xs
xsm
sm
md
lg

พบสูตรใหม่ที่ใช้หาค่า π ได้อย่างละเอียดและรวดเร็วกว่าเดิม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในวารสาร Physical Review Letters ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม ปี 2024 นี้ Arnab Saha กับ Aninda Sinha สองนักฟิสิกส์จากสถาบัน Indian Institute of Science (IISc) ที่เมือง Bengaluru (เดิมชื่อ Bangalore) ในอินเดีย ได้รายงานการพบสูตรใหม่สำหรับใช้หาค่า π ได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว โดยทั้งสองได้พบสูตรอย่างไม่ได้ตั้งใจ ขณะกำลังวิจัยโดยใช้ทฤษฎีควอนตัมของสนามกับทฤษฎี String คำนวณหาแอมพลิจูด (amplitude) ของคลื่นที่เกิดจากการพุ่งชนกันระหว่างอนุภาคโปรตอนที่มีพลังงานสูง ในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC)














ประเด็นที่น่าสนใจของโจทย์นี้ คือ ระยะสูงของเส้นเชือก ไม่ขึ้นกับรัศมีของทรงกลมแต่อย่างใด ดังนั้นไม่ว่าทรงกลมจะมีขนาดใหญ่เท่าโลก หรือจะเล็กเท่าลูกบอลลูน ระยะสูงของเส้นเชือกเส้นที่สองก็จะเท่ากับ 16 เซนติเมตรเสมอ


















เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ทำงานโดยใช้ algorithm คำนวณจากสูตรสำเร็จ ซึ่งทุกสูตรอยู่ในรูปอนุกรมที่มีจำนวนเทอมมากถึงอนันต์ (infinite) เช่น

ใช้อนุกรมของ Gottfried Wilhelm Leibniz (1646-1716)

ใช้อนุกรมของ Nilakantha Somayaji (1444-1544)

ใช้อนุกรมของ Srinivasa Ramanujan (1887-1920)

และใช้อนุกรมของพี่น้องตระกูล Chudnovsky (1947 และ 1952 ถึงปัจจุบัน) เป็นต้น




อ่านเพิ่มเติมจาก “Field theory expansions of string theory amplitudes.” โดย Arnab Priya Saha กับ Aninda Sinha แห่ง IISc ในวารสาร Phys. Rev. Lett. 132, 221601 (2024)


ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน : ประวัติการทำงาน - ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์ ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

อ่านบทความ "โลกวิทยาการ"  ได้ทุกวันศุกร์


กำลังโหลดความคิดเห็น