“ดาวอังคาร” เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจของมนุษย์มาอย่างยาวนานในการสำรวจ เนื่องจากดาวเคราะห์สีแดงแห่งระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้ มีลักษณะที่คล้ายกับโลกของเรา โดยในปัจจุบันได้มีการค้นพบสิ่งใหม่ๆ บนดวงดาวมากขึ้น เช่นการค้นพบแผ่นน้ำแข็งขนาดยักษ์ซ่อนตัวอยู่ใต้ชั้นดินของดาว และหากละลายก็จะมีขนาดปริมาณทะเลแดงของโลก
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมจาก ยาน Mars Express ขององค์การอวกาศยุโรป ที่รวบรวมกว่า 15 ปี โดยในปี 2007 ยานลำนี้ได้ตรวจพบตะกอนบางอย่างที่อยู่ใต้การก่อตัวทางธรณีวิทยาชื่อว่า เมดูเซย์ฟอซเซย์ฟอร์เมชั่น (Medusae Fossae Formation : MFF) แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทราบได้ว่าคืออะไร
ข้อมูลระบุว่า ตะกอนดังที่พบประกอบด้วยฝุ่นที่ฝังแทรกอยู่ ค่อนข้างโปร่งใสต่อเรดาห์และมีความหนาแน่นต่ำ (กว่าหิน) ดังนั้นมันจึงไม่ใช่หินแข็งอย่างแน่นอน และอาจเป็นวัสดุบางอย่างจากภูเขาไฟ หรือตะกอนจากยุคดึกดำบรรพ์ขณะที่ดาวอังคารยังคงเปียกชื้นอยู่
ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงรวบรวมการสังเกตการณ์ด้วยเรดาห์อีกหลายครั้งในภูมิภาคนี้ และวิเคราะห์ผลลัพธ์ และสร้างแบบจำลองเพื่อพยายามค้นหาว่าคืออะไร และการวิเคราะห์ต่างๆ ได้ให้ข้อมูลเป็นสิ่งเดียวกันคือ ‘น้ำแข็ง’ ซึ่งหนาประมาณ 4 กิโลเมตร และแผ่ขยายออกไปประมาณ 5,000 กิโลเมตรตามแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร
“สิ่งนี้สร้างบางสิ่งที่หนาแน่นกว่าที่เราเห็นใน MARSIS (อุปกรณ์เรดาห์ใต้พื้นผิวของยานมาร์สเอ็กซ์แพลส) มาก และเมื่อเราสร้างแบบจำลองว่าวัสดุที่ปราศจากน้ำแข็งจะมีพฤติกรรมอย่างไร ก็ไม่มีอะไรจำลองคุณสมบัติของ MFF ได้ – เราจำเป็นต้องมีน้ำแข็ง” .... แอนเตรีย ชิกเชตติ (Andrea Cicchetti) นักฟิสิกส์จากสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งชาติ กล่าว
“เราได้สำรวจ MFF อีกครั้งโดยใช้ข้อมูลจากเรดาห์ MARSIS ของมาร์สเอ็กซ์แพลส และพบว่าตะกอนมีความหนามากกว่าที่คิด หนามากถึง 3.7 กม.” .... ดร. โทมัส วัตเตอร์ส (Thomas Watters) นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสมิธโซเนียน ผู้ศึกษาข้อมูลเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 2007 กล่าวเสริม
หากได้รับการยืนยันว่าเป็นน้ำแข็ง แหล่งสะสมขนาดใหญ่นี้จะเปลี่ยนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภูมิอากาศของดาวอังคาร และการค้นพบนี้จะช่วยตอบคำถามว่าน้ำในดาวอังคารหายไปไหน เพราะลักษณะของดวงดาวมีการแสดงหลักฐานว่ามีน้ำอยู่เมื่อนานมาแล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์รับรู้ได้ว่าดาวอังคารมีสภาวะแวดล้อมใกล้เคียงกับโลกที่เอื้อต่อการกำเนิดชีวิต
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.esa.int , www.sciencealert.com , www.ngthai.com ,