นักสำรวจต่างกล่าวกันว่า ใต้มหาสมุทรลึกของโลกเราเป็นระบบนิเวศที่มีการสำรวจและเข้าใจน้อยที่สุด ข้อมูลในการศึกษาพบว่า กว่า 80% ยังไม่ได้รับการสำรวจและยังมีข้อมูลและความเข้าใจน้อยกว่าดวงจันทร์ดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลก
ทีมนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยพลีมัธ พบปะการังที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไป 90 เมตรเกิดการฟอกขาว ในมหาสมุทรอินเดียในการล่องเรือสำรวจ ซึ่งการพบในครั้งนี้เป็นการค้นพบที่ลึกที่สุดเท่าที่เคยมี และชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนส่งผลไปยังน้ำลึกแล้ว หลังจากที่เคยเชื่อว่าพื้นที่ใต้มหาสมุทรนี้จะปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
Phil Hosegood หัวหน้าทีมสำรวจ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างมา มันไม่ควรจะเกิดขึ้น ปะการังที่อยู่ลึกกว่านั้นถูกมองว่ามีความยืดหยุ่นต่อภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรมาตลอด เพราะน้ำที่พวกมันอยู่นั้นเย็นกว่าบนผิวน้ำและเชื่อกันว่ายังคงค่อนข้างคงที่
การค้นพบในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดและเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์เคยคิดกันว่าปะการังน้ำลึกนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน หรืออย่างน้อยก็ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ในการเก็บข้อมูลจากหลายแหล่ง จากติดตามเป็นระยะ การใช้หุ่นยนต์ใต้น้ำพร้อมกล้องบันทึก ข้อมูลดาวเทียม และอุณหภูมิของมหาสมุทร ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าแนวปะการัง 80% ในพื้นที่สำรวจที่ระดับความลึก 90 เมตรเกิดการฟอกขาวแล้ว
ข้อมูลในการสำรวจแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการฟอกขาวเกิดจากเทอร์โมไคลน์ (Thermocline, ชั้นดินระหว่างน้ำเย็นและน้ำอุ่น) มีความลึกขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ วงจรความแปรปรวนนี้ขยายวงกว้างมากขึ้น”
หลังจากการค้นพบที่น่ากังวลนี้ ทางทีมวิจัยเรียกร้องให้มีการศึกษาอย่างเร่งด่วนเพื่อทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น สิ่งทำได้คือขยายความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่มากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งมีข้อมูลน้อยมาก
“สิ่งนี้น่าจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่สำคัญซึ่งแนวปะการังเหล่านี้มอบให้กับโลกของเรา” .... Nicola Foster หนึ่งในทีมวิจัยเสริม
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง:
phys.org , nature.com , earth.com / FB : Environman