xs
xsm
sm
md
lg

วช. นำคณะนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วช. นำคณะนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยนำผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2566 ณ Exhibition Centre Nuremberg เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

iENA เป็นเวทีการประกวดและนำเสนอผลงานของนักประดิษฐ์จากประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ AFAG Messen und Ausstellungen GmbH ในงานดังกล่าวมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ นักวิจัย และนักประดิษฐ์อิสระจากประเทศเยอรมนีและต่างประเทศ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดง จำนวนกว่า 800 ผลงาน จากองค์กรประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศ อาทิ สาธารณรัฐแคเมอรูน สาธารณรัฐโครเอเชีย ราชอาณาจักรกรีซ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศไทย โดย วช. เป็นหน่วยงานกลางของไทย (Exclusive Agency) ในการคัดกรองผลงาน เพื่อเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในเวที iENA

สำหรับวันแรกของการจัดงาน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีเปิดงาน ซึ่งมี Henning และ Thilo Könicke, Managing Directors of AFAG Messen und Ausstellungen GmbH เป็นประธานเปิดงาน และในโอกาสเดียวกัน พื้นที่การจัดงานของประเทศไทย ยังได้ให้การต้อนรับ คุณประเพ็ญพิมพ์ ประจนปัจจนึก กงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก คุณปาริฉัตร พันธ์รักษ์ เดชา กงสุลฝ่ายเศรษฐกิจ และ คุณประภาวดี บุญช่วยเกื้อกูล กงสุลฝ่ายพิธีการทูต การศึกษา และวัฒนธรรม ที่มาเยี่ยมชมผลงาน พร้อมให้กำลังใจนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย โดย ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า วช. นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยร่วมประกวดแข่งขัน โดยมีผลงานของคณะนักประดิษฐ์ไทยที่ผ่านการคัดเลือก 26 ผลงาน โดยการเข้าร่วมประกวดแข่งขันนี้จะเป็นการสร้างเครือข่าย เป็นการเปิดโอกาสและประสบการณ์ให้กับนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในการเรียนรู้ สร้างการยอมรับในการพัฒนาและมาตรฐานของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเวทีระดับนานาชาติซึ่งจะสามารถทำให้มีการขยายผลและเกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานและการต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับงานในปี 2023 นี้ วช. ได้นำนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากประเทศไทยมากกว่า 80 คน ร่วมนำเสนอผลงานใน iENA 2023 ในด้านต่างๆ ได้แก่
• Human necessities
• Performing operations, transporting
• Chemistry, Metallurgy
• Textiles, paper
• Fixed constructions
• Mechanical engineering, lighting, heating, weapons, blasting
• Physics
• Electricity
• Services
• Computer Engineering
• Teaching and Research, Pedagogical items
• Promotion and promotion items
• Start-up consultancy
• Financing
• Other inventions and new practical products








































กำลังโหลดความคิดเห็น