xs
xsm
sm
md
lg

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าติดตาม เดือนมิถุนายน 2568

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในเดือนมิถุนายน 2568 เป็นอีกหนึ่งเดือนที่มีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าติดตาม โดยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ถือเป็นหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้ชมความงดงามของดวงดาวและวัตถุอวกาศต่างๆ บนท้องฟ้าแล้ว เรายังได้ความรู้จากตำแหน่งต่างๆ ของดวงดาวที่ปรากฏอีกด้วย


1. "ดาวศุกร์" ปรากฏให้เห็นในช่วงรุ่งเช้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 03.30 - รุ้งเช้า สามารถชมได้ตลอดเดือน โดยดาวศุกร์ที่ปรากฏในช่วงเช้ามืดทางทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น คนไทยจะเรียกว่า “ดาวประกายพรึก”


2. กระจุกดาวลูกไก่ M45 ปรากฏให้เห็นช่วงรุ่งเช้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 04.00 – รุ้งเช้า 

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือ วัตถุ Messier 45 ตามบัญชีวัตถุท้องฟ้าของชาลส์ เมสิเย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด อยู่บริเวณกลุ่มดาววัว (Taurus) หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะมองเห็นดาวฤกษ์บริเวณนี้ได้ประมาณ 6 - 7 ดวง ขึ้นอยู่กับสภาพความมืดของท้องฟ้า และความสามารถในการมองเห็นของผู้สังเกต แต่หากใช้กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กส่องไปยังบริเวณนี้ จะพบว่ากระจุกดาวแห่งนี้มีดาวฤกษ์สมาชิกเป็นร้อยๆ ดวงเลยทีเดียว


3 . "วันครีษมายัน” (Summer Solstice) ในวันที่ 21 มิถุนายน จะเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี โดยในวันนี้ช่วงเวลากลางวันจะยาวนานที่สุด และมีช่วงเวลากลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี เนื่องจากองศาของดวงอาทิตย์ได้เดินทางไปถึงจุด “Solstice” เป็นภาษาอินโดยูโรเปียน คำว่า “Stice” หมายถึง สถิต หรือ หยุด ดังนั้น Summer Solstice จึงหมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุดหรือจุดสุดทางเหนือ


4. ดาวเคียงเดือน และดาวเคราะห์ชุมนุม

- 6 มิถุนายน 2568 ปรากฏการณ์ 'ดาวสไปกาเคียงดวงจันทร์' ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลา 02.30 น.

- 18 มิถุนายน 2568 ปรากฏการณ์ 'ดาวอังคารเคียงดาวเรกูลัส' ทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลา 22.30 น.

- 27 มิถุนายน 2568 ปรากฏการณ์ 'ดาวพุธเคียงดวงจันทร์' ทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลา 20.00 น.

- 29 มิถุนายน 2568 ปรากฏการณ์ 'ดวงจันทร์เคียงดาวเรกูลัส' ทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลา 21.30 น.


ข้อมูล - รูปอ้างอิง : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT


กำลังโหลดความคิดเห็น