเป็นรูปธรรม