xs
xsm
sm
md
lg

แผนที่โลกของชาวกรีก บาบิโลน อาหรับ และจีนในสมัยโบราณ (มีคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในปี 1988 คณะผู้บริหารวิหาร Hereford ณ เมือง Hereford ในประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจนำ แผนที่โลก (Mappa Mundi) ซึ่งเป็นแผนที่ขนาดใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 13 ออกประมูลขายในราคา 2 ล้านปอนด์ เพื่อนำเงินมาบูรณะวิหารที่มีอายุร่วม 800 ปี



ข่าวนี้ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับชาวอังกฤษทุกคน เพราะแผนที่โลกดังกล่าว เป็นสมบัติที่ล้ำค่าของชาติ จึงไม่สมควรจะตกทอดไปเป็นสมบัติของชาติอื่น


Mappa Mundi เป็นแผนที่ที่ทำด้วยหนังวัว ขนาด 158x138 เซนติเมตร ซึ่งถูกวาดขึ้นเมื่อปี 1290 และมีขอบเป็นวงกลมบรรจุอยู่ภายในกรอบรูป 5 เหลี่ยม และมีสามทวีป คือ ยุโรป เอเชีย กับแอฟริกา เพราะในเวลานั้น คนทั้งโลกเชื่อว่าโลกแบน และยังไม่มีใครรู้จักทวีปอเมริกาหรือทวีปออสเตรเลีย


ในแผนที่มีนคร Jerusalem อยู่ที่ศูนย์กลาง มีกรุงโรม บาบิโลน และเมืองต่าง ๆ เรียงรายอยู่โดยรอบ มีภาพวาดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามบันทึกที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิล มีภาพสัตว์ประหลาด เช่น ตัว unicorn มังกร ขอบบนของแผนที่เป็นรูปสวรรค์ และที่ขอบล่างเป็นรูปนรก ด้านข้างแสดงดินแดนที่มนุษย์ยังเดินทางไปไม่ถึง จึงมีภาพสัตว์ประหลาดเหนือจริง เช่น คนครึ่งสัตว์ ที่มีร่างกายท่อนล่างเป็นคน และครึ่งบนเป็นสุนัข ตลอดจนคนมีเขาที่ศีรษะ เป็นต้น

ภาพวาดเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่า Mappa Mundi มิได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อช่วยนักเดินทางในการสัญจร แต่เพื่อใช้ในการสอนศาสนา ภาพยังแสดงการมีจินตนาการที่เกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนในเวลานั้นเป็นหลักด้วย เพราะข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของเมือง แม่น้ำ ภูเขา ฯลฯ ในประเด็นระยะทางและทิศทางผิดพลาดมาก

ครั้นเมื่อข่าวการประมูลขายแผนที่ได้แพร่กระจายไปถึงสังคมภายนอก บรรยากาศการต่อต้านได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้คณะผู้บริหารวิหารต้อง ประกาศยกเลิกการประมูล พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่า จะหาเงินมาบูรณะวิหารโดยการขอบริจาค หรือโดยอาศัยกรรมวิธีอื่น

ณ วันนี้ เวลาเราเดินทางไปทำธุรกิจ ทัศนาจร หรือไปพบปะใคร ณ ที่ไกล ๆ เรามักใช้แผนที่ในการนำทาง เพื่อให้ไปถึงจุดหมายโดยไม่หลงทาง และไม่ต้องเสียเวลามาก นอกจากจะช่วยชี้ทางแล้ว ตามปกติแผนที่ยังแสดงสถานที่ที่น่าสนใจบนเส้นทางไปให้เราได้แวะเยี่ยมชมด้วย การได้เห็นโลกภายนอกในหลายมิติ จึงช่วยเปิดหู เปิดตา และเปิดใจของนักเดินทางได้มากด้วย


ในแผนที่มีนคร Jerusalem อยู่ที่ศูนย์กลาง มีกรุงโรม บาบิโลน และเมืองต่าง ๆ เรียงรายอยู่โดยรอบ มีภาพวาดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามบันทึกที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิล มีภาพสัตว์ประหลาด เช่น ตัว unicorn มังกร ขอบบนของแผนที่เป็นรูปสวรรค์ และที่ขอบล่างเป็นรูปนรก ด้านข้างแสดงดินแดนที่มนุษย์ยังเดินทางไปไม่ถึง จึงมีภาพสัตว์ประหลาดเหนือจริง เช่น คนครึ่งสัตว์ ที่มีร่างกายท่อนล่างเป็นคน และครึ่งบนเป็นสุนัข ตลอดจนคนมีเขาที่ศีรษะ เป็นต้น

ภาพวาดเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่า Mappa Mundi มิได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อช่วยนักเดินทางในการสัญจร แต่เพื่อใช้ในการสอนศาสนา ภาพยังแสดงการมีจินตนาการที่เกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนในเวลานั้นเป็นหลักด้วย เพราะข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของเมือง แม่น้ำ ภูเขา ฯลฯ ในประเด็นระยะทางและทิศทางผิดพลาดมาก

ครั้นเมื่อข่าวการประมูลขายแผนที่ได้แพร่กระจายไปถึงสังคมภายนอก บรรยากาศการต่อต้านได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้คณะผู้บริหารวิหารต้อง ประกาศยกเลิกการประมูล พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่า จะหาเงินมาบูรณะวิหารโดยการขอบริจาค หรือโดยอาศัยกรรมวิธีอื่น

ณ วันนี้ เวลาเราเดินทางไปทำธุรกิจ ทัศนาจร หรือไปพบปะใคร ณ ที่ไกล ๆ เรามักใช้แผนที่ในการนำทาง เพื่อให้ไปถึงจุดหมายโดยไม่หลงทาง และไม่ต้องเสียเวลามาก นอกจากจะช่วยชี้ทางแล้ว ตามปกติแผนที่ยังแสดงสถานที่ที่น่าสนใจบนเส้นทางไปให้เราได้แวะเยี่ยมชมด้วย การได้เห็นโลกภายนอกในหลายมิติ จึงช่วยเปิดหู เปิดตา และเปิดใจของนักเดินทางได้มากด้วย


แผนที่โลกที่ Anaximander วาด มีสามทวีป คือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา (ในสมัยนั้นเรียก Libya) โดยมีแม่น้ำ Nile คั่นระหว่างเอเชียกับแอฟริกา มีแม่น้ำ Phasis กับทะเลดำ (Black Sea) และทะเลสาบ Mariout คั่นระหว่างเอเชียกับยุโรป (ปัจจุบันแม่น้ำ Phasis คือ แม่น้ำ Rioni ในประเทศ Georgia) นอกจากนี้ก็มีทะเล Mediterranean คั่นระหว่างยุโรปกับแอฟริกาด้วย และทวีปทั้งสามถูกล้อมรอบโดยมหาสมุทร
นอกจากจะสร้างแผนที่โลกแล้ว Anaximander ยังได้ออกแบบสร้างนาฬิกาแดดด้วย โดยการปักเสาตรง (gnomon) ลงในแนวดิ่งที่ใจกลางแผ่นกระดาน เพื่อให้ความยาวของเงาเสาที่ปรากฏบนแผ่นกระดาน แสดงเวลา โดยเงาจะสั้นที่สุด แสดงเวลาเที่ยงวัน เป็นต้น

Anaximander เชื่อว่า โลกของเรา คือ จุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดาวต่าง ๆ ตลอดจนถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โคจรไปรอบโลกอย่างเป็นระเบียบ และโลกอยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนที่ โดยวางตัวอยู่บนเสาหิน ที่ถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร ในการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ซึ่ง Anaximander เชื่อว่า เกิดจากการชนระหว่างก้อนเมฆ และการชนกันอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดฟ้าร้องเสียงดังมาก แต่ถ้าการชนรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าแลบ

ผลงานของ Anaximander เรื่องแผนที่โลก นับเป็นงานชิ้นแรกในประวัติศาสตร์ ที่มีการวาดแผนที่โลก ซึ่งแสดงที่ตั้งและขนาดของทวีป แม่น้ำ และทะเล ฯลฯ เช่น ให้ทะเล Aegean ถูกปิดล้อมด้วยทวีปทั้งสาม ผลงานของ Anaximander ซึ่งเป็นทั้งนักทำแผนที่และนักภูมิศาสตร์ระดับอัจฉริยะนี้ได้ปูทางให้ Strabo (63 ปีก่อนคริสตกาล–24) และ Herodotus (484-425 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ต่อยอดความรู้ ด้วยการเดินทางไปทัศนศึกษาในที่ต่าง ๆ และให้ Eratosthenes (276-194 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เป็นผู้วัดขนาดของโลกเป็นคนแรกในเวลาต่อมา


ชาวกรีกมิใช่ชนกลุ่มเดียวที่สนใจธรรมชาติทางกายภาพของโลก ชาว Babylonian ในสมัยโบราณก็รู้จักทำแผนที่โลก (ImagoMundi) เช่นกัน และทำด้วยการแกะสลักเป็นภาพและอักษรจารึกรูปลิ่ม (cuneiform) ลงบนแผ่นดินเหนียวที่ได้นำไปตากจนแห้ง เมื่อประมาณ 5 ศตวรรษ ก่อนคริสตกาล และนักโบราณคดีได้ขุดพบตัวอย่างจารึกแผนที่นี้ที่เมืองโบราณ Sippar ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของกรุง Babylon ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำ Euphrates

ทั้งๆ ที่มีข้อจำกัดในเรื่องเทคโนโลยีของการทำแผนที่ และมีความรู้ทางภูมิศาสตร์ไม่มาก แต่นักทำแผนที่ชาว Babylon ก็ได้กำหนดให้กรุง Babylon อยู่ที่จุดศูนย์กลางของโลก รายล้อมด้วยเมืองต่าง ๆ อีก 7 เมือง กับเกาะ 7 เกาะ ซึ่งทั้งหมดถูกล้อมรอบโดยวงกลมสองวงที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน และกำหนดให้พื้นที่ระหว่างวงกลมทั้งสองแทนมหาสมุทรที่มนุษย์เดินทางข้ามไม่ได้ โลกของชาวบาบิโลนจึงมีขนาดจำกัด


จารึกที่ปรากฏอยู่บนแผนที่โลกนี้ ยังแสดงที่ตั้งของอาณาจักร Assyria และ Elam ด้วย ในแผนที่มีภาพแสดงภูเขา Zagros ที่อยู่ในบริเวณที่ลุ่มทางตอนเหนือของอิรัก อีกทั้งมีการอ้างอิงถึงความรู้เก่า ๆ ที่คนในอดีตได้วาด นี่แสดงให้เห็นประเพณีการถ่ายทอดความรู้ของชาว Babylon จากรุ่นสู่รุ่น

บนจารึกด้านตรงข้ามกับแผนที่โลก มีภาพแกะสลักที่แสดงให้เห็นการผสมผสานความรู้ภูมิศาสตร์กับความรู้ดาราศาสตร์ที่คนทั่วไปมีในอารยธรรม Babylon

นักโบราณคดีที่ศึกษาจารึก Imago Mundi ของชาวบาบิโลนยังได้พบอีกว่า แผนที่อักษรรูปลิ่มนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 2600-2900 ปีก่อน ข้อความในจารึกได้กล่าวถึงประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ ของชาวเมือง โดยได้เชื่อมโยงสภาพทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรกับตำนานเรื่องเล่าต่างๆ โดยได้กล่าวถึงเทพ Marduk ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของชาว Babylon และเทพ Anzu ซึ่งเป็นเทพนกที่มีศีรษะเป็นสิงโต นี่จึงเป็นการเน้นย้ำว่าเทพเจ้าของชาวบาบิโลนเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในการควบคุมเหตุการณ์ทุกรูปแบบในธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์อังกฤษ British Museum ได้ซื้อแผนที่โลกแผ่นนี้ตั้งแต่ปี 1882 และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านจารึก เพื่อจะได้รู้และเข้าใจโลกของชาว Babylon ว่า ผู้คนในอารยธรรมนี้ มีความเป็นอยู่และความเจริญอย่างไร ข้อความที่ปรากฏยังแสดงให้เห็นจินตนาการของผู้คนในอารยธรรมนี้ด้วยว่าชาว Babylon เข้าใจเชื่อมโยงความรู้ทางภูมิศาสตร์กับดาราศาสตร์อย่างไร

Imago Mundi จึงเป็นอะไรสำหรับคนปัจจุบันมากกว่าจะเป็นเพียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพราะได้แสดงความกระหายรู้ และความต้องการจะเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ โดยได้บูรณาการความรู้ภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ให้เข้ากับความเชื่อ ในตำนานทั้งหลาย ลงในจารึกอักษรรูปลิ่ม จารึกจึงแสดงให้เราปัจจุบันล่วงรู้ความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 ปีก่อน ได้เป็นอย่างดี


เทคโนโลยีและแนวคิดในการทำแผนที่ ซึ่งเริ่มต้นโดย Anaximander ได้รับการพัฒนาต่อ โดย Hipparchus (190-120 ปีก่อนคริสตกาล) แห่ง Bithynia และ Claudius Ptolemy (100-170) โดยเฉพาะ Ptolemy นั้นได้เขียนตำรา “Guide to Geography” โดยได้วางหลักการให้นักวิชาการได้ใช้ในการทำแผนที่ ด้วยการทำตารางเป็นรูป grid บนแผนที่เพื่อบอกพิกัดของสถานที่สำคัญต่าง ๆ และวิธีนี้ได้นำไปสู่การกำหนดเส้นรุ้งและเส้นแวงของโลกในเวลาต่อมา

ครั้นเมื่ออารยธรรมกรีกและอาณาจักรโรมันถึงเวลาล่มสลาย นักวิชาการอาหรับได้นำตำราของ Ptolemy มาศึกษา วิเคราะห์ แล้วแปลเป็นภาษาอาหรับ จากนั้นปราชญ์อาหรับทั้งหลายก็ได้ต่อยอดความรู้ทางภูมิศาสตร์นี้ และได้สร้างอุปกรณ์ astrolabe ขึ้นมา เพื่อใช้สร้างความรู้ทางดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ ในการบอกเวลา ตำแหน่ง และทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก ตลอดจนถึงช่วยทำแผนที่ดาราศาสตร์ด้วย

นักทำแผนที่คนสำคัญของชาวอาหรับมีหลายคน และคนหนึ่ง คือ al-Ma'mum (786-833) ซึ่งเป็นกาหลิบแห่งราชวงศ์ Abbasid ที่ได้ทรงปกครองอาณาจักรอาหรับมาตั้งแต่ปี 750-1268 ในเวลานั้น ชาวอาหรับทุกคนยอมรับว่า กาหลิบทรงเป็นทายาทของศาสดา Mohammad ดังนั้นกาหลิบจึงเป็นผู้นำทั้งทางศาสนาและทางการปกครอง แผนที่โลกของชาวอาหรับได้บรรจุรายละเอียดทางภูมิศาสตร์เป็นจำนวนมาก เช่น มีระยะทางต่าง ๆ เป็นตัวเลขที่แม่นยำขึ้น


ปราชญ์อาหรับคนที่สองที่มีชื่อเสียงในการทำแผนที่ คือ al-Idrisi (1100–1166) ซึ่งได้ทำแผนที่โดยใช้การสังเกตเห็นด้วยตนเอง และฟังความคิดเห็นที่เป็นประสบการณ์ของนักเดินทางคนอื่น ๆ จากนั้นก็ได้เขียนตำราชื่อ “Tabula Rogeriana” ขึ้น เมื่อปี 1154 เพื่อนำไปถวายกษัตริย์ George ที่ 2 แห่งเกาะ Sicily โดยได้ข้อมูลต่าง ๆ จากบรรดานักธุรกิจที่เดินทางติดต่อค้าขายระหว่างอาณาจักร Arab กับทวีป Africa และยุโรป


แผนที่โลกที่สร้างโดยนักภูมิศาสตร์อาหรับในยุคนั้น มักมีสีสันที่ระบายสวยและมีข้อมูลที่น่าสนใจ เพราะแสดงเส้นทางการค้าระหว่างเมืองต่าง ๆ ให้พ่อค้าได้รู้จักยิ่งกว่าที่จะให้คนอ่านมีความรู้ทั่วไป เช่น แผนที่จะบอกระยะทางระหว่างเมือง Mosul กับเมือง Damascus เป็นตัวเลข และบอกตำแหน่งที่ตั้งของภูเขา Casius ในตุรกี เป็นต้น


ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 โลกอาหรับมีปราชญ์ระดับสุดยอดผู้หนึ่งชื่อ Al-Biruni (973-1048) ซึ่งเป็นคนที่รอบรู้สารพัดเรื่องทั้งทางดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา มานุษยวิทยา ศาสนา เภสัชวิทยา และเรขาคณิต ตลอดจนถึงรู้วิธีสร้างปฏิทินเป็นอย่างดี และเป็นผู้คิดหาความสัมพันธ์ระหว่าง tangent, cotangent, secant และ cosecant ในวิชาตรีโกณมิติเป็นคนแรก อีกทั้งยังได้เขียนตำราแสดงวิธีการทำแผนที่ในหัวข้อ “Measurement of Distance Between Known Places on Earth” ระหว่างเมืองต่าง ๆ นับร้อยเมือง รวมทั้งได้ปรับปรุงแก้ไขแผนที่ของ Ptolemy ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นด้วย เช่น Ptolemy อ้างว่า ระยะทางจากยุโรปถึงเอเชีย โดยผ่านทางมหาสมุทร Atlantic มีค่าประมาณ 15,000 กิโลเมตร (ตัวเลขนี้ได้ทำให้ Christopher Columbus (1451–1506) คิดว่า เขาสามารถเดินเรือจากยุโรปถึงเมืองจีน โดยข้ามมหาสมุทร Atlantic ได้ภายในเวลา 1 เดือน แต่ในความเป็นจริง ระยะทางมีค่าโดยประมาณเท่ากับ 23,000 กิโลเมตร)

ผลงานเหล่านี้ของ Biruni ที่เขียนเป็นภาษาอาหรับได้รับการแปลเป็นภาษาละติน เมื่อตำราของเขาเดินทางย้อนกลับสู่ยุโรปในยุค Renaissance

ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ของ Biruni มีผลทำให้สมาคมดาราศาสตร์โลกได้ตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตหลุมหนึ่งบนดวงจันทร์ว่า ชื่อ Biruni

แผนที่โลกของชาวอาหรับยังได้เปิดประตูสู่โลกภายนอกให้บรรดานักเดินเรือและพ่อค้านำเรือไปติดต่อค้าขายตามหัวเมืองต่าง ๆ ในทะเล Mediterranean ทะเลดำ มหาสมุทร Atlantic และทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาด้วย โดยใช้แผนที่ที่มีชื่อว่า Portolan Chart ซึ่งเป็นคำที่มาจากคำ portolano ในภาษาอิตาเลียน ที่แปลว่า เกี่ยวข้องกับท่าเรือ

แผนที่ Portolan ได้เริ่มปรากฏตัวในโลกเดินทาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยได้บอกรายละเอียดของบรรดาเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล แต่ไม่ได้บอกข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีป เพราะนักเดินเรือในเวลานั้น เดินทางลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ไม่ได้


ครั้นเมื่อ Gerard Mercator (1512–1594) นำเทคนิคการทำแผนที่แบบ Mercator มาใช้ แผนที่ Portolan ก็ทยอยถูกเลิกใช้ และ Mercator ได้รวบรวมแผนที่โลกที่เขียนในรูปแบบต่าง ๆ มาจัดพิมพ์รวมเล่ม เพื่อนำออกเผยแพร่ และหนึ่งในแผนที่เหล่านั้น ได้แสดงทวีปอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1507

ในจีนก็มีการทำแผนที่เช่นกัน คือ เมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นยุคของราชวงศ์ Han ได้มีการพบแผนที่ที่วาดลงบนผ้าไหมในหลุมฝังพระศพขององค์จักรพรรดิ เพราะจุดประสงค์หลักของนักทำแผนที่จีน คือ ให้จักรพรรดิทรงใช้ในการปกครองบ้านเมืองและกำกับกิจกรรมทางทหาร พระองค์จึงจำเป็นจะต้องมีแผนที่แสดงเมืองต่าง ๆ ที่จักรพรรดิทรงปกครอง


ประวัติศาสตร์จีนได้บันทึกว่า นักทำแผนที่จีนชื่อ Jia Dan ได้วาดภาพแผนจีนที่ในยุคของราชวงศ์ Tang (618-907) ซึ่งได้แสดงตำแหน่งที่ตั้งของประเทศอินเดียและประเทศเปอร์เซียด้วย ครั้นเมื่อคนจีนรู้จักใช้เข็มทิศในยุคของราชวงศ์ Song (960-1279) ช่างทำแผนที่ชื่อ Shen Kuo ได้แกะสลักแผนที่แสดงแม่น้ำและภูเขา ลงบนแผ่นหินเป็นครั้งแรกfh;p

เมื่อถึงยุคของราชวงศ์ Ming (1368-1644) Xu Guangqi ซึ่งเป็นเสนาบดีกรมพิธีกรรมแห่งราชวงศ์หมิง ได้ร่วมมือกับนักบวช Matteo Ricci (1552-1610) ในการวาดแผนที่จีน โดยใช้เทคนิคการวาดตามแบบยุโรป แต่วาดในสไตล์จีน

เมื่อถึงวันนี้ เทคโนโลยีการทำแผนที่ของจีนได้ก้าวหน้าไปมากแล้ว เพราะได้ใช้เทคโนโลยี digital, ใช้ดาวเทียม, ระบบ GPS, Google Maps, real-time 3D mapping และ AI กับ machine learning ในการทำแผนที่โดยอัตโนมัติ

ดังนั้นพัฒนาการการทำแผนที่ของจีน จากเริ่มต้นด้วยการวาดลงบนผ้าไหม ไม้ไผ่ กระดาษเพื่อใช้ประโยชน์ในทางทหาร และต่อมาจนถึงการรู้จักการทำแผนที่ประเทศและโลก

แผนที่จีนในสมัยโบราณที่สำคัญ ได้แก่


1.Mawangdui Silk Map (เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล) แสดงแม่น้ำ ภูเขา เมือง

2.Yu Ji Tu (ปี 1137) ซึ่งสลักบนหิน

3.Kunyu Wanguo Quantu (1602) โดยนักวิชาการจีน Xu Guangqi กับ Matteo Ricci ซึ่งเป็นนักบวชชาวอิตาเลียน

หลังจากที่คนเราได้รู้วิธีทำแผนที่มานานร่วม 2,600 ปี จนได้รู้ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์มากพอสมควรแล้ว เราก็ได้พยายามทำแผนที่ผิวของดวงจันทร์อย่างละเอียดด้วย โดยการส่งดาวเทียมไปโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อถ่ายภาพ ภาพที่ได้ทำให้เราเห็นสภาพทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์อย่างละเอียดอย่างที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน และสมบูรณ์ดียิ่งกว่าการได้เห็นสภาพของพื้นดินทั้งหมดที่อยู่ใต้ท้องมหาสมุทรบนโลกเสียอีก

และนี่ก็คือแผนการในอนาคตของ NASA ที่มีโครงการ Surface Water and Ocean Topography (SWOT) โดยการส่งดาวเทียมขึ้นท้องฟ้า เพื่อสำรวจท้องทะเลลึก เพื่อนักทำแผนที่จะได้เห็นการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ซึ่งถ้ารอยเลื่อนนี้เคลื่อนที่ ก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ ได้เห็นภูเขาใต้น้ำ ภูเขาไฟใต้มหาสมุทร เห็นหุบเหว เห็นการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต และเห็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ฯลฯ ด้วย


โครงการ SWOT เกิดจากความร่วมมือระหว่าง NASA กับ Centre national d'études spatiales (CNES) ของฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจะถ่ายภาพพื้นที่ผิวโลกประมาณ 90% ในทุก 21 วัน และที่ผ่านมาก็ได้เห็นภูเขาและเนินเขาใต้น้ำเป็นจำนวนมากตั้งแต่ 44,000-100,000 ลูกแล้ว

ผลงานนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Science ฉบับเดือนธันวาคม ปี 2024


อ่านเพิ่มเติมจาก NASA Earth Observatory maps by Michala Garrison using SWOT data provided by Yu, Y., et al. (2024). Video by NASA’s Scientific Visualization Studio. Story by Jane Lee/Jet Propulsion Laboratory, adapted for Earth Observatory. เมื่อ April 1,2025


ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน : ประวัติการทำงาน - ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์
ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน,ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

อ่านบทความ "โลกวิทยาการ" ได้ทุกวันศุกร์




กำลังโหลดความคิดเห็น