xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไหม? ไดโนเสาร์คือคำตอบ ว่าทำไมมนุษย์เราอายุไม่ยืนถึง 200 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สิ่งมีชีวิตบนโลกนั้น ต่างมีอายุขัยที่สามารถดำรงชีวิตในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงระยะเวลาของการแก่ชราในสัตว์แต่ละจำพวก และได้พบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นเติบโตและแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ทำให้มนุษย์เราซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีช่วงชีวิตที่สั้นและอายุขัยไม่ยืนยาว

ในเรื่องอายุขัยของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดาวเคราะห์ที่แสนพิเศษของระบบสุริยะจักรวาล สัตว์เลื้อยคลานคือสัตว์ที่มีอายุขัยมากที่สุด เช่น เต่า , จระเข้ ที่สามารถมีอายุได้หลายร้อยปี แต่เมื่อพูดถึงเลี้ยงลูกด้วยนม กลับมีข้อมูลเรื่องอายุขัยที่สั้นกว่า โดยเฉพาะมนุษย์เรา ที่มีอายุขัยมากกว่าร้อยปี แต่ไม่ถึงสองร้อยปี เว้นแต่สัตว์ใหญ่บางชนิด เช่น ช้างและวาฬ


ในการศึกษาหาคำนี้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิเคราะห์ถึงอัตราเร็วของการแก่ชราในสัตว์แต่ละจำพวก ได้มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เสนอสมมติฐานที่ช่วยอธิบายเรื่องนี้

สมมติฐานนี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร BioEssaysในชื่อเรื่องว่า “คอขวดของความมีอายุยืนยาว” (longevity bottleneck) โดย João Pedro de Magalhães (ดร.จัว เปโดร จี มากาเญส) นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในสหราชอาณาจักร

“การที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแก่ชราเร็วและมีอายุสั้นไม่ถึงหนึ่งศตวรรษนั้น น่าจะเป็นผลของวิวัฒนาการที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในยุคดึกดำบรรพ์ช่วงที่ไดโนเสาร์กำลังครองโลก โดยอยู่ในอันดับท้ายสุดของห่วงโซ่อาหาร ส่งผลให้เกิดแรงกดดันเชิงวิวัฒนาการการที่ต้องเอาชีวิตรอดจากไดโนเสาร์ที่หิวกระหาย ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำต้องโตเร็วเพื่อสืบพันธุ์ให้ได้เร็วที่สุดเมื่อมีโอกาส ก่อนที่จะกลายเป็นอาหาร”


กลยุทธ์การดำรงเผ่าพันธุ์เช่นนี้ ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประสบความสำเร็จในเชิงวิวัฒนาการ และสามารถแพร่ขยายเผ่าพันธุ์จนครองโลกได้เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่วิธีการดังกล่าวก็มีข้อเสีย เพราะทำให้ลูกหลานสืบทอดพันธุกรรมแบบโตเร็ว ตายไวมาจนถึงปัจจุบัน


การศึกษายังพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขาดยีนบางชนิดที่ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งต่างจากสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มียีนดังกล่าว และนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีอัตราเร็วของการแก่ชราเร็ว

แต่สมมติฐานนี้ ก็ยังมีข้อขัดแย้งกับความรู้ใหม่ทางบรรพชีวินวิทยาที่พบว่า ไดโนเสาร์เองก็มีอายุไม่ยืนยาวมากเท่าที่เคยคิดกัน แต่การศึกษาเพื่อจะพิสูจน์ความถูกต้องของสมมติฐานนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยเพื่อหาวิธียืดอายุขัยของมนุษย์ต่อไปในอนาคต


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : bbc.com , nature.com


กำลังโหลดความคิดเห็น