xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) “ปืนตรวจวัดสารปนเปื้อนฟอร์มาลีนแบบพกพา” ใช้แค่กลิ่นตรวจ รู้ผลใน 12 วินาที

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์






ในปัจจุบันข่าวอาหาร ผัก ผลไม้ มีสารปนเปื้อนนั้น สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง เนื่องจากมีการนำสารบางชนิดมาใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เช่น การใช้ 'ฟอร์มาลีน' กับอาหารเพื่อรักษาความสดใหม่ ทำให้ผู้ที่กินหรือได้สัมผัสกับอาหารที่มีสารปนเปื้อน ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพร่างกาย

“เครื่องตรวจวัดการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหารแบบพกพา” หนึ่งในงานวิจัยที่ตอบโจทย์ในเรื่องนี้ เนื่องจากสามารถตรวจความปลอดภัยจากสารฟอร์มาลีน ที่มักถูกใช้กับอาหาร ผัก ผลไม้ โดยการตรวจเพียงใช้แค่กลิ่น พร้อมกับการแจ้งผลที่รวดเร็ว ในเวลา 12 วินาที อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุน ลดเวลาในการใช้ชุดตรวจที่ต้องเก็บตัวอย่างมาตรวจและใช้เวลาในการรอผล


รศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ทำการวิจัยและประดิษฐ์ เครื่องตรวจวัดการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหารแบบพกพา กล่าวว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ สามารถใช้ตรวจสอบสารปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารได้ทุกชนิดทั้งสถานะของแข็งและของเหลว เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล พืช ผัก ผลไม้ โดยไม่สัมผัสอาหาร ซึ่งใช้เทคโนโลยีก็าซเซนเซอร์ดมกลิ่นสารฟอร์มาลินทำงานได้รวดเร็ว ไม่อาศัยสารเคมี วัดซ้ำไปซ้ำมาได้ ไม่มีสารเคมีของเสีย ไม่สัมผัสกับวัสดุทดสอบ และสามารถบ่งบอกค่าปริมาณที่ชัดเจนเป็นตัวเลข โดยมีค่าการตรวจวัดตั้งแต่ 0 - 12 ppm ระยะในการตรวจวัดสามารถวัดห่างจากสารตัวอย่างประมาณ 15 เซนติเมตร และใช้เวลาการวิเคราะห์ผลน้อยกว่า 12 วินาที


ปัจจุบันพบว่ามีการนำสารฟอร์มาลิน มาใช้ผสมในอาหาร เพื่อรักษาให้สภาพอาหารดูมีความสดใหม่ โดยเฉพาะอาหารที่เน่าเสียง่าย จำพวก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ เป็นต้น การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารฟอร์มาลินจะทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่างๆ ได้ทั้ง มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งสมอง และ มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น โดยฉะนั้นอย่างยิ่งคนที่แพ้สารฟอร์มาลินจะทำให้เกิดผื่นแดง ระบบหายใจติดขัด จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากบริโภคปริมาณมาก เพราะฉะนั้นการตรวจจับสารปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายต่างๆ ต่อร่างกาย


วิธีการทั่วไปในการตรวจสารปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหาร ส่วนมากจะใช้วิธีทางเคมี เช่น การผสมของน้ำแช่ตัวอย่างกับสารละลาย Phynylhydrazine hydrochloride (C6H9ClN2) สารละลาย Potassium hexacyanoferrate (K4Fe(CN6)) และสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น (HCl) โดยตัวชี้วัดในการตรวจหาสารปนเปื้อนคือการสังเกตสีของสารเคมีที่ทำปฏิกิริยา ถึงแม้วิธีดังกล่าวจะสามารถบ่งชี้ถึงการปนเปื้อนของฟอร์มาลินได้อย่างดี แต่ยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ขั้นตอนทดสอบค่อนข้างยุ่งยาก ต้องสัมผัสกับสารตัวอย่าง สามารถตรวจสอบได้ทีละตัวอย่าง เกิดกากสารเคมี (Chemical Waste) ไม่สามารถใช้งานซ้ำ และ อาจเกิดอันตรายต่างๆ จากสารเคมีที่นำมาใช้ทดสอบหาสารปนเปื้อนฟอร์มาลินได้


กำลังโหลดความคิดเห็น