นักดาราศาสตร์ประกาศการค้นพบหลุมดำแห่งใหม่ ที่เกิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์ และมีมวลมากสุดในดาราจักรทางช้างเผือก โดยมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 33 เท่า และยังเป็นหลุมดำใกล้โลกมากสุดอันดับ 2
นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบหลุมดำแห่งใหม่จากการใช้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Gaia ของ องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ความบังเอิญ ในทิศทางกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila)
หลังจากกำลังศึกษาข้อมูลจากโครงการทำแผนที่ดวงดาว โดยหลุมดำแห่งใหม่ได้ชื่อว่า Gaia BH3 มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เรา 33 เท่า และมีระยะห่างสุริยะจักรวาลของเราประมาณ 2,000 ปีแสง รองจากหลุมดำ Gaia BH1 ที่มีระยะทางจากโลก 1,560 ปีแสงและมีมวลราว 9.6 เท่าของดวงอาทิตย์ หลุมดำ Gaia BH3 จึงกลายเป็นหลุมดำที่อยู่ใกล้โลกเป็นลำดับที่ 2
หลุมดำดังกล่าวเป็น หลุมดำดาวฤกษ์ (stellar black hole) จัดเป็นเป็นหลุมดำชนิดหนึ่งที่เกิดจากการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์มวลมากขนาดตั้งแต่ 20 เท่ามวลดวงอาทิตย์หรือมากกว่า เศษซากของการยุบตัวที่หลงอยู่นั้นคือหลุมดำดาวฤกษ์ แม้มวลของมันจะดูเล็กน้อยเมื่อเทียบกับหลุมดำมวลมหาศาลที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์หลายล้านเท่า
Pasquale Panuzzo จาก CNRS, Observatoire de Paris ผู้เขียนรายงานหลักของการค้นพบนี้ กล่าวว่า และการพบครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการพบหลุมดำที่มีต้นกำเนิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ขนาดภายในทางช้างเผือก จนถึงขณะนี้ หลุมดำประเภทนี้พบเห็นได้ในดาราจักรอันไกลโพ้นเท่านั้น การค้นพบนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ได้มีข้อมูลเพิ่มขึ้นในการทำความเข้าใจขว่าดาวที่มีมวลมากพัฒนาและวิวัฒนาการได้อย่างไร
ศาสตราจารย์ Carole Mundell ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ ESA กล่าว ...
“การค้นพบนี้ไปไกลเกินกว่าจุดประสงค์ดั้งเดิมของภารกิจ ซึ่งก็คือการสร้างแผนที่หลายมิติที่แม่นยำเป็นพิเศษซึ่งมีดวงดาวมากกว่าพันล้านดวงตลอดทางช้างเผือกของเรา”
สำหรับ “กลุ่มดาวนกอินทรี” เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้วางตัวอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้คือดาวตานกอินทรี (Altair) ซึ่งเป็นจุดยอดจุดหนึ่งของ "สามเหลี่ยมฤดูร้อน"
ขอบคุณข้อมูล – รูปอ้างอิง
• - www.medium.com
• - www.esa.int/Science_Exploration
- สมาคมดาราศาสตร์ไทย