xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ เตือน "ภัยแล้งหิมะ" กำลังเกิดขึ้นบ่อยในยุคโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่พึ่งพาทรัพยากรน้ำจากหิมะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เราต่างรู้ดีว่าทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และในแต่ละพื้นบนโลกต่างมีต้นกำเนิดน้ำที่แตกต่างกัน ปัจจุบันภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศที่แปรปรวนกำลังสร้างผลกระทบให้กับต้นกำเนิดแหล่งน้ำในภูมิภาคต่างๆ เช่น พื้นที่ละติจูดกลางและสูงของซีกโลกเหนือ บริเวณเทือกเขาต่างๆ ที่มีหิมะปกคลุม ต้องเผชิญกับ "ภัยแล้งหิมะ" ที่ปัจจุบันมีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้น และส่งผลให้ปริมาณน้ำลดน้อยลง และสรา้งผลกระทบต่อชุมชน พื้นที่การเกษตร และระบบนิเวศในภูมิภาคนี้ ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรน้ำ


คณะนักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์สภาพภูมิอากาศ รวมถึงศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาวิเคราะห์แนวโน้มระยะยาวของความถี่ในการเกิดภัยแล้งหิมะภายใต้สถานการณ์ภาวะโลกร้อน ซึ่งพบว่า มีแนวโน้มความถี่ในการเกิดภัยแล้งหิมะสูงขึ้นต่อเนื่องจนถึงสิ้นศตวรรษนี้ ผลการศึกษานี้ยังพบว่าภูมิภาคที่ตั้งอยู่ละติจูดกลางและละติจูดสูงมีแนวโน้มเผชิญภัยแล้งหิมะบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นด้วย และในยุคที่โลกมีอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับสูง ความถี่ของภัยแล้งหิมะอาจเพิ่มขึ้นมากถึง 4 เท่าภายในปี 2100

“ภัยแล้งหิมะ"
(snow drought) ตามคำศัพท์อุตุนิยมวิทยาของ American Mathematical Society – AMS คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีหิมะปกคลุมต่ำผิดปกติในช่วงเวลาดังกล่าวของปี นักวิจัยแบ่งภัยแล้งหิมะออกเป็น 3 ประเภท 

1. ภัยแล้งหิมะแบบแห้ง (dry snow drought) เกิดจากปริมาณน้ำฝนหรือหิมะในฤดูหนาวน้อยกว่าค่าปกติ

2. ภัยแล้งหิมะแบบอบอุ่น (warm snow drought) เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนฝนตกมากกว่าหิมะตก หรือทำให้หิมะละลายเร็วกว่าที่ควร

3. ภัยแล้งหิมะแบบผสม (compound snow drought) เป็นการผสมกันของสภาพแห้งและสภาพอบอุ่น กล่าวคือ ทั้งมีฝนน้อยและอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ย


โดยทั่วไปหิมะในฤดูหนาวจะทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ โดยจะเป็นแหล่งน้ำแก่ระบบนิเวศโดยรอบตลอดช่วงฤดูร้อนที่แห้งแล้งด้วยละลายออกมาเป็นน้ำ ปริมาณหิมะที่ลดลงและการละลายของหิมะเร็วขึ้นในยุคสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ภัยแล้งหิมะส่งกระทบต่อระบบนิเวศที่พึ่งพาน้ำจากหิมะ

นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่าภัยแล้งหิมะกำลังเพิ่มความถี่และความรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทั่วโลก และพบว่า ภายในปี 2050 ภัยแล้งหิมะแบบอบอุ่นจะกลายเป็นภัยแล้งหิมะประเภทหลัก การศึกษาในเรื่องนี้ เผยให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมต่อผลกระทบระยะยาวของผู้คนที่ต้องใช้ทรัพยากรน้ำจากการละลายของหิมะ


ข้อมูลอ้างอิง

- www.eos.org
(Defining Snow Drought and Why It Matters)
- www.pnnl.gov
( Snow Droughts are not Solely Driven by Abnormal Snowfall and Temperature)


กำลังโหลดความคิดเห็น