xs
xsm
sm
md
lg

NASA ประกาศเลื่อน ภารกิจ Artemis 2 การกลับสู่ดวงจันทร์ในรอบครึ่งศตวรรษ ไปปี 2025 เพื่อความมั่นใจในระบบและความปลอดภัยของนักบินอวกาศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลังจาก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ NASA ประสบความสำเร็จในการส่งจรวด Space Launch System (SLS) และยานอวกาศ Orion ในเที่ยวบินทดสอบ Artemis 1 ซึ่งเดินทางไปวนรอบดวงจันทร์ โดยไม่ได้มีนักบินอวกาศเดินทางไปด้วยในปี 2022 และภารกิจต่อไปคือ Artemis 2 ที่จะส่งนักบินอวกาศเดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์อีกครั้งในรอบครึ่งศตวรรษ ซึ่งได้มีการประกาศรายชื่อนักบินอวกาศที่จะร่วมภารกิจนี้ไปเมื่อ เดือนเมษายน 2023 และจะมีการเริ่มภารกิจ Artemis 2 ในปี 2024

ล่าสุด NASA ได้ประกาศอัพเดทข้อมูลกำหนดการใหม่ของ โครงการ Artemis ซึ่งได้ระบุว่า ภารกิจ Artemis II จะถูกเลื่อนไปอย่างน้อย 1 ปี จากกำหนดการณ์เดิมที่จะเริ่มส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ในเดือนพฤศจิกายนปี 2024 นี้ ซึ่งได้มีการเลื่อนกำหนดการ ภารกิจ Artemis 2 ไปในปี 2025 และ Artemis 3 ที่จะส่งยานอวกาศไปจอดสู่พื้นผิวดวงจันทร์ ไปในปี 2026


Bill Nelson ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ NASA ได้ให้เหตุผลว่า การเลื่อนภารกิจในครั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับนักบินอวกาศ และยังได้เป็นการให้เวลากับทีมวิศวกร ทีมงาน NASA บริษัทคู่สัญญา เช่น SpaceX และ Axiom Space ในการได้ทดสอบเทคโนโลยีและระบบต่างๆ จนมั่นใจได้ว่าภารกิจการกลับสู่ดวงจันทร์รอบครึ่งศตวรรษ จะไม่มีการติดขัดและราบรื่นสำเร็จตรงตามแผนภารกิจที่วางไว้ ในภารกิจ Artemis 2 และ Artemis 3


การเลื่อนการกลับสู่ดวงจันทร์ไปเป็นปี 2025 นั้น NASA ให้เหตุผลด้านความปลอดภัยของนักบินอวกาศ และความพร้อมของโครงการ โดยผู้อำนวยการ NASA ปัจจุบัน Bill Nelson ได้กล่าวว่า “ความปลอดภัยของนักบินอวกาศคือความสำคัญอ้นดับหนึ่งของโครงการ Artemis” ดังนั้น ระยะเวลาที่ถูกยืดออกไปนี้ จะช่วยให้ NASA มีเวลาสำหรับเตรียมความพร้อมและทดสอบจนมั่นใจได้ว่าการกลับสู่ดวงจันทร์จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น


ทำให้ในปี 2024 ภารกิจการส่งนักบินอวกาศเดินทางไปโคจรรอบดวงจันทร์อีกครั้งในรอบครึ่งศตวรรษจะยังไม่เกิดขึ้น แต่ทาง NASA จะมีการรายงานข่าวการฝึกซ้อมของลูกเรือทั้ง 4 และการประกอบจรวด SLS และยานอวกาศ Orion ที่ จะถูกใช้ในภารกิจ Artemis II ให้ได้ทราบกัน


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nasa.gov , spaceth.co


กำลังโหลดความคิดเห็น