xs
xsm
sm
md
lg

มหาวิทยาลัยเกียวโต เปิดตัว “ดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลก” ต้นแบบการลดมลพิษชั้นบรรยากาศของโลกและขยะในอวกาศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในปัจจุบันด้วยจำนวนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจบนอวกาศ ทำให้เกิดมลพิษในชั้นบรรยากาศของโลกและขยะอวกาศที่เพิ่มจำนวนขึ้นที่สามารถสร้างอันตรายมากขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่โคจรรอบโลกในอวกาศ มหาวิทยาลัยเกียวโต และ บริษัท Sumitomo Forestry Co. ได้มีการร่วมมือวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ด้วยการสร้างดาวเทียมจากไม้ ที่ไม่เคยมีไม้อัดมาก่อน และเป็นดาวเทียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ทาคาโอะ โดอิ (Takao Doi) ศาสตราจารย์เฉพาะหลักสูตรจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกียวโต หนึ่งในสมาชิกทีมผู้สร้างดาวเทียม กล่าวว่า ดาวเทียมจากไม้มีเป้าหมายคือการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้สร้างอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกส่งไปปฏิบัติงานในอวกาศ จากอลูมิเนียมแทนที่ด้วยไม้ ซึ่งจะเผาไหม้ได้ง่ายขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นความหวังที่จะช่วยลดปริมาณขยะอวกาศที่เพิ่มมากขึ้นในวงโคจร และยังช่วยลดมลพิษในชั้นบรรยากาศของโลก อีกทั้งยัง ลดความเสี่ยงที่อุปกรณ์อวกาศต่างๆ จะไม่ถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศและตกลงสู่บ้านเรือน อาคารของพลเรือนยามเมื่อตกลงสู่พื้นโลก



“ในอนาคต หากเราสามารถปลูกต้นไม้บนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร แล้วสร้างบ้านที่นั่น ก็สามารถนำไม้มาเป็นวัสดุในการทำอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในอวกาศได้” 


โดยดาวเทียมไม้นี้ มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ขนาดเล็ก ขนาดประมาณขนาด 10 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ที่ทำจากไม้โฮโนกิ (Hoonoki) ซึ่งเป็นไม้แมกโนเลียชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ประกอบโดยใช้เทคนิคในการวางกรอบแบบดั้งเดิม ด้วยการต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันโดยไม่ต้องใช้ตะปู ภายในจะมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ใส่ไว้รวมอยู่ทั้งหมด ส่วนด้านนอกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เอาไว้ เพื่อใช้สำหรับเป็นแหล่งพลังงานของตัวดาวเทียม ดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลกดวงนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ

ภารกิจของดาวเทียมไม้ดวงนี้ มีแผนจะถูกส่งไปทดสอบยัง สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในวงโคจรโลกต่ำ ในเดือนกันยายน 2024 ก่อนจะถูกนำไปทดสอบใช้งานในส่วนโมดูลของ Kibo ห้องวิจัยอวกาศของญี่ปุ่น ที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อดูว่าวัสดุที่เป็นไม้ จะสามารถนำมาใช้ในอวกาศได้หรือไม่ ซึ่งตัวดาวเทียมจะทำการส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของตัวมัน เช่นการบิดงอ หรืออุณหภูมิ ส่งกลับไปยังมหาวิทยาลัยเกียวโตในทุกๆ 6 เดือน

หากการทดสอบประสบความสำเร็จ ดาวเทียมไม้ดวงนี้ ก็จะเป็นตัวอย่างในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะถูกส่งขึ้นไปทำภารกิจต่างๆ ในอวกาศรอบโลกของเราในอนาคต




ข้อมูล – รูปอ้างอิง :

- translate.google.co.th
- japannews.yomiuri.co.jp
- cleantechnica.com
- japan-forward.com
- AFP


กำลังโหลดความคิดเห็น