ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า 21 ปีที่ผ่านมา นาโนเทคเติบโตและมีกำลังคนด้านนาโนเทคโนโลยีที่ทำงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง มีกำลังคนสายงานสนับสนุนที่เป็นกำลังเสริมในด้านต่างๆ เพื่อนำนวัตกรรมส่งถึงมือผู้ใช้
"เสื้อนาโน มุ้งนาโน โลชั่นกันยุงนาโน SOS Water เครื่องผลิตน้ำพลังแสงอาทิตย์ หรือไข่ออกแบบได้" นวัตกรรมในยุคแรกๆ ของนาโนเทค ที่มีการต่อยอดทั้งในเชิงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชน รวมถึงเชิงสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงภาวะฉุกเฉิน ก่อนขยับสู่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าเดิม เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการ อาทิ เวชสำอางจากพืชสมุนไพรต่างๆ อาทิ เห็ดหลินจือ หรือกลุ่ม Herbal Champion, แผ่นกรองอากาศต้านเชื้อราแบคทีเรีย หรือการตอบโจทย์ความต้องการเร่งด่วนอย่างการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อาทิ ชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 (NANO Covid-19 Antigen Rapid Test), หมวกแรงดันบวก- ลบ ลดการแพร่เชื้อหรือสารฆ่าเชื้อต่างๆ” ดร. อุรชา ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าวพร้อมย้ำว่า นาโนเทค2025 เราจะ "รุก" ให้มากขึ้น
นาโนเทค สวทช. ในปี 2568 จะเดินหน้าตามแนวคิด Innovate, Collaborate and Grow ที่จะให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัย คือ นวัตกรรม, ความร่วมมือกับพันธมิตร และการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์ที่เรียกว่า 4 Strategic Focus (SF) หรือกลไกการผลักดันเทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน (improve quality of life) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยนาโนเทค ที่มุ่งเป้าเพื่อแก้ไขปัญหาตามโจทย์ความต้องการของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เสริมแกร่งความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ สารสกัดสมุนไพร, ชุดตรวจสุขภาวะ, เกษตรและอาหาร และ น้ำและสิ่งแวดล้อม
“
"นอกจากผลงานที่จะเห็นจาก 4SF จากนี้ นาโนเทค จะมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและชุมชนด้วยแนวคิด innovation solution ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรมนาโนเทคให้มากที่สุด, ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ กระชายดำ และบัวบก รวมถึงจัดตั้งบริษัทสตาร์ตอัพ 2 บริษัท ในด้านสมุนไพรและการแพทย์ สุดท้ายปลายทางคือ เราคาดหวังจะเพิ่มผู้ที่ได้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมของเรา ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หน่วยงาน หรือชุมชนที่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ วางโจทย์ไว้ว่า จะเพิ่ม 5% จากจำนวนผู้ที่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ 2580 ราย 67 องค์กรในปี 2567” .... ดร. อุรชากล่าว