xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ ค้นพบแบคทีเรียย่อยสลายพลาสติก หวังช่วยลดปัญหาการย่อยสลายขยะพลาสติก ที่ย่อยสลายยากในธรรมชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก University of California ได้ค้นพบแบคทีเรียชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลาย โพลียูรีเทน (Polyurethanes) พลาสติกที่ถูกใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในพลาสติกที่รีไซเคิลได้ยากและส่วนใหญ่มักจะถูกกำจัดด้วยการนำไปฝังกลบ ซึ่งสามารถช่วยย่อยสลายขยะพลาสติกในธรรมชาติได้ การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2024

Han Sol Kim นักวิทยาศาสตร์ในทีมวิจัยของ University of California ที่ได้ค้นพบ แบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus Subtilis) แบคที่เรียที่มีประสิทธิภาพในย่อยสลายพลาสติกโพลียูรีเทนได้ โดยแบคทีเรียชนิดนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในวัตถุเจือปนอาหารและโพรไบโอติก ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์


โดยการทดลองย่อยสลายพลาสติกโพลียูรีเทน คือการผสมสปอร์ของแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส ที่มีความสามารถกินพลาสติกเข้าไปในพลาสติก ทำให้เกิดพลาสติกชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายตัวเองได้ โดยสปอร์นี้จะไม่เคลื่อนไหวในช่วงอายุการใช้งานของพลาสติก แต่จะกลับมามีชีวิตและเริ่มย่อยสลายผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้นทันที เมื่อสัมผัสกับสารอาหารที่อยู่ในปุ๋ยหมักที่อยู่ในถังขยะ

นอกจากจะสามารถช่วยย่อยสลายพลาสติกแล้ว พลาสติกที่มีสปอร์ของแบคทีเรียเหล่านี้ยังมีความทนทานมากขึ้น ช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับพลาสติกได้นาน ทำให้ลดการทิ้งพลาสติกได้อีกด้วย

"เราสามารถลดมลพิษจากพลาสติกที่อยู่ในธรรมชาติได้ และสามารถช่วยกันลดปริมาณการใช้พลาสติกหรือนำมาใช้ซ้ำหลายครั้ง เพื่อช่วยลดโลกร้อนได้เช่นกัน เพียงเริ่มต้นจากตัวเรา”  .... Han Sol Kim นักวิทยาศาสตร์ในทีมที่ค้นพบแบคทีเรีย กล่าว


ปัจจุบันพลาสติกผสมสปอร์แบคทีเรียชนิดย่อยสลายตัวเองได้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทีมนักวทิยาสตร์มั่นใจว่าจะใช้งานได้จริงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หากผู้ผลิตพลาสติกเข้ามามีส่วนช่วยเหลือ ซึ่งงานวิจัยนี้อาจมาช่วยกู้โลกจากวิกฤตขยะพลาสติกได้


_______________________________________________________________________



ข้อมูล – รูปอ้างอิงfrontiersin.org , universityofcalifornia.edu , bbc.com


กำลังโหลดความคิดเห็น