xs
xsm
sm
md
lg

“ศุภมาส” ชื่นชมผลงานโครงงานวิทย์ฯ เยาวชนอาเชียน หลังทีมเยาวชนไทยคว้าอันดับ 2 มาครองในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ พร้อมผลักดันให้เยาวชนอาเชียนมีศักยภาพทัดเทียมระดับโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ศุภมาส” ชื่นชมผลงานโครงงานวิทย์ฯ เยาวชนอาเชียน หลังทีมเยาวชนไทยคว้าอันดับ 2 มาครองในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพจากโครงงานการพัฒนาการเพาะเลี้ยงมดใต้ดินสู่อาหารโปรตีนชั้นยอด พร้อมผลักดันให้เยาวชนอาเชียนมีศักยภาพทัดเทียมระดับโลก

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานในพิธีปิดและมอบรางวัล ใน “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเชียน ครั้งที่ 10” (The 10th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2024)) โดยมี รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รอง ผอ. NSM และ ดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด หน่วยงานผู้สนับสนุนในการจัดงาน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมมอบรางวัลให้แก่ทีมเยาวชน ที่พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

โดยการแข่งขันการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ฯ มีตัวแทนเยาวชนจากประเทศอาเชียนเข้าร่วม 9 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย แบ่งการประกวดออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ปรากฎว่า ทีมเยาวชนจากประเทศสิงคโปร์คว้ารางวัลชนะเลิศไปครองใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จากโครงงานการสร้างแบบจำลองที่ครอบคลุมและการวิเคราะห์แบบไดนามิกของการเบรกแม่เหล็กในวัตถุนำไฟฟ้าที่หมุนได้สำหรับการเศษซากอวกาศและสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากโครงงานการคัดกรองพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม ฟอสโฟไดเอสเทอเรส เบต้า (PDEβ) สำหรับการค้นพบยามาลาเรีย ขณะที่ทีมเยาวชนจากประเทศฟิลิปปินส์ คว้าแชมป์ในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากโครงงานการตรวจสอบความเสถียรที่เพิ่มขึ้นและการปลดปล่อยตัวยาของอนุภาคนาโนของไคโตซาน-แอลจิเนตที่เชื่อมต่อกับเฮกซาเมตาฟอสเฟตสำหรับการนำส่งยา

สำหรับประเทศไทย ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จากโครงงานการพัฒนาการเพาะเลี้ยงมดใต้ดิน (Carebara castanea Smith, 1858) สู่อาหารโปรตีนชั้นยอดเพื่อความยั่งยืน สมาชิกในทีม ได้แก่นายแทนคุณ จันมะโฮง และ น.ส.สุธาสินี อุทัยกัน จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มอดินแดง) และรางวัลชมเชยในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพจากโครงงานการประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากอาหารเหลือทิ้งโดยระบบย่อยอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน สมาชิกในทีม ได้แก่ นายคณพศ ตั้งพูลผลวนิชย์ และ นายวสิษฐ รัตนวิชา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา

น.ส.ศุภมาส แสดงความยินดีกับความสำเร็จของทีมเยาวชนอาเชียนว่า ขอชื่นชมและยินดีกับเยาวชนอาเซียนทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันฯ ทั้งนี้ ต้องขอบคุณ NSM สมาคมวิทย์ฯ และบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด และทุกภาคส่วนที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดกิจกรรมเพื่อเยาวชนอาเซียน เพราะการส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถือเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศกลุ่มอาเซียนอย่างความยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนากลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์และหวังว่าเยาวชนอาเชียนจะนำผลงานเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้และต่อยอดเพื่อขับเคลื่อนสังคมอาเชียนให้ทัดเทียมระดับโลกต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.รวิน กล่าวว่า ปีนี้มี 9 ประเทศอาเชียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย ส่งผลงาน 39 โครงงานเข้าร่วมการแข่งขันสะท้อนให้เห็นถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพของเยาวชนในภูมิภาคอาเซียน พร้อมนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ กลับไปพัฒนาประเทศของตนเองต่อไป

สำหรับผลรางวัลอื่นๆ ใน “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 10” (The 10th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2024)) ประเภทต่าง ๆ มีดังนี้

สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ

•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศเวียดนาม โครงงาน : การออกแบบกังหันลมแกนตั้งขนาดเล็กที่ผสมผสานใบพัด Darrieus และ Savonius เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับครัวเรือนที่ยากจนในพื้นที่ภูเขาของเวียดนาม สมาชิกในทีม ได้แก่ PHAN DINH BACH และ NGUYEN SON HA

•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย โครงงาน : การยกระดับความปลอดภัยทางดิจิทัล : การพัฒนาเทคนิคประยุกต์สำหรับการตรวจจับ Deepfake แบบเรียลไทม์ โดย Maxwell Seteono

•รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย โครงงาน : การตรวจสอบประสิทธิภาพและสมรรถภาพของสุคนธบำบัดแบบพกพาและระบบฟอกอากาศแบบแม่เหล็ก ระบบ Koyo เพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม สมาชิกในทีม ได้แก่ Russell Sutandar และAnabelle Julinar และประเทศไทย โครงงาน : การประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากอาหารเหลือทิ้งโดยระบบย่อยอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน สมาชิกในทีม ได้แก่ นายคณพศ ตั้งพูลผลวนิชย์ และ นายวสิษฐ รัตนวิชา

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ประเทศไทย โครงงาน : การพัฒนาการเพาะเลี้ยงมดใต้ดิน (Carebara castanea Smith, 1858) สู่อาหาาโปรตีนชั้นยอดเพื่อความยั่งยืน สมาชิกในทีม ได้แก่ นายแทนคุณ จันมะโฮง และ นางสาวสุธาสินี อุทัยกัน

•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ โครงงาน : การตรวจหาระดับโมเลกุลของแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่ทนต่อยาปฏิชีวนะจากไก่พันธุ์เนื้อ (Gallus gallus domesticus) สมาชิกในทีม ได้แก่ Corpuz, Gean Draexi D. และ Laeno, Arianne Gayle S.

•รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ประเทศสิงค์โปร์ โครงงาน : การวิเคราะห์ยีนที่แสดงออกแตกต่างกันในการทำให้ละมุดสุก โดย Gan Mingle Chloe และประเทศเวียดนาม โครงงาน : การวิจัยเกี่ยวกับการสังเคราะห์และการประเมินประสิทธิผลในการต้านจุลชีพของวัสดุผสมระหว่างไฮโดรทัลไซต์ และเงิน สมาชิกในทีม ได้แก่ NGUYEN BAO QUYEN และ DINH TUE LINH

สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ประเทศสิงค์โปร์ โครงงาน : การตรวจสอบผลกระทบของภูมิอากาศจุลภาคต่อความเครียดและอารมณ์ของนักเรียนโดยใช้อุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสรีรวิทยาที่ออกแบบเอง สมาชิกในทีม ได้แก่ Nguyen Duc Minh Anh และ Nguyen Thien Minh Tuan

•รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย โครงงาน : คาร์บอนรูพรุนจากเปลือกข้าวโพดเพื่อใช้เป็นอิเล็กโทรดทางเลือกสำหรับแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สมาชิกในทีม ได้แก่ Anissa Putri Shafira และ Khairunnisa Tefana Salsabila

•รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ประเทศกัมพูชา โครงงาน : รถที่ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน สมาชิกในทีม ได้แก่ Chanroeun Seihakanhchna และTep Lookmunik และประเทศมาเลเซีย โครงงาน : SAFVE ( SAFE and SAVE) สมาชิกในทีม ได้แก่ AINA ZAHIRA BINTI MOHD AZNOL และ NUR NAJMINA BILQIS BINTI MOHD FAIDRUS








































กำลังโหลดความคิดเห็น