นักดาราศาสตร์ค้นพบ “ดาวคู่” (Companion) ของ "ดาวบีเทลจุส" (Betelguese) หนึ่งในดาวฤกษ์ของกลุ่มดาวนายพราน (orion) อันโด่งดัง นับเป็นครั้งแรกที่ได้ค้นพบข้อมูลนี้ หลังจากเป็นหนึ่งในปริศนาของจักรวาลอันกว้างใหญ่ที่นักดาราศาสตร์ได้พยายามหาคำตอบในการพรี่แสงทุกๆ 6 ปีของดาวมาตลอดกว่า 1,000 ปี การค้นพบนี้ได้ถูกเผยแพร่ในวารสาร The Astrophysical Journal
ปริศนาเรื่องการแปรแสงของดาวบีเทลจุสที่มีคาบประมาณ 6 ปี เป็นอีกหนึ่งความสงสัยของนักดาราศาสตร์ที่พยายามหาคำตอบในเรื่องนี้ เนื่องจากในช่วงปี ค.ศ. 2019 - 2020 ดาวบีเทลจุสเกิดเหตุการณ์ "การหรี่แสงครั้งใหญ่" (Great dimming) สร้างความความสนใจให้กับนักดาราศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งในปี 2023 ได้มีการศึกษาในเรื่องนี้และมีการเผยว่า การหรี่แสงครั้งนี้เป็นผลจากแก๊สร้อนขนาดมหึมาที่ปะทุออกมาจากดาวบีเทลจุส เกิดเย็นตัวลง และกลายเป็นฝุ่นมาบดบังดาว ทำให้ดาวบีเทลจุสมีความสว่างลดลงอย่างเฉียบพลัน
ก่อนหน้านี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1985 เริ่มมีการตั้งสมมติฐานว่า ดาวบีเทลจุสนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบ “ดาวคู่” และยังมีดาวคู่ของมันอีกดวงหนึ่งที่ยังไม่เคยมีใครสังเกตเห็น นักดาราศาสตร์พยายามค้นหาคำตอบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทรา แต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบดาวคู่ของมันได้
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ทีมนักดาราศาสตร์จาก NASA Ames Research Center โดยใช้กล้องโทรทรรศน์เจมินี นอร์ท (Gemini North Telescope) ที่ตั้งอยู่ในฮาวาย ร่วมกับอุปกรณ์ถ่ายภาพอาโลเปเก (Alopeke) ซึ่งใช้เทคนิคที่เรียกว่า “Speckle Imaging” อาศัยการเปิดหน้ากล้องในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อชดเชยการรบกวนแสงดาวจากชั้นบรรยากาศโลก ทำให้สามารถถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงกว่ากล้องโทรทรรศน์อื่นๆ ที่เคยใช้ในการสังเกตดาวบีเทลจุสมาก่อนหน้านี้
ดาวคู่ของดาวบีเทลจุสที่ได้ถูกค้นพบดวงนี้ ได้พบว่าเป็นดาวสีฟ้าขาว ที่มีมวลประมาณ 1.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่โคจรรอบดาวบีเทลจุสในวงโคจรที่แคบ ในระยะที่ใกล้มากจนอยู่ภายในส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดาวบีเทลจุส ส่งผลให้ดาวคู่นี้ถูกแรงโน้มถ่วงหน่วงรั้งอย่างต่อเนื่อง โดยทีมนักนักดาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าดาวคู่ของดาวบีเทลจุสที่ถูกค้นพบนี้ จะถูกกลืนกินจากดาวบีเทลจุสในระยะเวลาอีกประมาณ 10,000 ปีต่อจากนี้
สำหรับ “ดาวเบเทลจุส” นั้น เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ของกลุ่มดาวนายพรานอันโด่งดัง ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่ได้รับความสนใจจากนักดูดาวมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรฟ้าและสามารถมองเห็นได้ทั่วโลก ปัจจุบันดาวฤกษ์ดวงนี้อยู่ในสถานะดาวยักษ์แดง ซึ่งเป็นสถานะสุดท้ายก่อนที่จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา (Supernova) แม้ดาวเบเทลจุสใกล้จะระเบิดแต่ก็เป็นการยากที่ระบุเวลาที่แน่ชัดว่าจะระเบิดเมื่อใด โดยทางนักดาราศาสตร์เคยประเมินไว้ว่าดาวอาจระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาได้ทุกเมื่อภายใน 100,000 ปีข้างหน้านี้
ข้อมูล - ภาพอ้างอิง
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
- narit.or.th (สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ)
- thaiastro.nectec.or.th (สมาคมดาราศาสตร์ไทย)
- space.com (Astronomers crack 1,000-year-old Betelgeuse mystery with 1st-ever sighting of secret companion)
- livescience.com (Astronomers share best-ever evidence that Betelgeuse has a secret companion star — and they've nicknamed it 'her bracelet')