xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ เผย ภายใน 3 - 6 ปี ข้างหน้า อาร์กติกจะกลายเป็นพื้นที่ปลอดน้ำแข็ง และอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หนึ่งในความกังวลเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน คือการละลายของน้ำแข็งในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่น การละลายของน้ำแข็งอย่างรวดเร็วในเขตอาร์กติก หรือที่หลายคนรู้จักกันว่า “เขตขั้วโลกเหนือ” โดยการศึกษาปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้เผยว่า เขตอาร์กติกจะกลายเป็นพื้นที่ปลอดน้ำแข็งภายใน 3 - 6 ปี และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะทำให้ทะเลในอาร์กติกอาจไม่มีน้ำแข็งปกคุลมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

ดร. Céline Heuzé จากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก กล่าวว่า การศึกษาเขตอาร์กติก โดยดาวเทียมตั้งแต่ ปี 1978 นักวิทยาศาสตร์ได้พบความเปลี่ยนแปลงของการละลายของน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา การละลายของน้ำแข็งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหายไปมากน้อยมากแค่ไหน


อาร์กติกถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำแข็งที่เห็นได้อย่างชัดเจน และกลายเป็นภาพจำที่ติดตาในภูมิทัศน์ดินแดนน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ แต่น้ำแข็งที่เป็นภาพจำนี้กำลังลดลงเรื่อยๆ ราว 12% ในแต่ละทศวรรษ

แม้จะมีการศึกษาและคาดการณ์ว่าน้ำแข็งจะหายไปในอนาคตอันใกล้ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าปริมาณน้ำแข็งดังกล่าวจะไม่หายไปทั้งหมดในเร็วๆ แต่ตามการวิเคราะห์ที่ใช้ข้อมูลใหม่ได้เผยให้เห็นว่า วันที่อาร์กติกจะไร้น้ำแข็งอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า การจำลองสภาพอากาศ 366 ครั้ง เผยข้อมูลการวิเคราะห์ว่า มหาสมุทรอาร์กติกจะไร้น้ำแข็งภายใน 3 - 6 ปี จากปัจจุบัน และการละลายนี้อาจทำให้สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่เคยหนาวเหน็บและมีน้ำแข็งมากมายนี้ปั่นป่วน


การศึกษานี้ เน้นเฉพาะเรื่อง วันแรกที่มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่มีน้ำแข็ง ความหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ ครั้งแรกที่แผ่นน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกหดตัวลงต่ำหว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตรบนพื้นผิวมหาสมุทร

ดังนั้นหากวันแรกนี้เกิดขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะมีวันต่อๆ มาด้วยเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า เหตุการณ์ที่คาดการณ์นี้ มีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้นระหว่างปี 2031 ถึง 2044 และแย่ที่สุดคือ ปี 2027 นี้ การฟื้นตัวของน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาวที่ช้าลงจนไม่ทันวัฏจักรปกติ ทำให้น้ำแข็งหายไปหมดตั้งแต่ช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นที่น้ำแข็งจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง อาจฟังดูเกิดขึ้นได้ยาก แต่เมื่อมองดูแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ลดลง


“วันที่ไม่มีน้ำแข็งวันแรกในอาร์กติกอาจจะไม่ทำให้สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่มันจะแสดงให้เห็นว่าเราได้เปลี่ยนแปลงลักษณะเฉพาะพื้นฐานอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งก็คือการปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลและหิมะตลอดทั้งปี จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”  ……. ดร. Alexandra Jahn มหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์ หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ กล่าว


ข้อมูล – รูปอ้างอิง : environman.co.th - nature.com (The first ice-free day in the Arctic Ocean could occur before 2030) - scientificamerican.com (The Arctic Could Be Functionally Ice-Free in Just a Few Years)


กำลังโหลดความคิดเห็น