xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) “กราฟีน" วัสดุแห่งอนาคต ต่อยอดขยะการเกษตร(หลักสิบ) สู่วัสดุแข็งกว่าเหล็ก 200 เท่า(หลักแสน)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ในปัจจุบัน “กราฟีน”(Graphene) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวัสดุศาสตร์แห่งอนาคต ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรงกว่าเหล็กถึง 200 เท่า แต่มีที่มาจากขยะการเกษตร ทำให้วัสดุชนิดนี้มีส่วนช่วยในการลดขยะและคาร์บอนในสิ่งแวดล้อม

ดร.พัฒนพงศ์ จันทร์พวง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเทคนิคและวิศวกรรม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า การเผาขยะทางการเกษตรเป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหาโลกร้อน ที่กำลังเป็นวิกฤตทำให้สภาวะอากาศของโลกแปรปรวน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จึงได้มีการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ด้วยการนำขยะทางการเกษตรที่มีมูลค่าเพียงแค่หลังสิบบาท มาเปลี่ยนเป็น “กราฟีน” วัสดุที่แข็งแรงกว่าเหล็ก 200 เท่า และมีมูลค่าถึงหลักแสนบาท นวัตกรรมหมุนเวียนคาร์บอนที่ลดปัญหาโลกร้อน และยังช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร


กราฟีนจากขยะการเกษตรนั้น เป็นงานวิจัยที่ได้นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีไฮโดรคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น กาบมะพร้าว ซังข้าวโพด กากเมล็ดกาแฟ มาผลิตเป็นกราฟีนด้วยระบบสังเคราะห์กราฟีนด้วยการให้ความร้อนฉับพลัน

“กราฟีนที่ได้จากการสังเคราะห์ ถือเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็ก 200 เท่า เมื่อนำไปผสมกับคอนกรีตเพียง 0.1% จะเพิ่มความแข็งแรงให้คอนกรีตได้ถึง 35% และยังทำให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “


จากข้อมูลการศึกษาพบว่าคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุหลักในอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้โลกสูงถึง 39% ดังนั้นกราฟีนจากขยะจากการเกษตรนี้ นับเป็นนวัตกรรมการนำคาร์บอนคาร์บอนหมุนเวียน ที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาคอนกรีตคาร์บอนต่ำ ลดการปลดปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้


นอกจากจะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว งานวิจัยในเรื่องนี้ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับขยะทางการเกษตร จากมูลค่าหลักสิบบาท เมื่อสังเคราะห์เป็นกราฟีนแล้ว ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 1 หมื่นบ้าน – 2 แสนบาท ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของกราฟีน และยังช่วยลดการเผาขยะจากการเกษตร ลดปัจจัยในการทำให้โลกร้อนขึ้นได้อีกด้วย






กำลังโหลดความคิดเห็น