ยาน KOSMOS 482 เป็นหนึ่งในขยะอวกาศจำนวนมากที่ล่องลอยอยู่รอบโลกในปัจจุบัน และกำลังสร้างความกังวลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากหนึ่งในชิ้นส่วนของยานลำนี้กำลังจะตกสู่โลกแบบไร้การควบคุม ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2025 นี้ โดยยานลำนี้ยังได้ถูกสร้างขึ้นให้ทนต่ออุณหภูมิที่สูงของชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ จึงสามารถทนต่อการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของโลกเราได้ การที่ไม่สามารถควบคุมยานให้ลงจอดในที่ปลอดภัยได้จึงถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะยานมีโอกาสชนกับโลกได้รุนแรง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สำรวจดาวศุกร์ KOSMOS 482 ลำนี้ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1972 หรือประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว โดยเป็นภารกิจของสหภาพโซเวียตที่จะส่งยานสำรวจไปยังดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ลำดับที่ 2 ของระบบสุริยะ แต่ไม่ภารกิจดังกล่าวทำไม่สำเร็จเนื่องจากไม่สามารถหลุดพ้นจากวงโคจรต่ำของโลกได้ ซึ่งในปัจจุบันทางนักวิทยาศาสตร์ได้มีการคำนวนว่าหนึ่งในชิ้นส่วนของยานจะตกสู่โลกในช่วงประมาณวันที่ 9 -10 เดือนพฤษภาคม 2025 แต่เนื่องจากไม่สามารถควบคุมยานได้ ทำให้การคาดเดาการพุ่งชนที่แม่นยำนั้นทำได้ยากและอาจต้องคำนวณล่วงหน้าไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะพุ่งชน
Marco Langbroek และ Dominic Dirkx นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟต์ TU Delft ใช้ซอฟต์แวร์ TUDAT จำลองการเคลื่อนที่และสภาพแวดล้อมในวงโคจร พบว่ามันมีแนวโน้มจะตกบริเวณระหว่างละติจูด 52 องศาเหนือถึง 52 องศาใต้ บริเวณนี้มีพื้นที่ครอบคลุมประเทศอย่าง อียิปต์ , ซีเรีย , ตุรกี และ อาเซอร์ไบจาน
ด้วยการออกแบบเพื่อให้ทนทาต่ออุณหภูมิที่สูงและแรงดันของชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ ยานลำนี้จึงสามารถอยู่ต่อการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของโลกเราได้ และการที่ยานไม่สามารถควบคุมได้ทำให้ประเทศที่อยู่บริเวณที่ยานจะตกลงกลายเป็นโซนที่เสี่ยง เพราะเมื่อตกแล้วยานมีโอกาสชนกับพื้นผิวโลกได้รุนแรง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้แก่บริเวณที่ตกลงกระทบได้
กฎหมายอวกาศกำหนดให้ต้องส่งคืนขยะอวกาศให้กับเจ้าของประเทศ แต่สหภาพโซเวียตปฏิเสธว่าไม่ทราบหรือเป็นเจ้าของดาวเทียม ดังนั้น กรรมสิทธิ์จึงตกเป็นของชาวนาที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ดาวเทียมตกเป็นของเจ้าของ
ข้อมูลออ้างอิง
- spaceth.co
- sattrackcam.blogspot.com (Kosmos 482 Descent Craft reentry forecasts [PERIODICALLY UPDATED] )