กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชี้แฟรนไชส์ไทยไม่รุ่ง เพราะผปก.ยังขาดความรู้ในระบบอย่างแท้จริง รวมถึงขาดความน่าเชื่อถือจากปัญหาแฟรนไชส์เถื่อน กระตุ้นรวมกลุ่มสร้างมาตรฐาน ใช้จรรยาบรรณสร้างความน่าเชื่อถือในสังคมธุรกิจ พร้อมสานต่อโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก พาบุกตลาดเวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ตั้งเป้าเกิดการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 25-30 ราย
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัญหาที่กระทบให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังไม่เติบโตเท่าที่ควร คือ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยยังขาดความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจแฟรนไชส์อย่างแท้จริง อีกทั้ง ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือในสังคมธุรกิจ ซึ่งเกิดจากปัญหาผู้ประกอบการบางรายแอบอ้างการทำธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อหลอกลวงผู้บริโภค
แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ เช่น ออกกฎหมายแฟรนไชส์ เพื่อดูแลและป้องกันธุรกิจแฟรนไชส์เถื่อน ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างยกร่างเสนอพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรี และอีกทางตัวผู้ประกอบการแฟรนไชส์เองต้องร่วมกันอย่างชัดเจน และเข้มแข็ง เพื่อสร้างมาตรฐานให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส มีจรรยาบรรณ และประสบความสำเร็จได้จริง
“การออกกฎหมายมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามาก ดงนั้น ถ้าผู้ประกอบการร่วมมือกันจริง จะสามารถสร้างกติกาของสังคมธุรกิจแฟรนไชส์ได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าการออกเป็นกฎหมายด้วยซ้ำ” นายคณิสสร กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สามารถก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ทั้งการเขียนแผนธุรกิจ การตลาด การบริหารระบบแฟรนไชส์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 รวมแล้วมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เข้าร่วมกว่า 400 ราย และผ่านหลักสูตรกว่า 100 ราย
ส่วนระยะที่ 2 คือ ส่งเสริมภาคสนามโดยพาไปโรดโชว์ ทั้งในประเทศ และคัดเลือกแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพ จำนวน 25-30 ราย ไปเปิดตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปีที่ผ่านมา (2550) เกิดการจับคู่ธุรกิจแล้วกว่า 33 ธุรกิจ เช่น โชคดี ติ๋มซำ คอฟฟี่เมคเกอร์ เป็นต้น
สำหรับปี 2551 นี้ ในด้านให้ความรู้จะดำเนินการต่อเนื่อง แต่จะปรับรูปแบบให้กระชับขึ้น รวมถึง นำระบบการเรียนรู้ผ่านออนไลน์มาใช้ควบคู่กันไป ตั้งเป้าจะมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 400 ราย ส่วนด้านภาคสนามก่อนพาสู่ตลาดจริงจะเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย โดยใช้ระบบที่ปรึกษาประกบแบบเฉพาะตัวต่อตัว เพื่อเสริมศักยภาพให้พร้อมปรับตัวสู่สากล โดยจะจัดหลักสูตรตามความสามารถ และความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ การพาผู้ประกอบการไทยไปศึกษาตลาด และจับคู่ธุรกิจในปีนี้ มีตลาดเป้าหมาย 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดยาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งจะเดินทางในช่วงกลางเดือนมกราคม ถึงปลายเดือนเมษายน ตั้งเป้าจะให้เกิดการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 25-30 ราย
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัญหาที่กระทบให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังไม่เติบโตเท่าที่ควร คือ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยยังขาดความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจแฟรนไชส์อย่างแท้จริง อีกทั้ง ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือในสังคมธุรกิจ ซึ่งเกิดจากปัญหาผู้ประกอบการบางรายแอบอ้างการทำธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อหลอกลวงผู้บริโภค
แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ เช่น ออกกฎหมายแฟรนไชส์ เพื่อดูแลและป้องกันธุรกิจแฟรนไชส์เถื่อน ซึ่งเวลานี้อยู่ระหว่างยกร่างเสนอพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรี และอีกทางตัวผู้ประกอบการแฟรนไชส์เองต้องร่วมกันอย่างชัดเจน และเข้มแข็ง เพื่อสร้างมาตรฐานให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส มีจรรยาบรรณ และประสบความสำเร็จได้จริง
“การออกกฎหมายมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามาก ดงนั้น ถ้าผู้ประกอบการร่วมมือกันจริง จะสามารถสร้างกติกาของสังคมธุรกิจแฟรนไชส์ได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าการออกเป็นกฎหมายด้วยซ้ำ” นายคณิสสร กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สามารถก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลก โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ทั้งการเขียนแผนธุรกิจ การตลาด การบริหารระบบแฟรนไชส์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 รวมแล้วมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เข้าร่วมกว่า 400 ราย และผ่านหลักสูตรกว่า 100 ราย
ส่วนระยะที่ 2 คือ ส่งเสริมภาคสนามโดยพาไปโรดโชว์ ทั้งในประเทศ และคัดเลือกแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพ จำนวน 25-30 ราย ไปเปิดตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปีที่ผ่านมา (2550) เกิดการจับคู่ธุรกิจแล้วกว่า 33 ธุรกิจ เช่น โชคดี ติ๋มซำ คอฟฟี่เมคเกอร์ เป็นต้น
สำหรับปี 2551 นี้ ในด้านให้ความรู้จะดำเนินการต่อเนื่อง แต่จะปรับรูปแบบให้กระชับขึ้น รวมถึง นำระบบการเรียนรู้ผ่านออนไลน์มาใช้ควบคู่กันไป ตั้งเป้าจะมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 400 ราย ส่วนด้านภาคสนามก่อนพาสู่ตลาดจริงจะเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย โดยใช้ระบบที่ปรึกษาประกบแบบเฉพาะตัวต่อตัว เพื่อเสริมศักยภาพให้พร้อมปรับตัวสู่สากล โดยจะจัดหลักสูตรตามความสามารถ และความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ การพาผู้ประกอบการไทยไปศึกษาตลาด และจับคู่ธุรกิจในปีนี้ มีตลาดเป้าหมาย 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดยาม อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งจะเดินทางในช่วงกลางเดือนมกราคม ถึงปลายเดือนเมษายน ตั้งเป้าจะให้เกิดการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 25-30 ราย